โครงการตลาดปลายนิ้ว " ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว

เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์29 มกราคม 2566
29
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย TheBest_Fingertip_Market
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม : กิจกรรม เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์ วันที่ปฏิบัติ : วันที่ 29 มกราคม 2566 สถานที่ประชุม : ณ สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ อำเภอจะนะ ( จะณะแบ่งสุข ) วาระการประชุม : 1. ชี้แจง โครงสร้างคณะทำงาน ตลาดปลายนิ้ว 2. ชี้แจง สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 30 คน 3. วิเคราะห์ บันไดผลลัพธ์ กับกิจกรรมที่ผ่านมาในระยะเวลา 6 เดือน 4.ข้อตกลงร่วมของคณะทำงานโครงการ 5. กิจกรรมหลักที่สำคัญ รวมถึง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงมือทำโครงการนี้ จำนวนผู้เข้าร่วม : คณะทำงานและสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม :
เพื่อสะท้อนผลลัพธ์จากพัฒนาการดำเนินกิจกรรมของคณะทำงาน ตลาดปลายนิ้ว “ซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา” ง่ายแค่ปลายนิ้ว

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1. พี่เลี้ยงทางโครงการฯ ชี้แนะ พูดคุย กับแกนนำโครงการ วิธีการขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์ของโครงการฯ ในระยะเวลา 6 เดือน 2. นายสุวิระ โกสม เชิญกลุ่มเป้าหมายและกำหนดเนื้อหา
3. นายสุวัจน์ มุสิการัตน์ ติดต่อสถานที่,จัดเตรียมสถานที่ ดูแลเรื่องเอกสารลงทะเบียน,เอกสารการเงิน , ถ่ายภาพกิจกรรม 4. นางจินตหรา มุสิการัตน์ ดูแลเรื่องอาหารและแนะนำโครงการ,วัตถุประสงค์,ชี้แจงกระบวนการทำงาน 5. นายสุวิระ โกสม แนะนำแพลตฟอร์มออนไลน์ , ขั้นตอนการนำผลิตภัณฑ์ขึ้นจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์
6. นายอุบัยดิลละห์ หาแว พี่เลี้ยงโครงการฯ สรุป ปิดเวที ARE สะท้อนผลลัพธ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานผลการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม : กิจกรรม เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์

วันที่ปฏิบัติ : วันที่ 29 มกราคม 2566

สถานที่ประชุม : ณ สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ อำเภอจะนะ ( จะณะแบ่งสุข )

วาระการประชุม :

  1. ชี้แจง โครงสร้างคณะทำงาน ตลาดปลายนิ้ว
  2. ชี้แจง สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 30 คน
  3. วิเคราะห์ บันไดผลลัพธ์ กับกิจกรรมที่ผ่านมาในระยะเวลา 6 เดือน
  4. ข้อตกลงร่วมของคณะทำงานโครงการ
  5. กิจกรรมหลักที่สำคัญ รวมถึง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงมือทำโครงการนี้

จำนวนผู้เข้าร่วม : คณะทำงานและสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม : เพื่อสะท้อนผลลัพธ์จากพัฒนาการดำเนินกิจกรรมของคณะทำงาน ตลาดปลายนิ้ว “ซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา” ง่ายแค่ปลายนิ้ว

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

  1. พี่เลี้ยงทางโครงการฯ ชี้แนะ พูดคุย กับแกนนำโครงการ วิธีการขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์ของโครงการฯ ในระยะเวลา 6 เดือน
  2. นายสุวิระ โกสม เชิญกลุ่มเป้าหมายและกำหนดเนื้อหา
  3. นายสุวัจน์ มุสิการัตน์ ติดต่อสถานที่,จัดเตรียมสถานที่ ดูแลเรื่องเอกสารลงทะเบียน,เอกสารการเงิน , ถ่ายภาพกิจกรรม
  4. นางจินตหรา มุสิการัตน์ ดูแลเรื่องอาหารและแนะนำโครงการ,วัตถุประสงค์,ชี้แจงกระบวนการทำงาน
  5. นายสุวิระ โกสม แนะนำแพลตฟอร์มออนไลน์ , ขั้นตอนการนำผลิตภัณฑ์ขึ้นจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์
  6. นายอุบัยดิลละห์ หาแว พี่เลี้ยงโครงการฯ สรุป ปิดเวที ARE สะท้อนผลลัพธ์

