โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.1 ประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายเพื่อสรุปรูปแบบโมเดลการขับเคลื่อนงาน24 มิถุนายน 2023
24
มิถุนายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำข้อมูลรายละเอียดการขับเคลื่อนงานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานความก้าวหน้าของข้อมูล roadmap  3 ประเด็นร่วมในการขับเคลื่อนงานชุมพร คุณแสงนภา หลีรัตนะ ยกระดับกลไกจัดการสุขภาพเพื่อความมั่งคงมนุษย์ (พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกกลุ่มวัย): ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ 4 กลุ่มวัย ผู้สูงอายุ วัยทำงาน เด็กและเยาวชน รสมไปถึงกลุ่มคนเปราะบางและเข้าไม่ถึงสิทธิ การขับเคลื่อนงานที่ผ่านมางานเด็กและเยาวชนมีการขับเคลื่อนงานร่วมกับสถานพินิจ ในประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตมีพื้นที่ปฏิบัติงานอยู่ใน ต.เขาค่าย และต.นาขา ที่พยายามผลักดันนโยบายเข้าไปสู่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และมีงานเครือข่ายขององค์กรงดเหล้าที่ทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชน ปัจจุบันการขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชน มีกลุ่มเด็กและเยาวชนมาร่วมขับเคลื่อนงาน 4 อำเภอ คือ อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน อำเภอละแม ที่ผ่านมาเป็นการทำงานเชิงป้องกันไม่ให้เด็กเยาวชนไปยุ่งกับปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด และยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มีการทำ MOU ร่วมกับจังหวัด กขป. และสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ ภาคประชาชน
คุณวิรงค์รอง  เอาไชย กลุ่มวัยทำงาน: การทำงานโรคเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงเรื่อง NCD มีพื้นที่และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ รพ.สต.แก่งกระทั่ง รพ.สต.เขาทะลุ และรพ.สต.เขาค่าย มีภาคีหรือหน่วยงานสนับสนุนคือ สสอ. สวี โรงพยาบาลสวีร่วมกับ รพ.สต.บ้านแก่งกระทั่ง มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค NCD ต่อไปในอนาคตก่อนที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีกิจกรรมในการค้นหาบุคคลเพื่อให้เกิด บุคคลต้นแบบ ในส่วนของอสม. และกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรค NCD และกิจกรรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้กิจกรรมจับคู่บัดดี้ พัฒนาอสม.ให้เป็นอสม.ต้นแบบมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชนจังหวัดชุมพร ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่สู่พื้นที่จัดการตนเอง: โครงการบ้านพอเพียงปีนี้ดำเนินการมาแล้ว 308 หลัง งบประมาณวัสดุอุปกรณ์หลังละไม่เกิน 20,000 บาท งานวิเคราะห์การดำเนินงานป้องกันต่อต้านทุจริตร่วมกับสภาองค์กรชุมชนและภาคประชาชน โดยเน้นหนักในการสร้างจิตสำนึกให้ชุมชน สร้างสังคมให้เข้มแข็งป้องกันการทุจริต และสร้างภาคีเครือข่าย มีการปฏิบัติในเชิงรูปธรรมบ้างบางส่วน เรื่องคุณภาพชีวิตทำเรื่องการท่องเที่ยวที่ ท่ายาง ปากน้ำ หาดทรายรี ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวชุมชน เรื่องเกษตร ชายฝั่งใน 4 ตำบล ในสะพลี เรื่องเชื้อเพลิงธรรมชาติ การจัดการชายฝั่งที่ ต.ท่ายาง การจัดการน้ำของ บางสน การซ่อมฝ่ายพลุตาอ้าย ทำเรื่องสวนยางยั่งยืนที่ ดอนยาง ในการทำสวนยางผสมผสานของเกษตรกรในพื้นที่ เรื่องแลนบริดจ์ และสุดท้ายคือเรื่องสวัสดิการชุมชนที่มีอยู่ใน 8 พื้นที่ในจังหวัดชุมพร ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่