(21)พัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่3)12 ตุลาคม 2565
12
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงาน
1.ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงาน(ครั้งที่3) เพื่อสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมา 2.วางแผนออกสำรวจแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอละแม เพื่อขยายแปลงต้นแบบเพิ่มเติม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 12 ตุลาคม 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯและประธานคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่อสรุปผลข้อมูลการดำเนินงานในครั้งที่ผ่านมาโดยได้มีการลงพื้นที่สำรวจแปลงต้นแบบเพิ่มเติม จำนวน 2 แปลง ซึ่งประกอบไปด้วย
1) แปลงของนางพรรณวดี รักษา ปลูกยางพาราในพื้นที่ 10 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.ลสวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกไม้ผลประเภท มังคุด ลองกอง ร่วมในสวนยางพารา โดยนางพรรณวดดี รักษาได้ให้ข้อมูลว่าในแต่ละปีจะมีผลผลิตของมังคุดและลองกอง ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้นอกเหนือจากการทำสวนยางพาราเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ซึ่งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯได้ลงมติให้เป็นแปลงต้นแบบเพิ่มเติมเพื่อใช้องค์ความรู้ในการทำสวนยางร่วมกับไม้ผลให้แก่สมาชิกต่อ 2) แปลงของนางธัญญาผล ชลสาคร ปลูกยางพาราในพื้นที่ 10 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกผักเหลียงไว้กลางร่องแถวยาง และมีโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง โดยนางธัญญาผล ชลสาครได้ให้ข้อมูลว่ามีรายได้เพิ่มจากผักเหลียง ประมาณเดือนละ 1,000 บาท และรายได้จากโรงเพาะเห็ดดฟางประมาณเดือนละ 5,000 บาท คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯจึงได้เห็นถึงความเหมาะสมในการเป็นแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืน เพื่อนำองค์ความรู้ในด้านการปลูกพืชร่วมยางไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกเครือข่ายฯต่อไป และได้วางแผนการออกสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแปลงต้นแบบให้ครบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต่อไป