ผลการการดำเนินกิจกรรม ARE กิจกรรมสะท้อนผลลัพธ์ “โครงการตลาดปลายนิ้ว”

โครงสร้างคณะทำงาน

  • นายสุวิระ โกสม ผู้รับผิดชอบโครงการ มีหน้าที่ บริหารโครงการ มอบหมาย กำหนดวันทำกิจกรรม ติดตามงาน ตรวจรายงานการประชุม
  • นางจินตหรา มุสิการัตน์ เลขานุการ มีหน้าที่ บริหารโครงการ ประสานงานดำเนินงานของกิจกรรมและบุคคลที่เกี่ยวข้อง บันทึกรายงานการประชุม
  • นายสุวัจน์ มุสิการัตน์ การเงิน มีหน้าที่ ดูแลงานการเงินโครงการ งานบัญชีและงบจัดกิจกรรม งานตรวจสอบ
  • นางสาวสายฝน ชุมมิ่ง ประสานงาน มีหน้าที่ ประสานงาน กลุ่มเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมสถานที่การประชุมและสถานที่จัดกิจกรรมโครงการ

สมาชิกกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 30 คน ดังนี้

  1. นางติ๊ว ภูมิพัฒน์
  2. นายณรงค์ ปทุมสินธุ์
  3. นายนิเล๊าะ นิมะ
  4. นางมิน๊ะ แฉ๊ะ
  5. นางสาวเธียรรัตน์ แก้วนะ
  6. นางสาววีร์ธิมา ศักดิ์ศฤงคาร
  7. นางชื่นใจ บัวหนู
  8. นางกาญจนา หนูคง
  9. นางภาณี ทองนุ้ย
  10. นางพรทิพย์ ปานซ้าย
  11. นายสามารถ ระมัญบากา
  12. นายอดุล ปานเส็ม
  13. นายดนหลีม สุนทรมาลาตี
  14. นายด้นรอเฉต สีหัด
  15. นางเฉลียว บุญทอง
  16. นายไสโฝด หลีขาหรี
  17. นายพิเชฐ ล่าบู
  18. นายอำนาจ ขวัญทอง
  19. นางสาวประคอง อุทัยรัตน์
  20. นางชนิดาภา ขวัญทองยิ้ม
  21. นางอุษณี รักษ์ทอง
  22. นางศุภรา หนูเอียด
  23. นางหนูหลั่น แก้วคง
  24. นางอริสา ทองแก้ว
  25. นางปฐมพร ทุ่มสุวรรณ
  26. นายเจะปิ อนันทบริพงษ์
  27. นางนูรัยนันท์ อนันทบริพงษ์
  28. นางนูรี โต๊ะกาหวี
  29. นางอัสมา ยาเล๊าะ
  30. นางสาวนงนุช ทองเม๊าะ

กิจกรรม

  1. ประชุมชี้แจงและตั้งคณะทำงาน พื้นที่เป้าหมาย 6 ตำบล เชิญภาคีเครือข่ายร่วมเป็นคณะทำงาน และอบรมให้ความรู้เรื่อง บัญชีครัวเรือน
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง
  3. กิจกรรมทำปฏิทินการผลิต และวางแผนการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล
  4. กิจกรรมร่วมวางแผนการตลาด ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์รูปแบบการจำหน่ายสินค้าแต่ละประเภท
  5. กิจกรรมพัฒนาทักษะการขาย เทคนิคการขายเพื่อเป็นแรงบัลดาลใจในการออกแบบช่องทางการขาย
  6. กิจกรรมพัฒนาระบบร่วมกับพื้นที่และภาคีเครือข่าย
  7. ทำแผนประชาสัมพันธ์ โครงการและผลิตภัณฑ์
  8. กิจกรรมเก็บข้อมูลผู้ผลิต ผู้บริโภคและมูลค่าการขาย
  9. กิจกรรมพัฒนาทักษะและรูปแบบการขายอย่างมืออาชีพ
  10. กิจกรรมถอดบทเรียนเพื่อเรียนรู้และสรุปผลดำเนินงาน

ผลลัพธ์

  1. เกิดเป็นอาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้
  • มีกลไกการทำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ และสามารถดำเนินธุรกิจ/กิจการได้ตามแผนที่วางไว้
  • แกนนำมีรายได้เฉลี่ย 7,000 บาท/คน/เดือน
  • กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีรายได้เฉลี่ย 3,000 บาท/คน/เดือน
  • กลุ่มภาคีเครือข่ายสามารถพัฒนาทักษะการขาย 2 ภาคีเครือข่าย
  • มีการรวมกลุ่มอาชีพในพื้นที่พร้อมจัดแผนการทำงาน
  • มีระบบการจัดการผลิตภัณฑ์และวางแผนทำ Stock สินค้า
  1. พัฒนาระบบ 2 รูปแบบ
  • ออกแบบและพัฒนาระบบเว็บไซต์ ซื้อ-ขาย ออนไลน์
  • นำสินค้าขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ประกอบด้วย เว็บไซต์ , Page Facebook , Instagram , Line Official ,Line Shop ,Tiktok
  1. มีข้อตกลงระบบการจัดการขนส่งสินค้าร่วมกับไปรษณีย์ไทย , Kerry , Flash และ J&T
  2. มีผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายตลอดทั้งปี
  3. มีสินค้าขึ้นขายบนแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่องรอบละไม่ต่ำกว่า 15 ชนิดสินค้า

    คณะทำงานที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนตลาดปลายนิ้ว และมีทักษะบริหารจัดการระบบหลังบ้านการจัดการการเงิน และมีความรอบรู้ทางสุขภาพเพิ่มขึ้น

  4. มีปฏิทินการผลิตอำเภอจะนะ 6 ตำบล

  5. มีแผนการทำงาน, กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อำเภอจะนะ 6 ตำบล
  6. มีแผนธุรกิจ โดยใช้ Model (Business Model Canvas) จากบริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด
  7. มีแผนการผลิต ตามพื้นที่เป้าหมาย และตามฤดูกาลในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย (รายละเอียดย่อยเฉพาะผลิตภัณฑ์)

    ตัวชี้วัด

  8. มีคณะทำงานจำนวน 5 คน เข้าใจในระบบการจัดการตลอดจนขับเคลื่อนโครงการฯจนจบ

  9. มีเครือข่ายผู้ผลิต 6 ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ( จะนะแบ่งสุข , กลุ่มม้าเงย แปรรูปอาหาร , กลุ่มทอกกราชินี บ้านศาลาน้ำ , กลุ่มเครื่องแกง บ้านไร่, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน รักษ์ส้มจุกจะนะ , สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ (มอ.) )
  10. มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่คณะทำงานและภาคีเครือข่าย
  11. มีความรวบรู้ทางสุขภาพและการเงิน ร้อยละ 80


    ข้อตกลงร่วมของคณะทำงานโครงการ
  • คณะทำงานโครงการต้องมีการประชุมประจำเดือน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
  • คณะทำงานโครงการแบ่งบทบาทหน้าที่โครงสร้างการทำงานโครงการอย่างชัดเจน
  • คณะทำงานโครงการต้องเข้าร่วมทำกิจกรรมอย่างน้อย 80% ของกิจกรรม ตลอดทั้งโครงการ
  • คณะทำงานโครงการมีข้อตกลงร่วมกันอาสาทำกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมหลักที่สำคัญ

