(21)พัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร

จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 2)21 มีนาคม 2566
21
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เรียนรู้การปลูกพืชระบบ GAP  และเรียนรู้ประโยชน์จากการทำ ระบบ  GAP พืช
2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปเรียนรู้การจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐาน FSC
3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปเรียนรู้การวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบคุณภาพดินเพื่อให้พร้อมสำหรับการเตรียมแปลงเกษตร โดย นางสาวภัคจิรา  อับดลร่าหีม  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอละแม ให้เกียรติเป็นวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ในเรื่องการเตรียมพื้นที่ การเตรียมพันธ์พืช การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การขนส่ง การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต้องตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้จัดการผลผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดภัยเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้า รักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความยั่งยืน 3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้ทราบถึงกระบวนการการจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐาน FSC  เช่น การจัดการ 4.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้ฝึกปฏิบัติการการตรวจวิเคราะห์ดิน ตามแบบชุดวิเคราะห์ดิน ตรวจสอบค่า N P K กรดด่างเพื่อเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก