โครงการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 (น้ำจิ้ม) บ้านศาลาเชือก

ประชุมคืนข้อมูลการดำเนินงานร่วมการภาคีในพื้นที่และสรุปกิจกรรมตลอดมา7 กรกฎาคม 2566
7
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย abdul-aziz007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่7 ก.ค. 66 เวลา 09.00 น. คณะทำงานพร้อมนายมะยูนัน มามะ ครูพีเลี้ยง และผู้เข้าร่วมโครงการ ณ อาคารอเนกประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมคืนข้อมูลการดำเนินงานร่วมการภาคีในพื้นที่และสรุปกิจกรรมตลอดมา ได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายทุกคนพร้อมกัน ณ อาคารอเนกประสงค์โดยมีนายอับดุลอาซิซ โตะเดร์ ประธานกล่าวต้อนรับและชี้แจงกิจกรรมคร่าว จากนั้นนายมะยูนัน มามะ ครูพีเลี้ยงได้ทำการสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา -บันไดผลลัพธ์1.เกิดคณะทำงานและมีความเข้าใจโครงการ ผลที่เกิดขึ้นเกิดคณะทำงานและกลุ่มเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็นวงกลม เพื่อสอบถามและสรุประยะเวลาดำเนินงานแต่ละคน -ผลลัพธ์ที่2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่เกิดกลุ่มเป้าหมาย30 คน มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือนจากการอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนทั้ง30คน เข้าใจการวางแผนการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน มีกลุ่มเป้าหมาย30คนมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมจากการเก็บข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน นำมาวิเคราะห์ ประเมินผล คืนข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน
-ผลลัพธ์ที่3 .เกิดเครื่องมือกลไก การบริหารจัดการกลุ่ม ผลลัพธ์ที่เกิดมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เกิดการดำเนินงานโครงการ 1 กลุ่มตามแผนออม สมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน / รายสัปดาห์ ( 10 วันครั้ง หรือเดือนละ 1 ) เดือนละ 30 บาทหรือสัปดาห์ละ10 บาทผู้เก็บเงิน คือ เหรัญญิก และมีสมุดจดบันทึกรายคน กฎระเบียบการจัดการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนตามแผนออม ดังนี้ สมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน / รายสัปดาห์ ( 10 วันครั้ง หรือเดือนละ 1 ) เดือนละ 30 บาทผู้เก็บเงิน คือ เหรัญญิก และมีสมุดจดบันทึกรายคน กลุ่มเป้าหมาย30คนสมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน ( เดือนละ ครั้ง ) เดือนละ 30 บาท และมีสมุดจดบันทึกรายคน กลุ่มเป้าหมาย30คนมีทักษะการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือน โดยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ทำเครื่องเองลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เรียนรู้กระบวนการทำบัญชีครัวเรือน แยกคำว่าจำเป็น ต้องการทำให้สามารถลดหนี้สินลดน้อยลง จ่ายตามเวลา -ผลลัพธ์ที่4.เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน ผลที่เกิดกลุ่มเป้าหมาย30คน มีรายได้ และจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นและมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงินตนเองทำให้สามารถลดหนี้สินลดน้อยลง จ่ายตามเวลา สรุปปัญหา อุปสรรคจากการดำเนินกิจกรรมตอดทั้งปี และเปิดตัวผลิตภัณฑืที่เกิดขึ้นจากกลุ่มออมทรัพธ์ และผลิตภัณฑ์โอท๊อป โดยการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้เกี่ยวการดำเนินงาน จากนั้นคณะทำงาน และกลุ่มเป้าทุกคนร่วมกันถอดบทเรียนจากสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่เข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์ และเชิญชวนให้เข้าร่วมกลุ่มออมทรัพธ์ฯ และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในอนาคต โดยการกำหนดวิธีการหาช่องทางการตลาดเพื่อขายสินค้าให้เกิดรายได้ต่อไปให้กับกลุุ่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มแม่บ้านมีทักษะอาชีพในการแปรรูปทำผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มได้สำเร็จ
  2. มีเครือข่ายในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เพิ่มขึ้น
  3. กลุ่มแม่มีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลักและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองที่ดี