ถอดบทเรียน

กิจกรรม : ถอดบทเรียน
วันที่ 22/03/2023 - 22/03/2023
งบประมาณที่ตั้งไว้ 2,000.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 20 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม :
ผลผารถอดบทเรียนตามรูปแบบของหน่วยจัดการพื้นที่ (NFชุมพร) โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมากพบว่า
ข้อมูลทั่วไป ประชากรทั้งหมด 6,979 คน จำนวนครัวเรือน 2,785 ครัวเรือน จำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน จำนวนชุมชน 19 ชุมชน
ผลลัพธ์ มีในด้านกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ การมีส่วนร่วม การดูแลสุขภาพ
กลไกการจัดการ ตั้งแต่การก่อตัวของกลไก การจัดการของกลไก การมีส่วนร่วม
ภาคีเครือข่าย 1) ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ชมรม อสม., รพ.สต., ชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, วัด, โรงเรียน, เทศบาล, กองทุนแม่ของแผ่นดิน, กศน., กลุ่มอาชีพต่างๆ 2) ระดับนโยบาย ได้แก่ สสอ., สสจ., อำเภอ
กลไกการดำเนินงาน ตามประเด็น Who What Why When และHow
Who ชมรม อสม. ชมรมผู้สูงอายุ
What เก็บข้อมูล,ให้ความรู้, คัดกรอง/ติดตามผล สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกาย การลดหวาน มัน เค็ม ลดอาการเจ็บป่วย กลุ่มเสี่ยง ลดจำนวนผู้เข้ารับบริการใน รพ.สต. และโรงพยาบาล
When พ.ค.2565 – เม.ย.2566
How 1)ลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบ-น้ำหนัก-ส่วนสูง-รอบเอว-ดัชนีมวลกาย-ความดัน,ไขมัน, เบาหวาน
2)ให้ความรู้เน้น 3 อ. 2 ส.และเก็บข้อมูลโดย อสม.ทุกหมู่ มีนางประนอม เวชสุบรรณ ตำแหน่งประธานฯ 062-5196172 เป็นผู้รับผิดชอบ
Who What Why When How ?
3) หน่วยงานสนับสนุน รพ.สต.ชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน (กำนัน ม.5 ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ม.1,2,3,4,6,7,8,9,10,11,12) ท้องถิ่น/ทต.บางหมาก ทำหน้าที่ให้ข้อมูล /ความรู้/สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์/วิทยากร/ให้คำปรึกษา/อำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่
4) องค์ความรู้ที่จำเป็น- รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล/ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ
คัดกรอง/ติดตามผล/
ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ/สนับสนุนสถานที่/บุคลการ /ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ ลดจำนวนผู้ป่วย ให้ความรู้กับคนในชุมชนเพื่อจัดกิจกรรมสุขภาพด้วยการอบรม-ออกกำลังกาย แอโรบิค มวยไทย, รำวง -ถนนสุขภาพ-สวนสมุนไพร
-เพื่อให้ผู้นำและประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ลดโรค “ลดหวาน มัน เค็ม”
เป้าหมาย - 1) ลดจำนวนผู้ป่วย 2)สร้างความตระหนัก 3)ให้ความรู้กับผู้นำและประชาชนในเรื่องของการดูแลสุขภาพ 4) มีนโยบายสนับสนุนการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้นำ และประชาชน เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพของประชาชน (สปสช.)พ.ค.2565 – เม.ย.2566
โดยมีกิจกรรมสำคัญ
-ให้ความรู้กับชุมชนเรื่องสุขภาพ/-ร่วมคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยง/-สร้างสัมพันธ์กับคนในชุมชน
-สร้างแรงจูงใจ/-ดูแล อำนวยความสะดวกให้บริการสถานที่/-สนับสนุนบุคลกร -งบประมาณ -เครื่องมือในการดำเนินการโครงการ
- ภาคีที่ร่วมรับผิดชอบ รพ.สต.บางหมาก นายปรินทร รัตนกูล ผอ.รพ.สต. 095-2894465
นายประสงค์ คอนกำลัง ผญ.ม.6 088-4449013 นายอำพล ทองลีผล กำนัน 093-6939899
นายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกฯ 096-4936919 นางศรีนวล อ่วมอ่อน รองนายกฯ 080-7186021
น.ส.ณัชชาภัทร อาริกุล 088-7613569
ผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์
1.คณะทำงานมีศักยภาพในการขับเคลื่อนในพื้นที่
- มีคณะทำงาน 17 คน มาจาก สท., ผู้ใหญ่บ้าน, อสม., จนท.เทศบาล
- คณะทำงานมีความรู้ สามารถบริหารจัดการ
- การถ่ายทอดความรู้ /ติดตามประเมินผล
- การจัดเก็บข้อมูล
- การสร้างแรงจูงใจ
- มีฐานข้อมูลจับต้องได้
