(12)โครงการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดสารอย่างเป็นระบบและมีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน

ปฐมนิเทศโครงการ4 มิถุนายน 2565
4
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการผู้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 คน ได้แก่ นายไตรสิทธิ์ ศรีช่วงโชติวัตร  นายกวินพัฒน์  ศิริมหาดำรงค์กุล นายชูเกียรติ นารีศรีสวัสดิ์ นายสมควร เนตรสุวรรณ
  • เรียนรู้ร่วมกันเชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อชุมพรน่าอยู่ โดย ดร.ฉันทวรรณ เอ่งฉ้วน ม.แม่โจ้
  • การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อคลี่บันไดผลลัพธ์โครงการย่อย โดยทีมสนันสนุนวิชาการ ทั้งหมด 7 กลุ่มย่อย โดยมีพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบแต่ละประเด็นเข้าประจำกลุ่มย่อยเพื่อทำหน้าที่ทำความเข้าใจการคลี่บรรไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการ
  1. เกษตรและอาหารระดับหมู่บ้าน
  2. เกษตรและอาหารระดับตำบล
  3. เกษตรและอาหารระดับสมาพันธ์เกษตรอำเภอ
  4. เกษตรและอาหารระดับเครือข่าย
  5. จัดการโรคเรื้อรังระดับชุมชน / หมู่บ้าน
  6. จัดการโรคเรื้อรังระดับหน่วยบริการ
  7. จัดการโรคเรื้อรังระดับดำบล

- ผู้ประสานงาน Node จากสมาคมประชาสังคมชุมพร ชี้แจงการบริหารโครงการ และเอกสารประกอบการจัดทำ โครงการ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบลงทะเบียน แบบฟอร์มการรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ส.1 ,ง.1 เพื่อให้พื้นที่สามารถทำเอกสารด้านการเงินได้อย่างถูกต้อง - กลุ่มย่อยลงมือปฏิบัติจัดทำเอกสารด้านการเงิน เพื่อจะได้เรียนรู้ที่ถูกวิธี - แลกเปลี่ยนซักถามข้อสงสัยในเรื่องการจัดทำเอกสารด้านการเงิน พร้อมทั้ง ผู้ประสานงาน node ตอบข้อสงสัย เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน - ล้อมวง อภิปราย “ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย” เป้าหมายที่ตั้งไว้เราจะเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าของ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กับการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ด้วยกลไกการจัดการและกระบวนการอย่างไร โดย ดร.ชุมพล อังคณานนท์ นายธีรนันท์ ปราบราย นายวิโรจน์ แสงบางการ - ปิดการประชุม โดย นายวิโรจน์ แสงบางการ  ประธานคณะกรรมการโครงการ