โครงการหลาด 100 ปี สุขภาพดี วิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

กิจกรรมที่ 12 พัฒนาศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ และพัฒนาปรับภูมิทัศน์ สร้างร้านค้าผักปลอดภัยในชุมชน6 กรกฎาคม 2566
6
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางเตือนจิต ศรีสวัสดิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 34 คน
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ และพัฒนาปรับภูมิทัศน์ สร้างร้านค้าผักปลอดภัยในตลาดชุมชนวัดคูเต่า 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 8.00 -16.00 น. ณ ตลาดนัด 100 ปี วัดคูเต่า ม.3 และแหล่งเรียนรู้ปลูกผัก ใน ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางเตือนจิต ศรีสวัสดิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเลือกแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรวิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม จากผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน เมื่อคณะทำงานได้พิจารณาแล้ว ได้เลือก 4 แหล่ง ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ในอนาคต ที่เป็น แหล่งเรียนรู้ปลูกผักปลอดภัย 1. นางสาวจำเนียร กุลนิล หมู่ 3 2. นายธวัช จินดาดำ หมู่ 5 3.นางยุวดี อินทนิล หมู่ 2 4. นางสมคิด พันคง หมู่ 1 ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
การพัฒนาตลาดชุมชน เกิดจากความต้องการของชุมชนในการซื้อขายสินค้าและบริการใกล้บ้าน เช่น การต้องการซื้อสินค้าจากร้านค้าในพื้นที่ใกล้เคียง หรือความต้องการในการส่งเสริมการค้าในชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาตลาดชุมชนยังอาจเกิดจากความร่วมมือของธุรกิจในพื้นที่ท้องถิ่นที่เชื่อมต่อกันเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการขายสินค้าและบริการในระดับชุมชน อาจเป็นการร่วมกันสร้างพื้นที่ตลาดร่วมในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาตลาดชุมชนยังอาจเกิดขึ้นจากนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม เช่นกันที่อยากเห็นร้านค้าในตลาดที่ขายผักปลอดภัย และเป็นการ่วมมือสนับสนุนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ของตำบลแม่ทอม เป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาตลาดชุมชน เป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆในการทำธุรกิจและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น พร้อมทั้งเกิดความมั่นใจ ของผู้บริโภคที่จะได้ผักที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมีเจือปน
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชนเกษตรกรและผู้สนใจที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชนเกษตรกรและผู้สนใจที่สนใจในเรื่องนี้ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ยังสามารถมีองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะให้กับชุมชนเกษตรกรและผู้สนใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ อาจเป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชนที่ให้การสนับสนุนทางการเงินหรือทรัพยากรที่ช่วยส่งเสริมให้แหล่งเรียนรู้ ดังกล่าวสามารถเติบโตและเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ได้ ในอนาคต