โครงการความมั่นคงทางอาหาร ข้าวไร่ ตำบลเขาไพร

การจัดทำแปลง สาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับ ความมั่นคงทางอาหาร 2 แปลง2 สิงหาคม 2565
2
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหาร ให้แก่สมาชิกและกลุ่มผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้จำนวน 2 แปลง คือ แปลงที่ 1 ปลูกข้าวเจ้าหอมบอน ตำแหน่ง ม.1 บ้านลำช้าง ต.เขาไพร และแปลงที่ 2 ปลูกข้าวเหนียวดำ 73 ตำแหน่ง ม.2 โหล๊ะท่อม ต.เขาไพร โดยมีการทดลองแนวทางการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ต่อไร่เปรียบเทียบกับวิธีการปลูกแบบทั่วไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการไถ่ปรับสภาพดินทั้งสิ้น 2 แปลง โดยจัดกิจกรรม
1.การจัดแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหาร (หน่ำข้าว) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรรม 25 คน ประเด็น 1.การเปรียบเทียบปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวในหว่านและการหน่ำข้าว ซึ่งพบว่าการหน่ำข้าวใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่าประมาณ 7-9 กก.ต่อไร่ อาจเป็นผลมาจากต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากจึงไม่สามารถควบคุมประมาณเมล็ดที่ใช้ได้ แต่หากเป็นการหว่านจะใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกเพียงแค่ 4-5 กก.ต่อไร่เท่านั้น เนื่องจากการหว่านจะใช้ผู้เพียงคนเดียวจึงสามารถควบคุมปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ ซึ่งจากการประเมินจากผู้ทำข้าวไร่ พบว่า การหน่ำ ต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง ซุึ่งลักษณะการแตกกอข้าวน้อย ส่งผลต่อปริมาณด้านผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่ที่น้อยกว่าการหว่านข้าว เนื่องด้วยในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยี เครื่องจักรกลที่ทันสมัย การปรับสภาพดิน จึงเหมาะสำหรับการหว่านมากกว่า จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าการแทงสัก (หน่ำข้าว) เป็นวิธีการปลูกข้าวไร่แบบดังเดิมที่เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่ที่เครื่องจักรไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการวิธีการปลูกข้าวในปัจจุบันเมื่อคำนวณถึงความคุ้มทุนต่อผลผลิตที่ได้
2. การจัดแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหาร (เกี่ยวข้าว) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรรม 23 คน และมีวิทยากร คือ นายสมพงษ์ อุ่นสุข บรรยายในประเด็น 1.อายุของการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ในปีถัดไป ซึ่งพบว่าต้องเพิ่มเวลาการเก็บเกี่ยว 7 วันหลังจากที่ต้นข้าวออกรวงเต็มที่ อาทิ หากต้นข้าวมีอายุการเจริญเติบโตที่ 110 วัน การเก็บเกี่ยวควรอยู่ในช่วงวันที่ 117 ของการเพาะปลูก เพื่อให้ข้าวได้สุกงอมอย่างเต็มที่ และสังเกตจากสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม โดยหากฝนตกต้องเลื่อนการเก็บเกี่ยวออกไปเนื่องจากความชื้น และส่งผลต่อคุณภาพการงอกของข้าว แต่หากมีแดดร้อนเหมาะสมสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ตามระยะเวลา 2.การเก็บรักษาพันธุ์ข้าว หลังจากการเก็บเกี่ยว โดยโรงเก็บต้องปลอดความชื้น มีแสงเข้าถึง อากาศถ่ายเท แนะนำว่าให้เก็บพันธุ์ข้าวไว้ทั้งรวงจะดีกว่าการเก็บเป็นเมล็ด