(23)โครงการ พัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัย

อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเรียนรู้เทคนิคการปลูกและการใช้เครืองจักรกล16 พฤศจิกายน 2565
16
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงาน ออกแบบกระบวนการและหาสถานที่ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดร.ร่วมจิตร จาก สจล. การค้นพบข้าวไร่พันธุืพื้นเมืองเกิดขึ้นจากการออกสำรวจการปลูกข้าวซึ่งมีดารปลูกข้าวไร่มากที่สุด จำนวน 9 สายพันธุ์ เป็นข้าวจ้าว  7 สายพันธุ์ คือ ข้าวนางครวญ  นางเขียน  ภูเขาทอง  ข้าวเล็บนก  ข้าวสามเดือน  ข้าวดำ  ดอกขาม พันธุ์ข้าวเหนียว 2  พันธุ์  คือ  เหนียวกาดำต้นดำ  เหนียวกาดำต้นเขียว  เนื่องจากทั้ง 9 สายพันธุ์ มีการปลูกติดต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีการปะปนของพันธุ์จากการผสมพันธุ์ดดยบังเอิญทางธรรมชาติ จึงจำเป้นต้องเรียนรู้เรื่องการคัดเลืกสายพันธุ์เพื่อจะได้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์ตรงตามมาตรฐาน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องเป็นพื้นที่มีน้ำน้อย ให้สามารถปลูกข้าวไร่ให้ได้ผลดีเพื่อจะช่วยให้เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศไทย
  ข้าวที่เป็นที่นิยมปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวพันธุ์ดอกขาม จากการทำวิจัยพบว่าคุณภาพข้าวเมื่อสุกจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสชาติอร่อย ไม่แข้ง หุงขึ้นหม้อ
    การปลูกข้าวไร่ที่ได้ผลดี
สภาพอากาศ  :  เป้นข้าวไวแสง สภาพพื้นที่ปลูก :  ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง ฤดูปลูก :  ปลูกได้ปีละครั้ง  ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การเตรียมดิน :  ใช้รถไถเตรียมดินให้พอดี การปลูก : ใช้ไม้ปากมนปักดลเป็นหลุมลึก ประมาณสองข้อนิ้วมือ หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 4-5 เม็ด ระยะห่างระหว่างหลุม 25x 30
การดูแล  : ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ขอแนะนำ  :  พื้นที่ๆมีการปลูกข้าวกรณีที่ปลูกต่างสายพันธุ์ ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม