โครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง ต.โคกโพธิ์

งบ สสส.สนับสนุนค่าพาหนะเดินทาง อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน19 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย mareekah_hwangji
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน ณ โรงแรมปาร์อินทาวด์ ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและให้ความในรู้โดย คุณนฤมล ฮะอุระ ประเด็นที่1.เรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพ องค์ประกอบความรู้ทางสุขภาพ 6 ด้าน ได้แก่ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ เป็นการปฏิบัติตนจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเข้าใช้บริการสุขภาพ เช่นการค้นหาข้อมูลจาก เว็บไซต์ FacebookและTikTok 2.ความรู้ ความเข้าใจ เป็นการค้นหาข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการดูแลตนเองและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 3.ทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูด อ่านและเขียนเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกต้อง โน้มน้าวให้ผู้อื่นได้ข้อมุลที่ถูกต้อง 4.ทักษะการจัดการตนเอง เป็นการวิเคราะห์ ทำตามเป้าหมายตามแผนที่กำหนดในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 5.ทักษะการตัดสินใจ เป็นการกำหนดทางเลือก การเลี่ยงวิธีการที่ไม่เหมาะสม การใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียและการเกิดผลกระทบน้อยที่สุด 6.การรู้เท่าทันสื่อ เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่สื่อนำเสนอ เข้าสู่เเนื้อหาประเด็นที่2.เป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมความเสี่ยงจากอาชีพ การทำงาน โดยให้ผู้เข้าร่วมแต่ละโครงการอธิบายความเข้าใจในประเด็นอาชีพ อะไรคือความเสี่ยงและภัยคุกคาม และการลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยตัวเองนั้นควรปฏิบัติอย่างไร ซึ่งผู้เข้าร่วมได้ยกตัวอย่างได้แก่ อาชีพ ทำนา ทำสวน สวนปาล์มและค้าขาย เสี่ยงต่อการปวดเมื่อย การปรับพฤติกรรมคือต้อง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หมั่นตรวจสุขภาพ บริหารข้อมือ และเรียนรู้เทคนิคการดูแลสุขภาพรวมถึงการออกกำลังกายเป็นต้น ประเด็นที่3.การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ จากแหล่งสืบค้นข้อมูลแอปพลิเคชั่นในการติดตามสุขภาพ รู้เรื่องสิทธิช่องทางรับบริการตรวจรักษา บริการส่งเสริมป้องกันโรคและการร้องเรียน ประเด็นที่4.ความเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น การอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อสามารถป้องกันโรคระบาด รู้จักคุณประโยชน์ของอาหาร มีการบันทึกสุขภาพตนเองและครอบครัวและการจับประเด็นข่าวสารสุขภาพได้ ประเด็นสุดท้ายคือการโต้ตอบ ซักถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ เช่นการบอกเล่าอาการเจ็บป่วยได้ การซักถาม ประเมินก่อนตัดสินใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ อสม.และเจ้าหน้าที่ได้และชุมชนมีการทำแผนเกี่ยวกับสุขภาพ
เวลา 13.00น.  นายสุวิทย์ หมาดอะดำ ได้ให้ความรู้ด้านการเงิน ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ เช่น การจัดงบประมาณการใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวในภาพรวม เป้าหมายความรอบรู้ทางการเงิน เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงิน การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานที่จะเกิดขึ้น เคล็ดลับจัดการเงินให้พอใช้และเหลือเก็บออม การวางแผนและติดตามแผนการใช้เงิน กิจกรรมต่อมาชวนคิดหัวข้อเรื่อง เงินหายไปไหน อะไรที่ไม่จำเป็นแต่ซื้อบ่อย เงินที่จ่ายซื้อต่อครั้ง ซื้อบ่อยแค่ไหนและใน 1ปีจ่ายไปเป็นเงินเท่าไหร่  สรุปแนวทางการจัดการการเงินครัวเรือนโดยให้ข้อคิดสำหรับการจัดทำแผน/เป้าหมายทางการเงินในครัวเรือน ได้แก่การออม ไม่ฟุ่มเฟือย เก็บเงินสดไว้แค่พอใช้จ่าย การรู้ถึงโทษของหนี้ ลดจำนวนวันที่ไปห้างและตลาดนัดโดยกำหนดเป็นวันจัดกิจกรรมของครอบครัว ช่วยกันปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกียวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
มีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการร่วมทดสอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพและการเงิน ผู้รับผิดชอบโครงการให้ความร่วมมือและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตลอดการอบรม