โครงการตลาดปลายนิ้ว " ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว

กิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน ร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.19 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย TheBest_Fingertip_Market
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันเสาร์ ที่ 19 พฤศจิการยน  2565 เวลา กิจกรรม 08.30 – 09.00 น.  ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมอบรม รับเอกสารการอบรม 09.00 – 09.30 น.  กล่าวต้อนรับและหัวหน้าโครงการ ชี้แจง วัตถุประสงค์และเป้าหมายกิจกรรม โดย นางนฤมล ฮะอุรา 09.30 – 11.00 น.  บรรยาย กรอบแนวคิดและการประยุกต์เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy โดย นางนฤมล ฮะอุรา 11.00 – 11.15 น.  รับประทานอาหารว่าง 11.15 – 12.00 น.  แบ่งกลุ่มย่อยทำความเข้าใจแบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และฝึกทำแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 12.00 – 13.00 น.  รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 14.30 น.  แบ่งกลุ่มย่อยตามจังหวัด สะท้อนผลการทำงานโครงการ ช่วงที่ 1 14.30 – 15.30 น.  บรรยาย กรอบแนวคิดและการประยุกต์เกี่ยวกับความรอบรู้ทางการเงินระดับครัวเรือน โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ 15.30 – 15.45 น.  รับประทานอาหารว่าง 15.45 – 16.30 น.  แบ่งกลุ่มย่อยทำความเข้าใจแบบประเมินความรอบรู้ทางด้านการเงินครัวเรือน และฝึกทำแบบประเมินความรอบรู้ด้านการเงิน 16.30 – 17.30 น.  แกนนำโครงการออกแบบกิจกรรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมายในโครงการ พร้อมนำเสนอแลกเปลี่ยน 17.30 น. เป็นต้นไป  พักรับประทานอาหารและเดินทางกลับ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานผลการจัดกิจกรรม อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน  พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 โครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ สนับสนุนโดย สำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. ณ โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย  ตัวแทนแกนนำเครือข่ายโครงการต่างๆในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
วัตถุประสงค์ เพื่อให้แกนนำโครงการมีความรอบรู้และความเข้าใจในหัวข้อต่อไปนี้ 1. กรอบแนวคิดและการประยุกต์เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2. กรอบแนวคิดและการประยุกต์เกี่ยวกับความรอบรู้ทางการเงินระดับครัวเรือน 3. แนวทางการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน เพื่อการนำไปใช้ในการจัดการโครงการ

ขั้นตอนการทำกิจกรรม วันเสาร์ ที่ 19 พฤศจิการยน  2565 เวลา กิจกรรม 08.30 – 09.00 น.  ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมอบรม รับเอกสารการอบรม 09.00 – 09.30 น.  กล่าวต้อนรับและหัวหน้าโครงการ ชี้แจง วัตถุประสงค์และเป้าหมายกิจกรรม โดย นางนฤมล ฮะอุรา 09.30 – 11.00 น.  บรรยาย กรอบแนวคิดและการประยุกต์เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy โดย นางนฤมล ฮะอุรา 11.00 – 11.15 น.  รับประทานอาหารว่าง 11.15 – 12.00 น.  แบ่งกลุ่มย่อยทำความเข้าใจแบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และฝึกทำแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 12.00 – 13.00 น.  รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 14.30 น.  แบ่งกลุ่มย่อยตามจังหวัด สะท้อนผลการทำงานโครงการ ช่วงที่ 1 14.30 – 15.30 น.  บรรยาย กรอบแนวคิดและการประยุกต์เกี่ยวกับความรอบรู้ทางการเงินระดับครัวเรือน โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ 15.30 – 15.45 น.  รับประทานอาหารว่าง 15.45 – 16.30 น.  แบ่งกลุ่มย่อยทำความเข้าใจแบบประเมินความรอบรู้ทางด้านการเงินครัวเรือน และฝึกทำแบบประเมินความรอบรู้ด้านการเงิน 16.30 – 17.30 น.  แกนนำโครงการออกแบบกิจกรรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมายในโครงการ พร้อมนำเสนอแลกเปลี่ยน 17.30 น. เป็นต้นไป  พักรับประทานอาหารและเดินทางกลับ


ผลจากการดำเนินกิจกรรม 1. ทางแกนนำโครงการฯ มีความรอบรู้ความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการจัดการตนเอง และสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพแก่ผู้อื่นได้ 2. ทางแกนนำโครงการฯ มีความรอบรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบความรอบรู้ทางสุขภาพทั้ง 6 ด้าน - การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ คือ ความสามารถในการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพ เกี่ยวกับการปฏิบัติตน จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และเข้าใช้บริการสุขภาพ - ความรู้ ความเข้าใจ คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ที่นำมาใช้ในการดูแลตนเอง นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง -ทักษะการสื่อสาร คือ ความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการพุด การอ่าน การเขียน ให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกต้อง โน้มน้าวให้ผู้อื่นได้ข้อมูลที่ถูกต้อง - ทักษะการจัดการตนเอง คือ ความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย ทำตามแผนที่กำหนดในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง - ทักษะการตัดสินใจ คือ ความสามารถในการกำหนดทางเลือก เลี่ยงวิธีการที่ไม่เหมาะสมใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย เกิดผลกระทบน้อยที่สุด - การรู้เท่าทันสื่อ คือ ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่สื่อนำเสนอ 3. ทางแกนนำโครงการฯ ได้มีความรอบรู้เกี่ยวกับ การลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยตนเอง โดยการ ปรับพฤติกรรม ปรับวิธีการทำงาน และปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4. ทางแกนนำโครงการฯ เกิดความรอบรู้ทางด้านการเงิน คือ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ เช่น การจัดงบประมาณ การใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว

ข้อเสนอแนะ 1. เวลาอบรมน้อย หมดเวลาไปกับการเดินทาง 2. อาหารอร่อย