โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.7 ประชุมถอดบทเรียนโมเดลหรือรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้อนแบบ 7 รูปแบบ 2 ประเด็น10 มีนาคม 2023
10
มีนาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลเพื่อนำเสนอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีข้อมุลการขับเคลื่อนผลลัพธ์1)การพัฒนาศักยภาพทีมทำงาน  ทั้งทีมคณะทำงานคนเก่าและคนใหม่ ซึ่งการดำเนินการตามที่กล่าวในตอนต้น ทั้งการสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในทุกเดือน ทั้งแบบ Onsite  และ Online  รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลความรู้ต่างๆ  การเอื้ออำนวยให้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพที่หน่วยงาน องค์กรจัดให้มีขึ้น  การจับคู่ระหว่างพี่เลี้ยงเก่า-ใหม่  ซึ่งก็มีทัศนะและทักษะการทำงานสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบ SDH  ได้ดีระดับหนึ่ง  ยังคงต้องดำเนินการต่อเนื่องด้วยการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ  น้อมนำประยุกต์ใช้ความรู้  และเชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็นมนุษย์สามารถพัฒนาได้ 2)การย่อยข้อมูลและแปรภาษาหลักการและวิชาการ  เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับรูปธรรมการปฏิบัติ  ซึ่งยังคงต้องดำเนินการเพิ่มขึ้น  ละเอียดขึ้น โดยทีมทำงานที่ผ่านประสบการณ์ทำงานภาคสนามควบคู่กับวิชาการ  เป็นผู้อธิบาย ขยายความ ในการสนทนา หรือการประชุมปรึกษาหารือของทีมทำงาน
(3)ข้อมูลผลลัพธ์การดำเนินงาน
การดำเนินงานของ Node Flagship Chumphon  ทั้งในระดับการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ    และประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่    ที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดชุมพร  (พ.ศ.2566-2570) “ ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน”  การบริหารจัดการหน่วยประสานจัดการ  การติดตามสนับสนุนพื้นที่ปฏิบัติการ  การประสานความร่มมือกับภาคียุทธศาสตร์  ตามที่กล่าวไว้ในตอนต้นนั้น    ประเมินความก้าวหน้าในพัฒนาพร้อมขยายผลโมเดล 7 รูปแบบ อยู่ระดับ 50-60 %  กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1) การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับชุมชน/หมู่บ้าน
2) การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับตำบล ( Best พื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จ)
3) การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับอำเภอ/สมาพันธ์เกษตรฯ
4) การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับเครือข่าย
5) การจัดการโรคเรื้อรังระดับชุมชน/หมู่บ้าน
6) การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ระดับหน่วยบริการ
7) การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ระดับตำบล
แต่ยังมีจุดอ่อนในการสื่อสารความสำเร็จ  ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนากลไกและโครงข่ายสื่อสาร ซึ่งกำลังดำเนินการผลิตสื่อทั้งเขียนข่าว  กราฟฟิค  คลิบสั้น  สื่อสารในช่องโซเชียลมีเดีย  รวมทั้งการส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้แก่เครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น ตามโอกาสและศักยภาพที่มี
  นอกจากนี้ผลงานสำคัญ คือการประสานทรัพยากร  องค์กรภาคียุทธศาสตร์และวิชาการ  มาสนับสนุนการดำเนินงาน Node Flagship Chumphon  วงเงิน 4.3 ล้านบาท    และการเชื่อมโยงเครือข่ายและนโยบาย  ทั้งในระดับเขต  ระดับภาคใต้  รวมถึงระดับประเทศในประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ(เกษตรกรรมยั่งยืน)
บทเรียนและข้อเรียนรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ อะไรเป็นข้อควรระวัง ข้อจำกัดและปัญหาอุปสรรค เงื่อนไขและปัจจัยสำคัญในการจัดการข้อมูลผลลัพธ์ทั้งในระดับโครงการย่อยและระดับประเด็นยุทธศาสตร์ ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล การนำใช้ประโยชน์จากข้อมูลผลลัพธ์ในการสร้างการเรียนรู้กับภาคียุทธศาสตร์และการปรับปรุงการดำเนินงานของ หน่วยจัดการ
1)การพัฒนาจัดการข้อมูลสารสนเทศ เพื่อนำใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปฏิบัติการ  พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่นโยบาย  โดยเฉพาะการสร้างการเรียนรู้กับภาคียุทธศาสตร์  ซึ่งได้ดำเนินการมาระดับหนึ่ง  พร้อมกับสรุปผลในแต่ละเรื่อง  แต่ละประเด็นเพื่อสื่อสารต่อสังคมและภาคียุทธศาสตร์ 2)การแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง  และการคำนึงถึง ประโยชน์ร่วม  ของแต่ละฝ่ายที่ต้องมีอะไร  อย่างไร บ้าง ?    ในการประสานความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์  ยังเป็นปัจจัยเงือนไขของความสำเร็จ  ของความร่วมมือทั้งในปัจจุบันและอนาคต Node Flagship Chumphon  พยายามสร้างการเรียนรู้  ตอกย้ำ  ปฏิบัติการของทีมทำงานและภาคียุทธศาสตร์ให้ได้ใช้บทเรียนที่สรุปไว้เมื่อปี 63 ในภารกิจที่ท้าทาย การสร้างและพัฒนาตัวแบบ-ต้นแบบ  การเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ ความร่วมมือในการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ และการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่  โดยควรกระทำและสร้างความแตกต่างจากที่สังคมหรือหน่วยงานปกติเขากระทำอยู่แล้ว    ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อพื้นที่ให้มากที่สุด โดยใช้งบประมาณของ สสส.เป็นนำมันหล่อเลื่อนกระบวนการทางสังคม
(4)บทเรียนและข้อเรียนรู้อื่นๆ
1)การสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) หรือพลเมืองผู้รอบรู้ทางสุขภาพ  ที่ทางสมาคมประชาสังคมชุมพร  โดยกลไกศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร  ได้ใช้เป็นกลไกกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพของเครือข่ายต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 61 ยังคงเป็นทิศทางแนวทางที่สอดคล้องกับ ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม  ด้วยทิศทาง 3 ด้าน 1.การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ/การเมือง  ภาควิชาการ/วิชาชีพ  และภาคประชาสังคม/เอกชน  2.การสร้างสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี  3.การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกกลุ่มวัยและทุกระดับ ทั้งในด้านทักษะต่าง ๆ เช่น ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) ความรอบรู้ด้านดิจิทัล (digital literacy)  ความรอบรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (environmental literacy) และด้านการพัฒนาศักยภาพคนสู่ความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ มีส่วนร่วมรับผิดรับชอบต่อสังคม (active citizen) มีคุณธรรม รู้คุณค่าในตัวเองและผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวมยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย      ซึ่งยังเป็นภารกิจที่ท้าทายต้องดำเนินการ