  • เวทีชี้แจงโครงการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม พร้อมจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ และอบรมให้ความรู้เรื่อง บัญชีครัวเรือนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าก่อนเริ่มโครงการ
  • ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงานของแต่ละเดือน มาปรับแก้ให้ได้ตามแผน เน้นแกนนำหลัก 5 คน
  • กิจกรรมทำปฏิทินการผลิต และวางแผนการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล เพื่อให้ทุกชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รู้ฤดูการผลิตสินค้า สามารถกำหนดแผนการผลิตให้ได้ตลอดทั้งปี ( วิทยากร : ทำกระบวนการปฏิทินการผลิต อำเภอจะนะ ในพื้น 6 ตำบล )
  • กิจกรรมวางแผนการจัดการตลาด ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์รูปแบบการจำหน่ายสินค้าแต่ละประเภท ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจการจัดการการตลาด ( วิทยากร : ให้ความรู้การทำแผนธุรกิจ ตั้งแต่แผนการผลิต แปรรูป และจำหน่าย )
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการขาย เทคนิคการขายเพื่อเป็นแรงบัลดาลใจในการออกแบบช่องทางการขาย ( วิทยากร : ให้ความรู้ทักษะการขาย เทคนิคการขาย วางแผนการทำ Stock สินค้า และการคิดคำนวณต้นทุนสินค้า )
  • กิจกรรมพัฒนาระบบขายออนไลน์และทำแผนประชาสัมพันธ์ โครงการและผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย ( วิทยากร : ให้ความรู้พัฒนาระบบขายออนไลน์และทำแผนประชาสัมพันธ์โครงการและผลิตภัณฑ์ )
  • กิจกรรมเก็บข้อมูลผู้ผลิตของแต่ละชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และผู้บริโภค มูลค่าการขาย
  • ถอดบทเรียนเพื่อเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินงานโครงการตลอดทั้งปี และภาคีร่วมรับฟัง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงมือทำโครงการนี้

  • เกิดแพลตฟอร์มออนไลน์ “ตลาดปลายนิ้ว” www.fingertipsmarket.com ความสำเร็จของตลาดปลายนิ้วจะไม่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
  • นักขายประจำกลุ่มเครือข่ายนั้นๆ ไม่สำเร็จ เกิดจาก สมาชิกภายในกลุ่มไม่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและด้านการทำประชาสัมพันธ์ การตลาดบนออนไลน์ กลุ่มเครือข่ายจึงมอบหมายงานขายออนไลน์ให้ทาง ตลาดปลายนิ้ว แต่เพียงผู้เดียว (สมาชิกในกลุ่มเครือข่ายมีความถนัดด้านการผลิต แต่ไม่ถนัดงานขาย)
  • ทางตลาดปลายนิ้วได้ทำข้อมูลผู้ผลิตในรูปแบบ One Page Report นอกเหนือจากกิจกรรมที่เขียนไว้ในโครงการ เพราะ เพื่อให้ผู้บริโภค หรือ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เห็นถึงที่มาและความสำคัญของกลุ่มเครือข่าย

สรุป เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์

  • ในระยะเวลา6เดือนที่ผ่านมาทางโครงการตลาดปลายนิ้ว ซื้อ - ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปายนิ้ว ได้ทำกิจกรรมตามแผน มากกว่าครึ่ง รวมถึงบันไดผลลัพธ์มันออกโจทย์เกือบทุกข้อ และทางตลาดปลายนิ้ว ได้ลงทำกิจกรรมมากกว่าครึ่งของโคงการ ณ ปัจจุบัน เกิดแพลตฟอร์มออนไลน์ที่แล้วเสร็จสมบูรณ์ สามารถเข้าใช้ได้ และในระหว่าง6เดือน มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ www.fingertipsmarket.com บ้างแล้ว
  • ในตัวกิจกรรม ต่างๆของตลาดปลายนิ้วใช้เวลา เป็นเวลานาน เนื่องจาก กลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตทั้ง 6 พื้นที่ทางตลาดปลายนิ้วต้องลงเก็บข้อมูลชุมชน แต่ละชุมชน กินเวลาไปหลายเดือน และทางตลาดปลายนิ้วต้องเป็นผู้นำกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มจนถึงการตกผลึกของข้อมูลออกมาเป็นชิ้นงานของแต่ละเครือข่าย ยกตัวอย่าง

