(23)โครงการ พัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัย

อบรมเชิงปฎิบัติการพัมนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่ในการคัดสายพันธื์ข้าวไร่20 เมษายน 2566
20
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานออกแบบกระบวนการและวิทยากรเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การรักษาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของประเทศไว้ให้ได้ นับเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพราะเปรียบไปพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทย ก็เป็นผลผลิตซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาการเกษตรไทยที่ได้รับการ ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นเวลานับร้อยปี ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณลักษณะเหมาะสมกับพื้นที่”การจะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทยจึงทำได้ง่ายกว่าการนำอาสายพันธุ์อื่นจากต่างประเทศที่มีลักษณะเด่นแต่ไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่บ้านเรามาใช้ ที่สำคัญ หากเราสามารถหยิบเอาจุดเด่นของพันธุข้าวเหล่านั้น มาพัฒนาไปสู่ตลาดที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและแปรรูปผลผลิต ก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้สู่ชุมชน ดึงดูดและจูงใจให้ลูกหลานเดินทางกลับคืนถิ่นได้ การเพาะปลูกข้าวไร่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้ที่มีพื้นที่เป็นจ านวนมากเท่านั้น ผู้ที่มีที่ดินเพียง 2 ไร่ ก็สามารถทำในส่วนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่จำเป็นต้องอาศัยการดูแลสูงได้ เพราะให้ผลตอบแทนในเรื่องราคาสูงกว่าข้าวไร่ทั่วไปถึง 3 เท่า ที่สำคัญมีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เข้ามารับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการนำไปสกัดสารสำคัญหรือแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คุ้มค่าแก่การลงทุน   พันธุ์ข้าวไร่ที่ได้จากการคัดเลือกบริสุทธิ์ 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สามเดือน ดอกขาม  ภูเขาทอง เล็บนก เล็บมือนาง นางเขียน นางครวญ นางดำ ดำกาต้นดำ ดำกาต้นเขียว และแม่ผึ้ง ขยายผลให้เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค อำเภอปะทิว และเกษตรกรในหลายพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงปลูกเพื่อการบริโภคและจำหน่ายในชุมชน (ข้าวกล้องและข้าวขัดขาว กิโลกรัมละ 60 บาท)พันธุ์ข้าวเหล่านี้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อโรค และแมลง มีลักษณะ การบริโภคที่ผู้บริโภคชื่นชอบ มีทั้งพันธุ์ข้าวเจ้า และพันธุ์ข้าวเหนียวดำ บางพันธุ์มีกลิ่นหอม มีแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก และคุณค่า ทางอาหารสูง แต่ประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ยังไม่สามารถที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่สามารถนำไปสู่เชิงพานิชย์ได้ และจากการหารือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโคที่ปลูกข้าวไร่ตั้งแต่  พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปัญหาหลักของการปลูกข้าวไร่ คือ ต้นทุนการผลิตสูง (ได้รับผลตอบแทนเมื่อหักต้นทุนต่ำ)การแปรรูปข้าวไร่ (สีเป็นข้าวกล้องหรือขัดขาว) ร้อยละต้นข้าวต่ำ นำข้าวไร่ที่เก็บเกี่ยวได้มาผ่านกระบวนการสีข้าว เมล็ดข้าวจะแตกหักจำนวนมาก เนื่องจากมีฝนตกชุก ส่งผลให้ราคาในการจำหน่ายลดลงกลุ่มขาดความร้เูรื่องการวางแผนการตลาดและรูปแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุและเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน ดังนั้นเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ให้สูงขึ้น จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมเข้ามาใช้ร่วมด้วยเพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานและปัจจัยการผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว และส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ในงานวิจัยนี้จึงมีแนวความคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ โดยการลดต้นทุนการผลิตข้าวไร่ในรูปแบบการจัดการระบบการเขตกรรม การเพิ่มคุณภาพของข้าวไร่ด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดร่วมกับหลอดฮาโลเจน และการเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจชุมชน ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวไร่ ดังนั้นจากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 โดยการดำเนินงานผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ซ่ึงเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศให้สามารถ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของคนไทยได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน