โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.5.2 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ARE31 ตุลาคม 2022
31
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำสรุปข้อมูลการจัดทำ ARE โครงการย่อยทั้ง 25 โครงการและนำมาสังเคราะห์เพื่อจัดกลุ่มตามลำดับบันไดผลลัพธ์กลางโดยแยกเป็นแต่ละโมเดลตามจุดเน้นยุทธศาสตร์ของจังหวัดชุมพรเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนในเวทีโดยมีทีมสนับสนุนวิชาการนำกระบวนการกลุ่มย่อยแต่ละโมเดลเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย : หลังที่เราทำกิจกรรมออกแบบตัวโครงการย่อยแล้วลงพื้นที่ไปขับเคลื่อน ฉะนั้นการติดตามโครงการย่อยจึงเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงาน ตัวโครงการกำหนดไว้ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดชุมพร ปี 2566-2570 เรื่องชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานยุทธศาสตร์จังหวัดอยู่ 2 ประเด็น
1.) การเสริมสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคงจากฐานการเกษตร การค้าและบริการ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเด็นที่ทำเรื่องเกษตรและอาหารสุขภาพ
2.) การสร้างคนคุณภาพ การพัฒนาสังคมแห่งสันติสุข ปลอดภัย และการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกลุ่มประเด็นเรื่องการจัดการโรคเรื้อรัง
ประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย: ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มพื้นที่ผลิตผักผลไม้ปลอดภัย และรายได้ครัวเรือน 10% มีตัวชี้วัดที่สำคัญที่จะตอบโจทย์คือ มีพื้นที่ผลิตเพิ่ม, การปรับสภาพแวดล้อมเอื้อ, มีการเชื่อมโยงจัดการตลาดอาหารปลอดภัย, มีรายได้ครัวเรือนเพิ่ม10% ประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัยมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ทั้งหมด 16 โครงการ แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
- เกษตรฯระดับเครือข่าย มี 3 โครงการ ได้แก่ You Model, ข้าวไร่, สวนยางยั่งยืน - เกษตรฯระดับอำเภอ(สมาพันธ์) มี 3 โครงการ ได้แก่ สมาพันธุ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDG PGS สวี-ทุ่งตะโก, ละแม, หลังสวน - เกษตรฯระดับตำบล มี 6 โครงการ ได้แก่ ตำบลหงษ์เจริญ, ตำบลปากทรง, ตำบลนาชะอัง, ตำบลบ้านควน, ตำบลบางน้ำจืด, เกษตร สก. ท่าแซะ
- เกษตรฯระดับหมู่บ้าน มี 4 โครงการ ได้แก่ หมู่บ้านเกาะเสม็ด, หมู่บ้านห้วยตาอ่อน, หมู่บ้านคลองขนาน, หมู่บ้านเขากล้วย ประเด็นการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่: มีเป้าหมายคือ ลดอัตราการเจ็บป่วยโรคเรื้อรังในประชากรกลุ่มเสี่ยง 10% โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ มีกลไกจัดการสุขภาพและพชต., ปรับพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส, มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง 7%
ประเด็นการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่มีโครงการทำขับเคลื่อนงานอยู่ทั้งหมด 9 โครงการ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้ - จัดการNCDsระดับตำบล มี 4 โครงการ ได้แก่ ตำบลนาขา, ตำบลเขาค่าย, ตำบลท่าแซะ, เทศบาลบางหมาก - จัดการNCDsระดับหน่วยบริการ มี 2 โครงการ ได้แก่ แก่งกระทั่งและเขาทะลุ - จัดการNCDsระดับชุมชน มี 3 โครงการ ได้แก่ วัดประเดิม, โพธิการาม, ห้วยไทร โดยให้ทุกโครงการใน 2 ประเด็นที่ว่ามานี้ทำการจัดเก็บข้อมูลใน google Form ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ เดือนที่ผ่านมา ครั้งที่ 2 ในเดือนมีนาคมตอนปิดโครงการนี้ การเก็บข้อมูลนี้เพื่อจะทำการประเมินผลลัพธ์และตัวชี้วัดว่าทำไปแล้วมีผลลัพธ์เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงเชื่อมโยงกับภาคียุทธศาสตร์หลักที่เกี่ยวข้องกับการที่ทำโครงการนี้มีผลลัพธ์หรือมีความสำเร็จอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเกิดโมเดลหรือรูปแบบในการทำเรื่องนี้อย่างไร ถ้าโมเดลที่ทำอยู่ประสบความสำเร็จชัดเจน จะสามารถเป็นโมเดลให้แก่หน่วยงานของจังหวัดหรือภาคีหลักที่จะดำเนินงานในเรื่องใกล้เคียงกันได้ การจัดการข้อมูลสารสนเทศสู่ความรู้ การทำงานครั้งเป็นการทำงานแบบกึ่งวิจัยและพัฒนา เพราะฉนั้นหัวใจสำคัญของการวิจัยและพัฒนาคือการจัดการข้อมูล ซึ่งทางทีมงานคาดหวังว่า ทั้ง 25 โครงการ จะมีความรู้ มีทักษะ มีศักยภาพเพิ่มขึ้น สามารถที่จะจัดการข้อมูลได้ในระดับหนึ่งผ่านกิจกรรมที่ทำ ที่ทุกท่านสามารถนำไปต่อยอดกับกิจกรรมอย่างอื่นได้ ซึ่งการจัดการความรู้และข้อมูลสารสนเทศยังเป็นจุดอ่อนของเราอยู่ โดยการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโครงการต่างๆ ซึ่งมีผู้รับผิดชอบรับผิดชอบประเด็นคือ คุณหนึ่งฤทัย พันกุ่ม ที่จะรับผิดชอบประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย คุณสมใจ ด้วงพิบูลย์ รับผิดชอบประเด็นการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ที่ช่วยประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลในเชิงประเด็น และนำข้อมูลมาสรุปในภาพรวมของโครงการ เพื่อนำเสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง