โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.4 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ สสส.28 มีนาคม 2022
28
มีนาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำกำหนดการนัดหมายพื้นที่และเตรียมทีมพี่เลี้ยงในการพัมนาข้อเสนอโครงการของพื้นที่โครงการย่อยทั้ง ๒๕ โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมจำนวน ๘๕ คนจาก ๒๕ โครงการ เครือข่ายที่เข้าร่วมมีความเข้าใจการทำต้นไม้ปัญหาการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพด้วยแผนผังต้นไม้ปัญหาเป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างความเชื่อมโยงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับอย่างเป็นเหตุเป็นผลในรูปของต้นไม้ปัญหาหรือแผนผังต้นไม้ปัญหาซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปได้อย่างถูกต้องและต้องนำมาจัดระดับผลลัพธ์การคิดจากผลกลับไปหาเหตุต้องรู้อยากได้ผลลัพธ์ (Outcomes) อะไรจากการดําเนินการ
คิดไปถึงวิธีการ (Process) ที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์เหล่านั้นจัดเตรียมทรัพยากรในการดำเนินงานเพื่อดำเนินการให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง“ถ้าอยากให้เกิดผลลัพธ์... ควรมีวิธีการหรือกระบวนการดำเนินงาน...”ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตอบวัตถุประสงค์ของโครงการและนำสู่การจัดทำบันไดผลลัพธ์เพื่อให้เห็นระดับผลลัพธ์ในแต่ละขั้นที่ต้องการบรรลุก่อน-หลังได้อย่างชัดเจนการคลี่ผลลัพธ์ก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติงานตามข้อเสนอโครงการ จะช่วยให้เข้าใจและมีแนวทางการติดตามความก้าวหน้าของผลลัพธ์ในแต่ละขั้นได้ชัดเจนขึ้นบันไดผลลัพธ์จะช่วยทำให้การออกแบบกิจกรรมได้อย่างมีรายละเอียดมากขึ้น เพราะกิจกรรมที่จัดจะต้องตอบโจทย์ผลลัพธ์แต่ละขั้นบันไดที่วางแผนไว้และต้องนำมาสู่การเขียนข้อเสนอโครงการต้องประกอบด้วยโครงการอะไร = ชื่อโครงการ ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์ ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ มีกิจกรรมอะไรบ้าง = กิจกรรมในโครงการจะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มาของงบประมาณ  ใครทำ = ผู้ดำเนินการต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = ผลผลิตและผลลัพธ์ของกิจกรรม/โครงการ และการประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผู้นำไปใช้ประโยชน์/ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