โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อคืนข้อมูลผลการประเมินเบื้องต้น18 พฤศจิกายน 2022
18
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมประเมินรวบรวมข้อมูลสรุปสังเคราะห์และนำมาพูดคุยประเด็นตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดในการขับเคลื่อนเพื่อให้ทางทีมสนับสนุนวิชาการได้ร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินที่มองเห็นเป้าหมายร่วมกันทั้งทีมประเมิน/ทีมจังหวัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อค้นพบ: เกษตรกรและอาหารปลอดภัย - มีระดับของการขับเคลื่อนตามบันไดผลลัพธ์ ใช้บันไดผลลัพธ์เดียวกัน - มีวัตถุประสงค์ กิจกรรม และตัวชี้วัดสอดคล้องกัน - แต่กิจกรรมยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุผลลัพธ์
ข้อค้นพบ: การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ - มีระดับของการขับเคลื่อนตามบันไดผลลัพธ์ ใช้บันไดผลลัพธ์เดียวกัน - มีวัตถุประสงค์ กิจกรรม และตัวชี้วัดสอดคล้องกัน - ข้อมูล Baseline การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยังไม่ชัดเจน - กิจกรรมยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุผลลัพธ์ จุดแข็ง - มีการให้รายละเอียดของผู้รับผิดชอบโครงการได้ครบถ้วน - ชื่อโครงการมีการตั้งชื่อเพื่อสื่อถึงประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ชัดเจน - มีการกำหนดระยะเวลา/แผนการ ดำเนินงานของโครงการที่ขัดเจนและเหมือนกันในทุกโครงการย่อย จุดอ่อน - โครงการย่อยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถระบุถึงการใช้ทฤษฎี/ข้อมูล/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence) สนับสนุนการตัดสินใจหาแนวทางการปัญหาได้ชัดเจน - โครงการย่อยส่วนใหญ่ไม่มีการระบุวิธีการหรือเกณฑ์การคัดเลือกการเป็นตัวแทนที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นต้นแบบที่ดีได้ - โครงการย่อยส่วนใหญ่ไม่มีการวิเคราะห์ภาคีและผู้รับประโยชน์ที่เหมาะสมทั้งในระดับ Strategic Partners และ Boundary Partners ข้อเสนอแนะ Outcome Alignment การดำเนินงาน NF 1. การจัดการและนำเสนอข้อมูลและความรู้จากการปฏิบัติ 2. การสื่อสารสาธารณะที่นำการเปลี่ยนแปลง 3. มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยผ่านเว็บไซต์ 4. มีชุดความรู้ที่แลกเปลี่ยนและขยายผลได้ เช่น ปากทรง


  1. ข้อจำกัด: ค่าbaseline การเก็บข้อมูล > การเปลี่ยนแปลงที่มีความชัดเจน
  2. ผลลัพธ์ที่อยากเปลี่ยนแปลงกับวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ไม่สอดคล้องกัน
  3. การบรรลุผลลัพธ์มีข้อมูลเชิงประจักษ์ ขาดวิธีวัดผลที่มีความชัดเจน
  4. ยังขาดการมองโอกาสการส่งต่อภาคียุทธศาสตร์ และภาคีเครือข่าย
  5. การสื่อสาร เน้นแก้ปัญหาบนความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ไม่ได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  6. ช่องว่างความเข้าใจงานของพี่เลี้ยงใหม่และพี่เลี้ยงเก่า โครงการย่อย
  7. บางวัตถุประสงค์เชิงผลลัพธ์ของโครงการย่อยไม่สอดคล้องกัน ส่งผลต่อการวัดผลผลิตและผลลัพธ์
  8. การบรรลุผลลัพธ์มีข้อมูลเชิงประจักษ์ ขาดวิธีวัดผลที่มีความชัดเจน ภาคียุทธศาสตร์
  9. อยู่ระหว่างการประสาน
  10. มีการพูดคุยกับ กยท. / กษ/สสจ/สปก/อบจ. (มีเจ้าหน้าที่เกษียณ) *** ควรมีการเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นค่า Baseline เช่นรายได้, การดึงนักวิชาการเข้ามาช่วย*** การทำ NF จะพยายามเชื่อมโยงประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด ถ้าจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นอาจจะต้องไล่แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดให้ชัดว่ามีเรื่องอะไรบ้าง KPI อะไรที่เราจะทำโมเดลเพื่อเชื่อต่อกับยุทธศาสตร์จังหวัด เช่น ข้อที่ว่า การเสริมสร้างเศรษฐกิจจังหวัดให้เติบโตอย่างต่อเนื่องฯ ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์จังหวัด อาจจะต้องวงเล็บข้อที่มาที่ไปในการอ้างอิงว่าเอามาจากตรงไหน, 1% ของพื้นที่เกษตรเป็นเกษตรยั่งยืนโดยเป็นเกษตรอินทรีย์ เป็น KPI ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหน มันจะเชื่อมร้อยได้ว่า KPI ตัวนี้มีหน่วยงานไหนที่รับเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนงานอยู่  โมเดล NF การทำงานไหนที่ตอบโจทย์ KPI ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเราต้องทำงานกับภาคียุทธศาสตร์ใดบ้างและภาคีจะรู้ว่า KPI ที่เขารับผิดชอบและเราจะสามารถมาเชื่อมต่อให้เขามาเรียนรู้คือหน่วยงานไหนบ้าง กิจกรรมการดำเนินงาน อยากให้อธิบายเพิ่มเติมว่ามีข้อสังเกตุอย่างไรกับการประเมินคุณภาพโครงการและมีข้อสังเกตุใดในการประเมินกิจกรรม ความหมายในการใช้บันไดผลลัพธ์อาจจะต้องขยายความเพิ่มเรื่องการใช้บันไดผลลัพธ์ ควรใช้บันไดผลลัพธ์เดียวกันหรือควรจะแยกใช้บันไดผลลัพธ์ ควรมีการสรุปตามโมเดล เช่น เกษตรมี 4 โมเดล ซึ่งมีจุดจัดการที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ชุมชน ตำบล เครือข่าย อำเภอ บอกถึงระดับความก้าวหน้าหรือมีข้อสังเกตในแต่ละโมเดล ซึ่งอาจจะมีประโยชน์กับทางทีมจัดการในการติดตามงาน