ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

กิจกรรมที่ 4. กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จด้านความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง7 พฤศจิกายน 2563
7
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย apichat.thep
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การเรียนรู้ดูงานความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ตำบลโคกม่วง
เวลา 07.30 น คณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน แกนนำหมู่บ้าน ภาคียุทธศาสตร์(รพสต.) จำนวน 40 คน พร้อมกัน ออกเดินทางโดยรถบัสปรับอากาศ จาก อบต.เขาปู่ เวลา 09.00 น ถึงศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ (ปุย๋ขี้ไส้เดือน) หมู่ที่ 9 บ้านควนยวน ต้อนรับและบรรยายโดยนายณัฐพงศ์ คงสง วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้ ว่าด้วเรื่องการใช้ไส้เดือนจัดการขยะอินทรีย์ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีสำหรับการบำรุงดิน ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ตามลำดับดังนี้
1. การเตรียมวัสดุ ขี้วัวแห้ง + หยวกกล้วย + ขยะอินทรีย์ในครัวเรือน แช่น้ำหมักไว้ 7 วัน แล้วเปิดรูระบายน้ำออก น้ำที่ได้เป้นปุ๋ยน้ำอย่างดี ใช้รดต้นไม้ พืชผักได้เลย
2. ปล่อยแม่พันธุ์ไส้เดือนลงเลี้ยงในภาชนะ (กะละมังใส่ไส้เดือน 250 กรัม ท่อซีเมนต์ 80x100 ซม. ใช้ใส้เดือน 1 กิโลกรัม) โดยการกองใส้เดือนลงบนผิวหน้าวัสดุเลี้ยง ไส้เดือนจะชอนไชลงไปในกองวัสดุเองภายใน ครึ่งชั่วโมง
3. รถน้ำด้วยฝักบัว หรือน้ำแบบฝอย ให้ชุ่ม ทุกวันๆละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน น้ำที่ไหลออกมาจากรูระบาย ใช้เป้นปุ๋ยน้ำรถผักได้
4. วันที่ 8 หยุดรดน้ำ และเตรียมเก็นน้ำเยี่ยวไส้เดือนโดยรองรับเอาจากรูระบายน้ำ เก็บเยี่ยวไปจนครบ ให้เก็บมูลไส้เดือนที่ผิวหน้าของวัสดุเลี้ยง
5. เติมวัสดุเลี้ยงให้สูงขึ้นมาเท่าเดิม ทำกระบวนการรถน้ำ 7 วัน หยุดให้น้ำเก็บเยี้ยว เก็บมูล วนไป
เอกสารการเลี้ยงไส้เดือน https://drive.google.com/file/d/1WKLY6Ky3vJDloW07ocCIDip1amHh3vWB/view
ปุ๋ยไส้เดือนมีธาตุอาหาร N สูง P ปานกลาง K ต่ำ จึงเหมาะกับพืชผักกินใบ กินต้น กินดอก หรือจะเสริมธาตูอาหาร K เพื่อให้ใช้ได้กับพืชผักทุกชนิด

รับประทานอาหารว่าง

เวลา 10.30 น เดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารบ้านเกาะทองสมใหม่ หมู่ที่ 15 เยี่ยมชมการจัดการสวนผสมผสานเพื่อความมั่นคงทางอาหาร บรรยายสรุปโดยนางจินตนา อภัยรัตน์ ตามด้วยศุูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีพืชผักอาหารปลอดภัย มีเป็ด ไก่ ปลา กบ แหล่งอาหารโปรตีนในครัวเรือน บรรยายโดยนายเอียด สนดี ต่อไปที่ศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน บรรยายสรุปหลักคิด วิธีการ สร้างความมั่นคงทางอาหารโดยนายวิโรจน์ เหตุทอง วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้
หลักคิด คนในชุมชนจะต้องมีความมั่งคง มีข้าวเพียงพอ มีพืชผักผลไม้ เพียงพอ มีอาหารโปรตีนเพียงพอ
หลักการ เพิ่มพื้นที่การผลิตข้าวในสวนยางปลุกใหม่ ส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารในครัวเรือนโดยใช้แผนพัฒนาหมุ่บ้าน เสนอของบประมาณสนับสนนุนจากงบปพัฒนาจังหวัด ผ่านปศุสัตว์อำเภอเขาชัยสน เพิ่่มพื้นที่ผลิตอาหารในโรงเรียนแปลงผักโรงเรียน นาข้าวโรงเรียนร่วมกับชุมชน

