(01)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จัดเวทีถอดบทเรียน อสม.ต้นแบบและคู่ซี้บัดดี้ และวางแผนให้แกนนำสุขภาพขยายเครือข่ายลงสู่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านพร้อมมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ26 เมษายน 2566
26
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย วิรงค์รอง เอาไชย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คณะทำงานจัดเตรียมสถานที่ จัดบูธนำเสนอเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 3 บูธ 2.วันที่ 26 เมษายน 2566 เปิดการการประชุม มอบเกียรติบัตร อสม.และคู่บัดี้ระดับหมู่บ้าน 3.ประธานในพิธี และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ชมบูธ และรับฟัง แลกเปลี่ยนซักถามในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1.บูธของรพ.สวี เรื่องสาเหตุของโรคไต  2.บูธเกษตรกร สุขภาพดี ปลอดสารเคมีในเลือดของรพ.สต.บ้านแก่งกระทั่ง และหมู่บ้านต้นแบบเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ให้บริการการตรวจสารเคมีในเลือด และ 3.บูธนำเสนอกิจกรรมของโครงการตามหลัก  3อ. 2ส. 4.เวทีเสวนาเวทีเสวนาการถอดบทเรียน อสม.คู่บัดดี้ ต้นแบบ เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส และแนวทางเพื่อการขยายผลการดำเนินงานการจัดการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยบทบาทของภาคีเครือข่ายสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 120 คน 2.มอบเกียรติบัตรให้กับ อสม.และคู่บัดดี้ที่มีผลการปรับเปลี่ยนสุขภาพได้มากที่สุดโดยดูการเกณฑ์น้ำหนักตัวและค่ารอบเอว โดยคัดเลือกหมู่บ้านละ 2 คน รวม12 คน(6หมู่บ้าน) 3.มอบของรางวัลโดยได้รับสนับสนุนมาจำนวน 11,500 บาท โดยจัดสรรค์เป็นของรางวัลให้กับผู้ที่มีผลการปรับเปลี่ยน ดังนี้
  -ประเภทลดน้ำหนัดได้มากที่สุด ลำดับที่ 1-5 โดยแยกเป็น อสม.จำนวน 5 รางวัล คู่บัดดี้ จำนวน 5 รางวัล   -ประเภทรอบเอวลดมากที่สุด ลำดับที่ 1-5 โดยแยกเป็น อสม.จำนวน 5 รางวัล คู่บัดดี้ จำนวน 5 รางวัล   -ประเภทการลดค่าผลตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการได้ทุกตัว คือ 1.FPG  2.Total cholesterol  3.Triglyceride  และ 4.LDL จำนวน 2 รางวัล   -รางวัลพิเศษประเภทคู่บัดดี้ที่มีผลการปรับเปลี่ยนดีทั้งคู่ จำนวน 8 รางวัล   -รางวัลพิเศษประเภทการสื่อสารยอดเยี่ยมจำนวน 3 รางวัล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 115 รางวัล (ในกิจกรรมล้วงไหลุ้นรางวัล) 4.เวทีเสวนาการถอดบทเรียน อสม.คู่บัดดี้ ต้นแบบ เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส และแนวทางเพื่อการขยายผลการดำเนินงานการจัดการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยบทบาทของภาคีเครือข่ายสุขภาพ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้   (1) นายวัชรินทร์ แจ้งใจเย็น สาธารณสุขอำเภอสวี   (2) น.ส.กนกกาญน์ บุญยืน พยาบาลวิชาชีพ รพ.สวี   (3) นายณัฐวัตร เพชรโสม ผอ.รพ.สต.บ้านแก่งกระทั่ง   (4) นายพินิจ นพชำนาญ ประธาน อสม.รพ.สต.บ้านแก่งกระทั่ง   (5) นางรัตนา แสงอุส่าห์ คู่บัดดี้   (6) น.ส.อทิตยา นาคจินดา อสม. 5.นางเดือนเพ็ญ เคี่ยนบุ้น รองนพ.สสจ.ชุมพร และนายวิษณุ ทองแก้ว สรุปผลการดำเนินงานของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2565 และปิดโครงการ