โครงการสุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี ร่วมปลูกข้าวดีๆ กับกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 329 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีสะท้อนผลลัพธ์ การทำงาน ณ แปลงใหญ่ผึ้งโพรงปะเหลียน สมาชิกและคณะทำงาน 14คน พี่เลี้ยงและภาคี 7 คน ประกอบด้วย ตัวแทนชลประทาน เกษตรตำบล ผอ.โรงเรียนบ้านหนองหว้า ผอ.โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พี่เลี้ยง ครูสำราญ สมาธิ นายทวี สัตยาไชย ที่ปรึกษาโครงการ ขอบคุณ น.ส ศัลยา มานะกล้า ผู้บันทึกการประชุม เริ่มเวลา 13.00 น ประธานเปิดการประชุมและมอบหมายให้ นางสาวดวงใจ มีสัตย์ เลขานุการทบทวนผลลัพธ์โดยคร่าวๆ 1 ความสามัคคี 2 รายได้เพิ่มขึ้น 3 รู้จักพันธ์ุข้าวเพิ่มขึ้น 4 เข้าใจการปลูกข้าวละเอียดขึ้นรู้จักการเปรียบเทียบ สำราญ สมาธิ : เมื่อเราทำงานร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหา ก็สามารถผ่านไปได้ เรื่องใหญ่ก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก เมื่อก่อนไม่มีน้ำจากชลประทาน ใช้น้ำจากธรรมชาติ ข้าวสายพันธ์ุเดิม เช่น หนุนห้อง พญาผักเซี้ยน ไข่มดริ้น และอีกหลายสายพันธ์ุแต่ไม่ได้บันทึกไว้ ชลประทาน : ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือชาวนา ในเรื่องหลักๆ คือน้ำ นอกเหนือจากน้ำก็มีเรื่องถนนหนทาง ชลประทานได้ดูแลเพื่อการขนส่งผลผลิต และพร้อมจะดูแลน้ำให้เพียงพอสำหรับการทำนาปรัง 19 ไร่ เกษตรตำบลปะเหลียน : จากการที่ผู้ปลูกข้าวอีก 60ไร่ ที่ปลูกจริง แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยืนยันว่าปลูกข้าวจริง แต่เนื่องจากข้าวไร่เป็นการใช้พื้นที่ของผู้อื่นการขึ้นทะเบียนเลยยุ่งยาก ไม่อยากขึ้นทะเบียน ผอ.อนงค์นาฏ ผอ.โรงเรียนบ้านหนองหว้า : จากการที่ได้พานักเรียนมาร่วมเกี่ยวข้าว เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร รู้ถึงวิธีการปลูก รู้จักพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกฝังให้นักเรียน อนุรักษ์ วิถีชุมชน และพัฒนาต่อยอดในอนาคต อ.ทวี สัตยาไชย ดีใจที่คนปะเหลียนได้ อนุรักษ์ที่นาผืนสุดท้ายของปะเหลียนไว้ และเป็นกำลังใจให้ผู้ปลูกข้าว ปลอดสารพิษ พัฒนาและมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากๆ ต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงาน 16 คน มีความเข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคีเครือข่าย เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ มีวิธีคิดวิธีทำงานที่เป็นระบบ
- ตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร มากกว่า 80% - มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้อบรม - บันทึกฐานข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบปีต่อไป 2.เกิดข้อตกลงร่วมกัน โดยมีเนื้อหาหลักคือ สมาชิกทุกไม่ใช้สารเคมี ไม่ว่ายาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง ไม่ยกเว้นแม้ผ่าน GAP ก็ตาม ผู้ใช้สารเคมีไม่สามารถร่วมขายผลผลิตกับกลุ่มได้ -ได้รับความร่วมมือจาก พัฒนาที่ดิน ไถกลบตอซัง, กรมการข้าว พันธุ์ข้าวกก.ละ 3 บาท,เกษตรอำเภอปะเหลียนร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์,ดูแลโรคพืช,วางแผนการปลูก ชลประทาน น้ำทำนาปรัง สถาบันวิจัย อนุเคราะห์ แหนแดง 3. เพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว จาก 56.59 ไร่ 131.5 ไร่ เก็บเมล็ดพันธ์ุ (เลียง) เพียงพอ สำหรับ 87 ไร่ สำหรับฤดูกาลหน้า มีแนวเพิ่มผลผลิต โดยวิธีการใช้แหนแดง เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน 4. พัฒนาผลิตภันฑ์ มีการแปรรูป ข้าวม้าว ข้าวอวน น้ำนมข้าว การทำซูชิ ขนมจาก ข้าวหลาม พัฒนาแพ็คเก็จที่สวยงามขึ้น มียอดขายเพิ่มขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ 5. ผู้บริโภคข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ได้รับมาตรฐาน GAP