(21)พัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่2)16 สิงหาคม 2565
16
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงาน 1.ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงาน(ครั้งที่2) เพื่อสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมา 2.จัดวางแผนออกสำรวจแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอละแม เพื่อขยายแปลงต้นแบบเพิ่มเติม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นายอดิศักดื ยมสุขขี ในฐานะประธานและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร ได้เรียกคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมประชุม เพื่อเพิ่มศักยภาพของคณะกรรมการที่รับผิดชอบในแต่ละด้านให้มีความพร้อมและความสามารถที่จะขับเคลื่อนโครงการให้เดินหน้าต่อไปยังเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยมีพี่เลี้ยงของโครงการคุณหนึ่งฤทัย ได้มาให้ความรู้ในการจัดทำกิจกรรมของโครงการและการร่วมกันวางแผนการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งนี้ได้มีการคัดเลือกแปลงต้นแบบเพิ่มเติมในพื้นที่เพื่อที่จะได้ขยายเครือข่ายการทำสวนยางอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น จากการประชุมสมาชิกได้เสนอแปลงต้นแบบเพิ่มเติม จำนวน 4 แปลง ได้แก่
1) แปลงของนายกวี สังข์แก้ว ปลูกยางพาราในพื้นที่ 22 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกต้นไม้ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ ตะเคียนทอง มะฮอกกานี ยางนา ปลูกไว้บริเวณกลางร่องแถวต้นยางพารา ซึ่งมีความร่มรื่น และสวยงาม เหมาะสำหรับเป็นแปลงต้นแบบด้านวนเกษตรเป็นแหล่งความรู้เพื่อใช้ในพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิกเครือข่ายต่อไป 2) แปลงของนายสุชาติ แสงอรุณ ปลูกยางพาราในพื้นที่ 12 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร จากการสำรวจแปลงพบว่าในสวนปลูกยางพาราระยะ 10 * 4 เมตรในกลางร่องแถวได้ปลูกมังคุดไว้ทุกแถว ซึ่งนายสุชาติ แสงอรุณ มีรายได้จากการจำหน่ายมังคุดปีละประมาณ 50,000 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว จึงเหมาะสำหรับการเป็นแปลงต้นแบบด้านการปลูกไม้ผลร่วมยาง 3) แปลงของนายคำรณ สุกใส ปลูกยางพาราในพื้นที่ 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร โดยการทำสวนยางร่วมกับการปลูกผักเหลียง ทำให้มีรายได้จากการปลูกผักเหลียงเดือนละมากกว่า 2,000บาท เหมาะสำหรับเป็นแปลงต้นแบบเพื่อขยายผลองค์ความรู้ในการปลูกผักเหลียงร่วมกับการทำสวนยางพารา 4) แปลงของนายประสาท สิทธี ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกต้นไม้ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ ตะเคียนทอง มะฮอกกานี สักทอง กระถิ่นเทพา ปลูกไว้บริเวณกลางร่องแถวต้นยางพารา เหมาะสำหรับเป็นแปลงต้นแบบด้านวนเกษตรเพื่อใช้ในพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิกเครือข่ายฯต่อไป และได้วางแผนการออกสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแปลงต้นแบบเพิ่มเติมต่อไป