โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

1.7 ประชุมถอดบทเรียนโมเดลหรือรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้อนแบบ 7 รูปแบบ 2 ประเด็น5 กรกฎาคม 2027
5
กรกฎาคม 2027รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานผู้เข้าร่วมประชุม/จัดเตรียมข้อมูลการถอดบทเรียนแต่ละรูปแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เป้าหมายคือ ติดตามความก้าวหน้าและทบทวนสาระสำคัญจากข้อเสนอแนะทีมวิชาการ สสส. รวมทั้งสรุปและคัดเลือกโมเดลต้นแบบทั้งประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย และประเด็นการจัดการโรคเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ด้วยการเผยแพร่ความรู้ และขับเคลื่อนงานสร้างสุขที่จะจัดขึ้นในเดือน กรกฎาคม 2566 และใช้ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยจะแบ่งเป็น Good Practice: กรณีศึกษา และ Best Practice: บทเรียน ต้องมีกลไกการจัดการมีความสามารถ, สามารถดำเนินงานได้ตามแผน พื้นที่สามารถดำเนินการเองได้
การทำผังความคิด/โมเดล: สถานการณ์(ทำไมต้องทำ), ยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายจังหวัด(ย่อ), กลไกการจัดการ(หัวใจสำคัญของงาน), กระบวนการและเครื่องมือสำคัญ, ผลลัพธ์สำคัญ (ในเชิงเนื้อหา ให้ผู้เขียนรายงาน เขียนชื่อตัวเอง และเบอร์โทรไว้ที่มุมขวาบนของเอกสาร) การเขียนของประเด็นเกษตรให้ใช้หลักการเขียน Logic Model ต้นน้ำ(ระดับการผลิต) กลางน้ำ(ระดับการแปรรูป) ปลายน้ำ(ระดับการตลาด) เขียนในเชิงการจัดการ ประเด็น NCD ใช้หลักการ Health Literacy: การเข้าถึงข้อมมูลและบริการสุขภาพ, รู้และเข้าใจ, ทักษะการสื่อสาร, ทักษะการตัดสินใจ, จัดการตนเอง, รู้เท่าทันสื่อ (เข้าถึงได้รับ เข้าใจ โต้ตอบ ซักถาม แลกเปลี่ยน ตัดสินใจ ปรับใช้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และบอกต่อ)รวมถึงสมรรถนะของคนในศตวรรษที่ 21: ทักษะในการสนทนา, ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะการใช้สื่อ คุณแสงนภา หลีรัตนะ: ถ้าอยากให้ภาพมันชัดเจนยิ่งขึ้น ควรจะรู้ว่าข้อหัวไหนที่จะมาเทียบเคียงและวิเคราะห์ได้เพื่อความชัดเจนของข้อมูลเนื้อหา
หัวข้อการสังเคราะห์โมเดลต้นแบบ 1. ข้อมูลทั่วไป: ข้อมูลพื้นที่โครงการ (ต้องดึงดูดน่าสนใจ) ลักษณะเด่นของโมเดล ข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ: ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ผลลัพธ์ทางสภาพแวดล้อม ผลลัพธ์ทางสังคม
2) สภาพบริบทของโมเดลต้นแบบ: กายภาพ เช่น ขนาดครัวเรือน ลักษณะทางกายภาพ
3) กลไกการดำเนินงาน(ใช้กลไกอะไรในการขับเคลื่อน): การก่อตัวของกลไก การสร้างหรือการรวมตัวคณะทำงานในกลไก การทำความเข้าใจและสร้างเป้าหมายร่วมของกลไก ความรู้ที่จำเป็นสำหรับคณะทำงาน แนวทางหรือวิธีการพัฒนาสมรรถนะคณะทำงานในกลไก การออกแบบการทำงานและข้อตกลงการดำเนินงานของคณะทำงาน บทเรียนสำคัญของการก่อตัวของกลไก, การจัดการของกลไก โครงสร้างและองค์ประกอบของกลไกเป็นอย่างไร การแบ่งบทบาทการทำงานและการจัดการทีมคณะทำงานในกลไก แนวทางการจัดการและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ การระดมทรัพยากร การติดตามความสำเร็จและการสะท้อนผลการดำเนินงาน กิจกรรมสำคัญ  บทเรียนสำคัญของการจัดการกลไก
4) ผลลัพธ์การดำเนินงาน: ผลลัพธ์การทำงานของกลไก ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ผลลัพธ์อื่นๆ 5) ปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการดำเนินงานตามโมเดล คุณพัลลภา ระสุโส๊ะ: การทำผังโครงสร้าง เพื่อให้เห็นภาพรวม และองค์ประกอบของกลไก โครงสร้างให้มองโครงสร้างใหญ่ที่ใช้ในการขับเคลื่อน และควรคลี่บทเรียนให้ชัดเจนให้ทุกคนเข้าใจ เพื่อเป็นแนวทางในการถอดบทเรียนขั้นตอนถัดไปได้