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ส้มจุกจะนะ

  • ทางตลาดปลายนิ้ว ได้เข้าไปเปิดเวทีนำกระบวนการ ตั้งแต่ต้น เป็นตัวกลาง ตัวเชื่อมในวงคุยของกลุ่ม ช่วยในการเรื่องข้อมูลที่กระจัดกระจาย มารวมกัน กลุ่มได้ข้อมูลที่ชัดขึ้นกว่าเดิม และทำให้สมาชิกภายในกลุ่มได้มีประติสัมพันธ์มากขึ้น มีการสะท้อนปัญหาต่างๆ หรือเรื่องประชาสัมพันธ์ การดูแล ตลอดจนการนัดประชุมกลุ่ม ผ่านกลุ่มไลน์
    ข้อเสนอจากประธานกลุ่ม อยากให้มีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตใน อำเภอจะนะมาเจอกัน โดยให้จัดสถานที่ไปตามพื้นที่กลุ่มเครือข่ายผู้ผลิต หมุนเวียนกันไป วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ “จะณะแบ่งสุข”
  • ตั้งแต่โครงการตลาดปลายนิ้วเข้ามา ทางตลาดไบนิ้วได้ช่วยในการนำข้อมูลของกลุ่มออกมาสรุป เป็นข้อมูลปฏิทินการผลิตของกลุ่มได้ส่งชิ้น จะเป็นเรื่องหลักและเรื่องรอง เรื่องหลักในที่นี้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าว ต่างๆ และการนำข้าวมาแปรรูป ผลิตภัณฑ์ ส่วนในเรื่องรองจะเกี่ยวกับเรื่องผักปลอดสาร ทางตลาดปลายนิ้ว จะมีการส่งคืนข้อมูลให้กับกลุ่ม ในรูปแบบ One Page Report เป็นข้อมูลการผลิตที่เข้าใจง่าย
  • ทางกลุ่มมีการนำสินค้าไปขายในตลาดชุมชน โดยให้สมาชิกหมุนเวียนกันไปขาย และนอกเหนือจากข้าว ทางกลุ่มอยากให้นำสินค้าตัวอื่นขึ้นขายเพิ่มเติม พืช ผักผลไม้ และ ขนมจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์
  • ข้อเสนอแนะ จากสมาขิกในกลุ่ม นอกเหนือจากกิจกรรมแล้ว อยากให้มางตลาดปลายนิ้ว เข้าไปช่วยในเรื่องการคิดคอนเทน ทำคอนเทนในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์กลุ่ม

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอกกราชินีบ้านศาลาน้ำ

  • เกิดปัญหา ผนึกผลิตภัณฑ์ตามออเดอร์ของลูกค้า ไม่ทัน
  • ปี 64-65 กำลังการผลิตไม่ทันตามออเดอร์ลูกค้า ปลายปี 65 มีการเพิ่มทักษะด้านฝีมือ แต่ก็ยังไม่พอต่อความต้องการของลูกค้า
  • ขาดวัสดุหลัก ในการผลิตที่ต่อเนื่อง

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักผลไม้ปลอดภัย อำเภอจะนะ

  • ทางตลาดปายนิ้วได้เข้าไปช่วยในการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตในอำเภอจะนะเพิ่มขึ้น ทั้งห้างฯกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆในอำเภอจะนะได้ มาเจอกันพูดคุยกันแลกเปลี่ยนความรู้ ความถนัดของแต่ละชุมชน
    ทำให้เกิดการขยายเครือข่าย เปิดโอกาสให้ชุมชน กลุ่มวิสาหกิจ สมาชิกได้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น (ตลาดปลายนิ้ว เป็นตัวเชื่อมให้มาเจอกัน)

  • ระหว่างการดำเนินการทำกิจกรรมของโครงการ มีกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตที่สนใจเข้าร่วม เพิ่มอีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกรงนก จะนะ บางพรมม็คสวาท ในรูปแบบโมเดลย่อส่วน เป็นงานตกแต่ง ที่บ่งบอกลักษณะของกรงนกเขาชวาในอดีตของอำเภอจะนะ

  • กลุ่มปลาเส้น อาหารทะเลแช่แข็ง สนใจนำสินค้ามาขึ้นขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์