(21)พัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร

จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 223 กันยายน 2565
23
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน 1 เปิดศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี(ด้านการทำสารชีวภัณฑ์) 2 อบรม เรื่องการวิเคราะห์ใบยาง โดยนายสมศักดิ์ ปุณมณี นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร 3 อบรม เรื่องโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โดยนายสมศักดิ์ ปุณมณี นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 23 กันยายน 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี พร้อมทั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมกันจัดกิจกรรม จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ที่สวนยางพาราของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 ม. 1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร โดยการจัดตั้งและถ่ายทอดความรู้ของศูนย์เรียนรู้หลัก โดยได้รับเกียรติจาก นายเฉลิม พวงแก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาเมืองชุมพรและนายสมศักดิ์ ปุณมณี นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพรมาร่วมการเปิดศูนย์เรียนรู้การทำสวนยางยั่งยืน และในครั้งนี้ นายสมศักดิ์ ปุณมณี ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรมการตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติของต้นยางพาราโดยการวิเคราะห์จากใบยางพารา สมาชิกเครือข่ายที่เข้าร่วมการเปิดศูนย์ได้เรียนรู้การวิเคราะห์แล้วลองหาใบยางในสวนนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี มาวิเคราะห์ดูด้วยตัวเอง เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต้นยางพาราในแปลงยางพาราของตนเอง หลังจากนั้นนายสมศักดิ์ ปุณมณี ได้ให้ความรู้เรื่องโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ลักษณะอาการของโรคใบร่วงชนิดใหม่มีรอยช้ำค่อนข้างกลมบริเวณใต้ใบ ผิวใบด้านบนมีสีเหลือง ต่อมาเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวจะมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ใบร่วงในสุดโดยโรคใบร่วงนี้เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อรา ซึ่งเชื้อราที่ทำให้ใบร่วงสามารถกระจายได้โดยลมและฝน ยังสามารถไปยังพืชที่ปลูกร่วมยางได้อีกด้วย ในการควบคุมโรคใบร่วงชนิดนี้มี 2 วิธีในการควบคุม 1.ใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคที่สะสมอยู่ในดิน เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดสด) 1 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม และรำ 4 กิโลกรัม ผสมเข้าด้วยกัน โดยหว่านให้ทั่วแปลงหรือ ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ผสม น้ำ 100 ลิตร โดยฉีดให้ทั่วแปลง 2. ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อราตามคำแนะนำของการยางแห่งประเทศไทยและกรมวิชาการเกษตร