(16)ยกระดับการจัดการสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยตำบลบ้านควน

เวทีประสานความร่วมมือและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน(ARE) ครั้งที่ 318 เมษายน 2566
18
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย เบญจมาศ ทองมณี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-คณะทำงาน ภาคี และสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน  ร่วมประชุมการประสานความร่วมมือและการติดตามประเมินผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมโครงการ -ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวถึงการเดำเนินกิจกรรมตั้งแต่แรกถึงกิจกรรมปัจจุบันที่ทำไปแล้วให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบ -ทำกระบวนการคลี่บันไดผลลัพธ์ ตั้งแต่ขั้นที่ 1 - 4 ตามตัวชี้วัด -แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันผู้เข้าร่วมประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กระบวนการติดตามและประเมินผลลัพธ์  มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย กลไกกลุ่มเกษตรสุขภาพ  สภาองค์กรชุมชน คณะทำงาน  ภาคีเครือข่ายจาก อบต.บ้านควน  เกษตรอำเภอหลังสวน  รพ.สต.บ้านควน  เริ่มต้นด้วยการคลี่บันไดผลลัพธ์ ตัวชี้วัดไล่ไปในแต่ละขั้น ผลลัพธ์ขั้นที่ 1  เกิดคณะทำงานที่มีขีดความสามารถในการดำเนินงานจากกิจกรรม จึงมีคณะทำงานขับเคลื่อน 20 คน  ซึ่งมาจากท้องถิ่น 6 คน  ท้องที่ 2 คน ภาคประชาชน 12 คน  มีการจัดเก็บข้อมูล คน ครัวเรือน  อาชีพ การทำการเกษตร ทรัพยากร 18 หมู่บ้าน  คณะทำงานสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ได้ 4 คน ได้แก่ นายมนูญ สุกิจกุลานันท์(เรื่องเลี้ยงผึ้ง) , นายฐากูร  สันตวรนาถ (เรื่องเลี้ยงไส้เดือน) ,  นางสมจิตร  พริกบางกา (เรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ) ,  นางจินตนา  ฉิมวารี(เรื่องเครื่องแกง) , นายภิญโญ  ทองหัตถา(กลุ่มเพาะเห็ดปาล์มบ้านควน)  มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาชน ในเรื่องของการจัดการขยะชุมชน  ผลลัพธ์ขั้นที่ 2                          เกิดความร่วมมือและกฎกติการ่วมของเครือข่าย  เกษตรกรมีความเข้าใจในการทำเกษตรปลอดภัยและสามารถทำสารชีวภัณฑ์ไตโครเดอร์มา  ไปใช้ในแปลงเกษตรของตนเอง จำนวน 20 คน  มีแผนธุรกิจและแผนการผลิตของกลุ่มมูลไส้เดือน  ปุ๋ยหมักชีวภาพ เลี้ยงผึ้ง  ผักปลอดภัย    มีผลิตภัณฑ์ชุมชน 6 อย่าง ได้แก่  ปุ๋ยหมักชีวภาพ ดินปลูก มูลไส้เดือน เครื่องแกง  น้ำผึ้ง ข้าวหมาก  ผลลัพธ์ขั้นที่ 3  เกิดการจัดการสินค้า ตลาด ของชุมชนท้องถิ่น  มีผลติภัณฑ์ปุ๋ยหมักชีวภาพ ได้รับรองคุณภาพและมาตรฐานจากกรมพัฒนาที่ดิน มูลไส้เดือน ได้มีการตรวจสอบคุณภาพและรับรองจากม.เกษตรศาสตร์    มีผลิตภัณฑ์แปรรูป น้ำผึ้ง  เครื่องแกง  ปุ๋ยหมักอัดเม็ด  มูลไส้เดือน  ดินปลูก    มีตลาดนัดชุมชนบ้านหนองโพธิ์ทุกวันพุธ ตลาดสุขภาพผู้สูงอายุรพ.สต.บ้านควน เดือนละครั้ง  เชื่อมโยงตลาดออนไลน์ โดยขายผ่านFB Line มีรายได้อีก 1 ช่องทาง  ทำให้ทราบการขับเคลื่อนโครงการอยู่ที่บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3  โดยกระบวนการขับเคลื่อนให้สำเร็จเกิดจากกลไกการจัดการกลุ่มเกษตรสุขภาพร่วมกับสภาองค์กรชุมชน เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อน การสร้างความเข้าใจให้สมาชิกผู้เข้าร่วม ตลอดจนชุมชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำเกษตรและอาหารปลอดภัย ลด ละ การใช้สารเคมี  เกิดข้อมูลสุขภาพของเกษตรกรในชุมชน เกิดกลุ่มการเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสาร การทำสารชีวภัณฑ์นำใช้แทนสารเคมี ตลอดจนการนำผลผลิต/สินค้าที่มีอยู่มายกระดับเพิ่มมูลค่า เพิ่มช่องทางทางการตลาด  มีแผนการจัดการ แผนเกษตร  แผนสุขภาพ แผนการจัดการขยะซึ่งตำบลบ้านควนได้รับเลือกให้เป็นตำบลนำร่อง และการมีส่วนร่วมของภาคีที่มาหนุนเสริมไม่ว่าจะเป็นเกษตร ที่เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดการดิน ปุ๋ยชุมชน จนเกิดเป็นศูนย์เรียนรู้  สปสช.ตำบลที่สนับสนุนงบประมาณ เรื่องสุขภาพ 500,000 บาท  รพ.สต.บ้านควน ให้ความรู้วิชาการในเรื่องสุขภาพ สารเคมีตกค้างในเลือด และอื่นๆ  งบประมาณโครงการพระราชดำริ 18 หมู่บ้าน ซึ่งนำมาใช้ในการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือด  การติดตามประเมินผลลัพธ์ในครั้งนี้  ทำให้เห็นว่าพื้นที่มีความโดดเด่นในด้านการมีส่วนร่วม มีฐานข้อมูลเข้มแข็ง และมีต้นแบบของการทำเกษตรที่ประสบความสำเร็จ  ผลลัพธ์ขั้นที่ 4 เกิดการเพิ่มการผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและรายได้ครัวเรือน  มีการผลิตผักผลไม้ปลอดภัยเพ่ิม 10% จำนวน 50 ครัวเรือน  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดรายจ่าย(ต้นทุนในการผลิต)ทำให้มีรายได้เพ่ิมขึ้นครัวเรือนละ 3,000 บาท  จากการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างลดลง 10% ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ  และคณะทำงาน ภาคี และสมาชิกผู้ร่วมโครงการมีการรับรู้โครงการการประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา  สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เป็นข้อสังเกตพบเจอระหว่างทาง การพัฒนาศักยภาพแต่ละกลุ่มยังขาดความต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอกยังมีน้อย การที่คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายมีวันว่างไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการล่าช้าในการจัดทำกิจกรรมในโครงการ