โครงการความมั่นคงทางอาหาร ข้าวไร่ ตำบลเขาไพร

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 31 สิงหาคม 2565
1
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 เพื่อเตรียมงานและติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมการจัดทำแปลงสาธิตการเรียนรู้ข้าวไร่ ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.2 ต.เขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน ประกอบด้วย 1.นางกัญญ์วรา บุญชากร 2.นางสาวนิโส หนูจันทร์ 3.นายนิรันดร์ หมีทอง 4.นางศุภลักษณ์ ทองสงค์ 5.นายประดิษฐ์ อั้นนาตรี 6.นางอารมย์ เภอรักษ์ 7.นางโสภา ก่อสกุล 8.นางบุญมี พรหมคณะ 9.นายอนันต์ บุญชากร 10.นายประสิทธิ์ แทนสุวรรณ 11.นางวรรณา หนูแดง 12.นายพะยอม ทองสงฆ์ และนางพัชรี แทนสุวรรณ ซึ่งได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการแปลงสาธิตกับกลุ่มเครือข่ายคนทำข้าวไร่ ในประเด็น 1.การจัดการแปลง การดูแล และการใส่ปุ๋ย ซึ่งพบว่าการดูแลจัดการได้ให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช เช่น เพลี้ย แมลงสิงค์ หนอน ฯลฯ โดยใช้ประสบการณ์และความเข้าใจ ซึ่งการกำจัดวัชพืชพวกเถาวัลย์ที่ขึ้นไต่ตามต้นข้าวที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว โดยใช้มีดสับโค่นวัชพืช จะไม่ใช้วิธีถอน เนื่องจากรากของวัชพืชเมื่อถอนแล้วส่งผลกระทบต่อข้าวไร่ที่ปลูกด้วย เพราะหญ้าและข้าวจัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกเช่นเดียวกัน ความยาวและการปกคลุมของรากที่ผิวดินจึงมีความใกล้เคียงกันจึงอาจเกิดความเสียหายต่อต้นข้าวได้ ซึ่งการกำจัดวัชพืชจะใช้เวลา 2 ช่วงของการเจริญเติบโตข้าวไร่ 110-115 วัน คือ 1.ช่วงหลังจากหว่านข้าวลงดิน (เดือนกรกฏาคม) ระยะเวลา 1 เดือน/สูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร 2.ช่วงข้าวตั้งกอพร้อมที่จะออกรวง (เดือนกันยายน) อีกทั้งการใส่ปุ๋ยข้าวไร่ จะให้ในช่วงก่อนข้าวตั้งท้อง หลังจากกำจัดวัชพืชเสร็จในครั้งที่ 1 (หลังจากหว่านเมล็ดลงดิน ประมาณ 30 วัน) โดยจะใช้ปุ๋ยชีวภาพที่หมักและจัดทำกันเองในเครือข่ายกลุ่มทำข้าวไร่ ที่ใช้ส่วนประกอบของสมุนไพรที่มึนเมา คือ สะเดา พริก และยาเส้น