การจัดการขยะ บ้านสำนักปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

กิจกรรมที่ 10 เวทีคืนข้อมูลการจัดการ27 มีนาคม 2021
27
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีคืนข้อมูลการจัดการดำเนินโครงการตลอดเวลาการดำเนินงานให้กับชุมชน 1.มีการประชุมแกนนำชุมชน ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะในครัวเรือน และภาคีเครือข่าย อบต. หน.สำนักปลัด
2.มีการสรุปคืนข้อมูลเส้นทางการดำเนินการเรื่องขยะ เช่่น
-ขยะอินทรืย์ นำมาทำปุ๋ยน้ำหมัก  ทำปุ๋ยหมัก และมีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำลายขยะอิทรีย์ และมีผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน ให้ครัวเรือนนำไปใส่ผักซึ่งส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการปลูกผักไว้กินเอง ซึ่งเป็นผักปลอดสารพิษ
-ขยะอันตราย ครัวเรือนจะนำมาส่งเก็บที่ศาลาหมู่บ้าน ซึ่ง อบต.เขาย่า จะมาเก็บเดือนละครั้ง -ขยะรีไชเคิลหรือขยะที่ขายได้  หมู่บ้านที่ 1 บ้านสำนักปราง ซึ่งมีพื้นที่อยู่บริเวณ 2 ข้างถนนและการคมนาคมสะดวก และมีรถรับซื้อของเก่าผ่านอยู่เป็นประจำ ครัวเรือนมีการเก็บรวบรวม ขยะที่ขายได้ ขายให้กับรถเร่ที่แวะเวียนรับซื้ออยู่อย่างสม่ำเสมอ บางครัวเรือนก็เอาขยะที่เก็บไว้ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ที่เก็บขยะขาย เพื่อหารายได้ในการดำรงชีพ  และบางส่วนนำไปรีไชเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น พวกถุงนม ซองกาแฟ ซึ่งมีวิทยากรมาสอนการทำให้กับครัวเรือน และนักเรียนในการนำถุงนมมารีไชเคิลต่างๆ -ขยะทั่วไป ครัวเรือนที่มีการแยกขยะ จะมีขยะทั่วไปที่เหลือน้อยมาก ครัวเรือนจะมีการเผาทำลายโดยแยกเป็นบ้านใครบ้านมัน ไม่มีการทำที่เผาขยะรวมของหมู่บ้าน ครัวเรือนจะมีการแยกทำลายซึ่งมีการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
3.ชี้แจงกฎกติกาที่กลุ่มหรือกลุ่มครัวเรือนที่เข้าร่วมได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการคัดแยกขยะของครัวเรือน   - ครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะเป็น 4 ประเภท คือ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะรีไชเคิล
    - สมาชิกทุกครัวเรือนที่สมัครร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะทุกครัวเรือน หากไม่มีการคัดแยก ครั้งแรกตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ ครั้งละ 50 บาท/ครั้ง
    - สมาชิกนำขยะมาขายทุกวันที่ 10 ของเดือน
    - ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการใช้ถุงผ้าและตะกร้า
ซึ่งจากการดำเนินการจัดตั้งกฎกติกา  มีครัวเรือนที่ไม่ปฎิบัติตามในการคัดแยกขยะอยุ่ 1 ครัวเรือน คณะกรรมการได้ไปพูดคุยอีกครั้งหนึ่ง  หลังจากนั้นได้ติดตามซ้ำในครั้งถัดไป  ครัวเรือนดังกล่าวได้ดำเนินการคัดแยกเหมือนกับครัวเรือนอื่นๆ  สาเหตุเกิดจากเด็กวัยรุ่นแต่งงานมีครอบครัวและอาศัยกันอยู่ 2 คน  พ่อแม่แยกทางกัน  ทำให้ครัวเรือนนี้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ทางกลุ่มกำหนดขึ้น  พอได้มาพูดคุยประสานงานครัวเรือนมีความเข้าใจและปฎิบัติตาม -สำหรับการจำหน่ายในภาพรวมนั้น  ทางคณะกรรมการลงความเห็นว่าครัวเรือน มีความสะดวกในการจำหน่ายขยะซึ่งมีรถมารับซื้ออยู่เป็นประจำ  เลยไม่มีการนัดขายในภาพรวมของหมู่บ้าน -การเก็บขยะในที่สาธารณะ  หรือการห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ  และบริเวณ  2ข้างถนน  ทางคณะกรรมการดำเนินโครงการได้นำป้ายประชาสัมพันธ์ไปติดไว้ จำนวน 2 ป้าย  บริเวณ 2  ข้างถนน และบริเวณหัวสะพานระหว่างหมู่ที่ 10  กับหมู่ที่ 1  และ ที่ศาลาหมู่บ้าน  ได้ดำเนินการ ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่  และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ไปติดไว้เรียบร้อยเป็นมาตรการทางหมู่บ้านและชุมชน ต้องให้ความร่วมมือ 4.มีการสรุปข้อเสนอแนะของชุมชนในการจัดการขยะครัวเรือนครั้งนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ 1.ครัวเรือนมีความรู้ในการทำลายขยะอินทรีย์  โดยใชนวตกรรมการเลี้ยงไส้เดือน  และมีครัวเรือนต้นแบบในการทำลายขยะจำพวกแป้ปเพิร์ดเด็ก เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ได้  จำนวน  1 ครัวเรือน 2.มีครัวเรือนต้นแบบในการทำลายขยะอินทรีย์ เพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ย  จำนวน  17  ครัวเรือน 3.มีศูนย์ขยายพันธ์ไส้เดือนเพื่อขยายพันธ์ส่งต่อให้กับครัวเรือนที่ต้องการต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์การดำเนินงานในการคัดแยกขยะในครัวเรือนของหมู่บ้านสำนักปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง 1.ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะเป็น เข้าใจเส้นทางในการเดินของขยะแต่ละประเภท 2.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะถูกและมีส่วนร่วม จำนวน 86 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ43 จากครัวเรือนทั้งหมด
3.ขยะที่สาธารณะได้รับการจัดการทั้ง 2 จุด คือ บริเวณ 2 ข้างถนนหมู่บ้าน และ ศาลาหมู่บ้าน
4.ขยะในครัวเรือนลดลง ร้อยละ 63% 5.ครัวเรือนได้นำปุ๋ยไส้เดือนที่เลี่ยงเพื่อทำลายขยะอินทรีย์ ไปใส่ผักที่ปลูกเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างและนำมาบริโภคเป็นผักปลอดสารพิษในครัวเรือน จำนวน 17 ครัวเรือน 6.จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำลายขยะอินทรีย์ที่ รพ.สต.บ้านศาลามะปราง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การคักแยกขยะจากครัวเรือน และการกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือน