โครงการหลาด 100 ปี สุขภาพดี วิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

กิจกรรมที่ 13 ประชุมถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงาน23 กรกฎาคม 2566
23
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางเตือนจิต ศรีสวัสดิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอบบทบาทหน้าที่ให้คณะทำงานดำเนินการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการจัดประชุม ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 41 คน  ร่วมด้วยทางสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ และนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลามาเรียนรู้ชุมชน กระบวนการดำเนินโครงการที่ผ่านมาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนอย่างยั่งยืน
เวที่ประชุมถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ หลาด 100 ปี สุภาพดี วิถีชุมชน
23 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.00 -16.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ริมคลองอู่ตะเภา ม.3 ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางเตือนจิต ศรีสวัสดิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงในกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ณ วันนี้
ผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน
คณะกรรมการพิจารณาแหล่งเรียรู้ 4 แหล่ง ประกอบด้วย1. นางสาวจำเนียร กุลนิล หมู่ 3 2. นายธวัช จินดาดำ หมู่ 5 3.นางยุวดี อินทนิล หมู่ 2 4. นางสมคิด พันคง หมู่ 1 ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ร้านค้าในตลาดนัด 100 ปี วัดคูเต่าที เป็นร้านที่เข้าร่วมโครงการ 8 ร้าน คลิป วี ดี โอ ที่เริ่มโครงการและสิ้นสุดโครงการ 3 คลิป สามารถดูได้จาก เพจหลาด 100 ปี สุขภาพดีวิถีชุมชน ต.แม่ทอม
ได้จดแจ้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชื่อวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์สุขภาพตำบลแม่ทอม กับทางสำนักงานเกษตร อำเภอบางกล่ำ การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสมาชิก ทัศนะในการปลูกผักปลอดภัยนั้นได้เปลี่ยนไป เข้าใจกระบวนการที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แนวคิดทางระบบ และนวัตกรรมในการจัดการความปลอดภัย การเปลี่ยนแปลงรูปธรรมของการปลูกปลอดภัยอาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเข้ามาช่วยในการตรวจจับและป้องกันอันตราย การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมที่ทันสมัยและการเสริมสร้างความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยก็เป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ การปรับปรุงข้อกำหนดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเพื่อทำให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลง และการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาด การวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการที่ไม่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์อันตรายในอนาคตเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรในกระบวนการปลูกปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงรูปธรรมด้วย และ การตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปลูกปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจว่ามีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการปลูกปลอดภัยเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถทำงานอย่างเหมาะสมและปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม สำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ พัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำ และที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ ทางนายอำเภอ กำหนดเป็นนโยบายการปลูกผักปลอดภัย ของอำเภอบางกล่ำ มหาวิทยาลัยฯต่างๆ ที่ส่งนักศึกษาต่างๆมาเรียนรู้ชุมชน มีแผนการพัฒนา ต่อเนื่องโดย ทางกลุ่มวิสาหกิจคนรักษ์สุขภาพตำบลแม่ทอม ได้เสนอโครงการ การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ ปฎิทินการปลูกผักตำบลแม่ทอม แผนที่พื้นที่ปลูกผักปลอดภัยในตำบลแม่ทอม 31 พื้นที่ ลิ้งคลิปกิจกรรม เพจ หลาด 100 ปี สุขภาพดีวิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม : https://www.facebook.com/profile.php?id=100086160560881