โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.6 ประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน รวมถึงการขยายโมเดลรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบ21 เมษายน 2023
21
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์โมเดลต้นแบบในการขับเคลื่อนงานทั้ง 7 โมเดล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดโมเดลการขับเคลื่อนงาน 7 โมเดล ที่มีการขับเคลื่อนทั้งในระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัดใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง /เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ   จังหวัดชุมพรมีการขยับเรื่องนี้มาพอสมควร มีเครือข่ายหลักๆคือ เครือข่ายภาคประชาสังคม สภาองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยบริการที่อยู่ในพื้นที่ วันนี้ได้มีการเชิญผู้แทนในแต่และประเด็น หรือกลุ่มเครือข่าย เพื่อมาทำ Road Map (จังหวะก้าว) ในการเดินต่อ จากบทเรียนที่ผ่านมาพบว่ายังมีช่องว่างโดยเฉพาะระดับปฏิบัติการในการเห็นระดับนโยบาย ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ เมื่อเดือนที่ผ่านมาได้มีการร่วมกันวิเคราะห์ในเชิงแนวตั้งในสิ่งที่ทำอยู่เชื่อมโยงกับระดับนโยบายระดับชาติ ระดับจังหวัดอย่างไร ทางทีมได้เตรียมเอกสารเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดชุมพร (ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดี มีคุณค่า เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน) ข้อจำกัด 1. การรับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยังน้อยอยู่ การคิดหรือออกแบบงานไม่เป็นเชิงระบบ (การใช้เรื่องห่วงโซ่คุณค่าในการอธิบาย ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำต้องเชื่อมโยงกัน) สิ่งที่เครือข่ายขับเคลื่อนงานอยู่ตอนนี้อยู่ตรงจุดไหน และจะดำเนินงานไปยังจุดไหนต่อ  2. กลไกการจัดการจะเป็นหัวใจสำคัญของความต่อเนื่องและยั่งยืนในการขับเคลื่อน
คุณพัชรีย์  พรหมฤทธิ์: เกษตรกรรมยั่งยืน: ระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ มีรูปแบบหลัก1.เกษตรทฤษฎีใหม่ 2.เกษตรอินทรีย์ 3.เกษตรผสมผสาน 4.เกษตรธรรมชาติ 5.วนเกษตร พื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพรปี 2560-2564  จำนวน  15,485.60  ไร่ 1) เกษตรทฤษฎีใหม่ 9,514.05 ไร่  2) เกษตรอินทรีย์ 2,525.55 ไร่ 3) เกษตรผสมผสาน 2,946 ไร่ 4) วนเกษตร 2,000 ไร่
ปัญหาการผลิตด้านการเกษตร: ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมเนื่องจากการเพาะปลูก ไม่มีน้ำที่เพียงพอเพื่อการเพาะปลูก ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากราคาปัจจัยการผลิต พันธุ์ ปุ๋ย การดูแลสวน การเก็บ เกี่ยว การขนส่ง    โรคระบาดทั้งในพืช และสัตว์ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีทางการเกษตร เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ทดแทนเกษตรกรไม่ให้ความสำคัญกับการขอรับรองมาตรฐานสินค้าเนื่องจากไม่สามารถสร้างความแตกต่างด้านราคาการผลิตส่วนใหญ่ขายผลผลิตขั้นต้น มีการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าสูงน้อย ราคาผลผลิตตกต่ำ รายได้ไม่เพียงพอ กระทบคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ(แบบย่อย): แผนย่อยที่ 1 เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น แผนย่อยที่ 2 เกษตรปลอดภัย แผนย่อยที่ 3 เกษตรชีวภาพ แผนย่อยที่ 4 เกษตรแปรรูป แผนย่อยที่ 5 เกษตรอัจฉริยะ แผนย่อยที่ 6 การพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร เป้าหมายและตัวชี้วัด ของแผนแม่บทย่อย: ตามอัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เฉลี่ยร้อยละ 4, อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรปลอดภัย เฉลี่ยร้อยละ 3, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (ระดับดี), อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรชีวภาพ เฉลี่ยร้อยละ 5, จำนวนวิสาหกิจการเกษตรขนาดกลางและขนาดเล็ก และผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ (1 ตำบล 1 วิสาหกิจ), อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ เฉลี่ยร้อยละ 4, มูลค่าสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่/อัจฉริยะมีเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 4, ผลผลิตต่อหน่วยของฟาร์มหรือแปลงที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่/อัจฉริยะ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15, มูลค่าผลผลิตสินค้าเกษตรต่อหน่วยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15, สหกรณ์ มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 95, วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็ง ร้อยละ 30 แผนปฏิบัติราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) วิสัยทัศน์ : เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี เป้าหมายและตัวชี้วัด       1.อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตร เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี       2.อัตราผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตร เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อปี       3.รายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนเกษตร เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี       4.สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร) ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับมาตรฐาน           (1) สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 95
          (2) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง อย่างน้อยร้อยละ 30