- ทำการคัดกรอง
- คีย์ข้อมูลเข้าระบบ
2.เกิดความร่วมมือจากกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต
- เกิดกลไกความร่วมมือที่มีจาก
- รพ.สต. : ข้อมูล, ความรู้, วิทยากร
- อสม. : ข้อมูล, ตรวจเยี่ยม, คัดกรอง, ให้คำแนะนำ
- ชุมชน : กองทุนแม่ของแผ่นดิน ม. 6 บ้านดอนไทรงาม
- กศน. : ข้อมูล, ให้ความรู้, ให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต
- กลุ่มอาชีพในชุมชน : ข้อมูล, ความรู้
-ม.1 กลุ่มเลี้ยงไก่ชน
-ม.2 กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
-ม.3 กลุ่มขนมไทย
-ม.4 กลุ่มเลี้ยงปลากะพง
-ม.5 กลุ่มทำใบจาก
-ม.6 กลุ่มเลี้ยงปูนา,ขนมไทย
-ม.7 กลุ่มลิงกังขึ้นมะพร้าว
-ม.8 กลุ่มปลาร้าไทดำ
-ม.9 กลุ่มทอผ้า ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ไทดำ)
-ม.10 กลุ่มเลี้ยงวัว
-ม.11 กลุ่มเลี้ยงปลาไหล “โคกหนองนาโมเดล”
-ม.12 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ,กลุ่มพวงหรีด
-เกิดกติกาหรือมาตรการระดับพื้นที่
- กติกาของคณะกรรมการ คือจะประชุมคณะกรรมการฯ ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน
- กติกาในเรื่องของถนนสุขภาพ “ทุกคนเป็นเจ้าของช่วยกันดูแลหน้าบ้านใครคนนั้นดูแล แต่จะแบ่งปันผลผลิตให้ทุกคนในชุมชนสามารถเก็บไปบริโภคได้”
- ผู้นำทุกคนต้องตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- อสม.จะต้องออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้สูงอายุปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง
3. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ
- มีการจัดการปัจจัยเสี่ยง/เพิ่มปัจจัยเสริม 3อ 2ส
การจัดการปัจจัยเสี่ยง
- มีการจัดการโรคเรื้อรังด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยพืชสมุนไพร(น้ำมันมะพร้าว) ในการบริโภคเพื่อลดไขมัน ประมาณร้อยละ 20 ใช้ฟ้าทะลายโจรชงชา ประมาณร้อยละ 30
- มีกลุ่มอาชีพเสริม 3 กลุ่ม
1) กลุ่มอาหารปลดภัย คือ เครื่องแกงไม่ใส่สารกันบูด ม.6 สมาชิก 30 คน
2) กลุ่มสมุนไพร มีสมาชิก 50 คน
3) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.6 มีสามาชิก 50 คน
เพิ่มปัจจัยเสริม 3อ 2ส
-ออกกำลังกาย ได้แก่ บาสโลป ม.6 สมาชิก 50 คน, แอโรบิค กองทุนแม่ของแผ่นดิน สมาชิก 50 คน, มวยไทย ม. สมาชิก 20 คน, รำวงนางฟ้า ม.2 สมาชิก 20 คน, ฟ้อนไทดำ ม.8 ม.9 สมาชิก 140 คน
-อาหาร ได้แก่ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.6 สมาชิก 50 คน, กลุ่มเครื่องแกงไม่ใส่สารกันบูด ม.6 สมาชิก 30 คน, กลุ่มเลี้ยงปลากระชัง อาหารธรรมชาติ ม.4 สมาชิก 50 คน
-อารมณ์ ได้แก่ วัดคูขุด กลุ่มฝึกสมาธิ, วัดดอนรวบ กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม, วัดคอเตี้ย กิจกรรประเพณีวัฒนธรรม
-สุรา/บุหรี่ -ยาเสพติด
4. มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดโรคเรื้อรัง
-ลดอัตราการเจ็บป่วย ร้อยละ 10
-ผู้นำเปลี่ยนแปลงสุขภาพตนเอง 30 คน
- เกิดนวัฒกรรมการจัดการโรคเรื้อรัง
1) การใช้น้ำมันมะพร้าวลดไขมัน
2) ใช้ฟ้าทะลายโจรลดอาการเจ็บคอ
3) ลูกปะคบสมุนไพรลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ
ปัจจัยความสำเร็จ
1.มีแกนนำ/กลุ่ม สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม
2.กลไกการทำงาน อสม., เทศบาล(เจ้าหน้าที่ ทต.), เข้ามาหนุนเสริมทำให้โครงการสำเร็จ
3.หน่วยงานให้การสนับสนุน ร.ร.บ้านดอนไทรงาม รพ.สต.บางหมาก, เทศบาลตำบลบางหมาก, วัดคูขุด, วัดดอนรวบ
4.ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกติกาชุมชนที่วางไว้
5. มีการสื่อสาร เข้าถึงประชาชนได้ดี
6. กองทุนท้องถิ่น (สปสช.) ให้การสนับสนุนบรรจุแผน
ด้านสุขภาพ, การออกกำลังกาย, การป้องกันอุบัติเหตุ
กองทุนแม่ของแผ่นดิน เรื่องสถานที

ปัจจัยที่ไม่สำเร็จ
1.ผู้นำสวมหมวกหลายใบ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลาในการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน
2. กลไกกรรมการ ไม่เห็นความสำคัญของโครงการ ไม่เข้าใจ
3. มุมมองของสมาชิกไม่เข้าใจงานของ สสส.
4. การตอบรับจากสมาชิก/ประชาชน ไม่ดี เพราะไม่เช้าใจตัวโครงการ