ส่งเสริมสุขภาพ กิน ปลูก ผักปลอดภัยชุมชน บ้านหน้าถ้ำ

ตรวจแปลงร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ในการตรวจแปลงมาตรฐานและรวบรวมข้อมูลการผลิตครั้งที่ 122 กันยายน 2565
22
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย หน้าถ้ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานและผู้เข้าร่วมจำนวน 30 ท่านลงพื้นที่ตรวจดูความพร้อมและเหมาะสมในการปลูกผักจำนวน 6 พื้นที่เพื่อคัดกรองเข้าสู่กระบวนการ ขอมาตรฐาน GAP ได้แก่ แปลงที่ 1 กวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้ง ต้นหอม ถั่วฝักยาว แปลงที่ 2 พืชที่ปลูกคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ต้นหอม มะระขี้นก แปลงที่ 3 พืชที่ปลูกมะระ ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดหอม มะเขือ ต้นหอม บวบหอม แปลงที่ 4 พืชที่ปลูกมะระขี้นก บวบเหลี่ยม  บวบหอม ผักบุ้ง แคล แปลงที่ 5 พืชที่ปลูกข้าวโพด ผักบุ้ง ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม ต้นหอม มะเขือใบบัวบก แปลงที่ 6 ผักที่ปลูก ผักบุ้ง คะน้า ตะไคร้ พริก มะเขือ บวบหอม โดยนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการลงรายละเอียดและคัดเลือก เพื่อขอมาตรฐาน GAP ในแต่ละพื้นที่โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบความเหมาะสมในการดำเนินการขอเอกสารและลงทะเบียนในการจัดทำมาตรฐาน GMP ในครั้งนี้ โดยให้จัดเตรียมเอกสารพืชที่จะยื่นขอมาตรฐาน GAP โดยให้จัดเตรียมเอกสารดังนี้สำเนาบัตรประชาชนผู้ยื่นขอ สำเนาโฉนดแปลงที่ปลูก ใบคำขอยื่นจดมาตรฐาน GAP โดยจำนวนผู้ที่จะขอ 6 ชนิดในพื้นที่ 6 แปลง
โดยกิจกรรมนี้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังนี้ 1 ค่าเบรคจำนวน 30 คน* 30 บาท ค่าอาหารเที่ยง + น้ำ จำนวน 30 คนจำนวน 2 มื้อ* 70 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานและผู้ประสานเรียนรู้กระบวนการเพาะปลูกและตรวจสอบแปลงเพื่อสร้างความมั่นใจในแปลงปลูกจำนวน 6 พื้นที่
2.สมาชิกจำนวน 20 ท่านสามารถอธิบายถึงการเพาะปลูกและสามารถควบคุมมาตรฐานผักปลอดสารตลอดจนระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว 3.สมาชิกร้อยละ 70 สามารถบอกถึงวิธีการและฤดูการเก็บเกี่ยวของผักได้ 4.สมาธิแต่ละพื้นที่รับทราบและจัดทำกิจกรรมแบบกลุ่มผ่านกระบวนการบริหารจัดการร่วมกัน 5.สมาชิกแต่ละพื้นที่สามารถใช้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลของพืชที่ปลูกในแต่ละพื้นที่ได้โดยใช้การสื่อสารผ่านระบบออนไลน์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานและรวบรวมผลผลิตทำมาเป็นบันทึกจากจำนวนการผลิตทั้งหมด 30 คนคิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนสมาชิก