โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.3 เวทีประชุมเชิงปฎิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย Node Flagship Chumphon4 มิถุนายน 2022
4
มิถุนายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานภาคีเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศและจัดเตรียมข้อมูลการสร้างความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการย่อยตามกรอบงานของ สสส.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมจำนวน ๑๑๕ คน  แนวทางการติดตามสนับสนุนโครงการย่อยสำหรับหน่วยจัดการจังหวัด 1. การเตรียมพื้นที่ ก่อนลงพื้นที่ควรมีการเตรียมพื้นที่ล่วงหน้า โดยมีประเด็นในการเตรียม ควรประกอบด้วย 1.1) นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ซึ่งควรประกอบด้วย คณะทำงาน ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายของ
โครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมทั้งหมดควรอยู่ระหว่าง 10-15 คน
1.2) เตรียมประเด็นที่จะต้องรายงาน ให้รายงานความก้าวหน้าตามบันไดผลลัพธ์ 1.3)เตรียมหลักฐานประกอบการรายงานตามบันไดผลลัพธ์ เช่น รายงานการประชุม รายงานความก้าวหน้า หลักฐานประกอบความก้าวหน้าอื่น ๆ เช่น ข้อตกลงของชุมชนมีกี่ข้ออะไรบ้าง ข้อมูลที่มีการสำรวจ บันทึกต่าง ๆ เช่น บันทึกการออกกำลังกาย เป็นต้น (พี่เลี้ยงต้องไปถอดจากตัวโครงการที่เขียนไว้แล้วว่ามีหลักฐานอะไรบ้างที่จะต้องแสดง ถ้าไม่มีหลักฐานพี่เลี้ยงต้องตีความสรุปโดยดูจากองค์ประกอบอื่น ๆ ว่าได้ทำจริงหรือไม่) และอาจเตรียมพื้นที่เพื่อให้พี่เลี้ยงไปดู ถ่ายภาพ สัมภาษณ์ เช่น สถานที่ออกกำลังกาย การใช้ประโยชน์จากขยะ เป็นต้น 1.4)เตรียมหลักฐาน/รายงานด้านการเงิน
1.5)เตรียมรายงานตามแบบฟอร์ม ส.1 ที่ชุมชนจะต้องรายงานในระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 1.6)เตรียมกระบวนการ เช่น จะเริ่มกี่โมง ขั้นตอนเป็นอย่างไร ไม่ควรมีการต้อนรับหรือพิธีการใด ๆ เพราะจะทำให้เสียเวลา โดยพยามเน้นย้ำเรื่องการติดตามเพื่อการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อการตรวจสอบเพื่อให้เกิดการเสนอความจริงและสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนา 2. ระหว่างการลงพื้นที่ติดตาม 1.1)ควรมีการจับคู่กันระหว่างพี่เลี้ยง เพื่อช่วยในการจัดกระบวนการ พี่เลี้ยงจะต้องทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ ตั้งคำถาม และกระตุ้นเป็นหลัก 1.2)เริ่มจากการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์การติดตามสนับสนุน และประโยชน์ที่จะได้รับ 1.3)ดำเนินการตามขั้นตอน 1.4)การสะท้อนผลลัพธ์ ให้เปรียบเทียบข้อมูลก่อนหลังการดำเนินงาน และมีหลักฐาน ชี้วัดความสำเร็จ พี่เลี้ยงช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม
1.5)ให้ชุมชนประเมินตัวเองว่าถ้าให้ 10 คะแนน ให้คะแนนเท่าไหร่ เพราะอะไร จะทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม 1.6)ขอดูรายงานการเงิน และรายงาน ส.1 และควรดูรูปธรรมจากการดำเนินโครงการ และบันทึกภาพ 1.7)สรุปและให้คำแนะนำในตอนท้ายของการประชุมอย่างสร้างสรรค์ เป็นลักษณะเชิงบวกและเสริมกำลังใจ นัดหมายแผนงานต่อไป
3. หลังดำเนินการหลังจากการติดตาม ควรทำรายงานทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานเพราะอาจจะลืมข้อมูลหรือบรรยากาศ บริบทต่าง ๆ ได้