พักรับประทานอาหารกลางวัน (หลากหลายเมนุจากชุมชน)

เวลา 13.00 น เดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 11 ต้อนรับ และบรรยายสรุปโดย นายมนูญ สุขรัตนื แลนายทวี จันทร์ขาว รายละเอียดตามลำดับดังนี้
1. การจัดการน้ำที่ต้นน้ำ โดยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินให้ชุมชน ดำเนินการเมื่อปี 2557 จนถึงปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำจำนวน 206 ฝาย สร้างฝาย มีชีวิตในพื้นที่ชุมชน 3 ฝาย สามารถเพิ่มระดับน้ำใต้ดินในหน้าแล้งได้ที่ระดับ 1-1.5 เมตร ซึ่งสามารถเพิ่มพื้นที่เพื่อปลูกพืชผักสวนครัว พืชผักร่วมยาง เพิ่มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ชุมชนน่าอยู่บ้านทุ่งยาว http://youtube.com/watch?v=sP-SGhcDyZg

พักรับประทานอาหารว่าง

  1. การทำปุ๋ยหมักดจากจุลินทรีย์ในท้องถิ่น โดยสถาบันปฏิบัติการชุมชนฯขอเชิญผู้สนใจเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์สูตร ICOFIS จากจุลินทรีย์ในท้องถิ่น ผ่านการให้บริการของชุมชนบ้านทุ่งยาว ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นชุมชนเครือข่ายของสถาบันฯ โดยสามารถติดต่อขอรับบริการได้ทุกช่องทาง FB สายตรง ผอ. อีเมลล์ icofis@gmail.com เป็นปุ๋ยหมักที่ทำง่ายไม่ต้องกลับกอง หมักนานเวลา 15 วัน ก็นำไปใช้ได้ ที่นี่เป้นแหล่งเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ มาตรฐาน Organic ผลิตผักสลัดในนามวิสาหกิจอาหารปลอดภัยบ้านทุ่งยาว มีสมาชิกกลุ่ม 10 ราย จัดตารางปฏิทินการผลิต ส่งขายให้ร้านมีสลัด เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
    ปุ๋ยอินทรีย์สูตร ICOFIS
    สูตร 1 บำรุงต้นและใบ
    ขี้ไก้แกลบ  400 กก.
    รำละเอียด  50 กก.
    แกลบดำ  10 กก.
    ขี้เลื่อย  400 กก.
    หยวกกล้วย  50 กก.
    โดโลไมต์  10 กก.
    หัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์ 50 ลิตร

สูตร 2 บำรุงดอกและผล
ขี้วัว 200 กก.
ขี้ไก่ 200 กก.
รำละเอียด 50 กก.
แกลบดำ 55 กก.
ขี้เลื่อย 400 กก.
หยวกกล้วย 100 กก.
หินฟอสเฟต (0-3-0) 50 กก.
หัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์ 50 ลิตร

เวลา 16.00 น เดินทางกลับ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงาน กลไก แกนนำร่วมเรียนรู้ดุงาน 4 แผล่งเรียนรู้ จำนวน 31 คน

ผลลัพธ์
ผู้ร่วมดูงาน ได้รุ้ ได้เห็น ได้เข้าใจแนวทาง และสามารถนำกลับไปดำเนินการในชุมชนได้ เช่นผักในโรงเรีอนที่สามารถปลูกได้ตลอดปี การทำปุ๋ยหมักที่ลดต้นทุนได้อย่างมาก