โครงการ การแปรรูปปลาสเตอรีไลซ์พร้อมทาน

พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ปลาสเตอรรีไลซพร้อมทาน ครั้งที่ 1 (ทดสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์)10 พฤษภาคม 2566
10
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Aminan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีการ  Total Plate Count ( In-housed method WI-QC-001, WI-QC002 อ้างอิงวิธีการมาตรฐาน USP / NF 36:2013 Chapter 61 Microbiological Examination of Non Sterile Products : Microbial Enumeration Tests)
1. โดยการเตรียมตัวอย่างผงเปลือกและเมล็ดลูกหยี ที่ผ่านการบดและนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อดันไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาทีที่ความดัน 15 ปอนด์
2. ชั่งมา 1 กรัม ต่อน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ 9 มิลลิลิตร
3. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ทำการเจือจางตัวอย่างเป็น 10 เท่า จนถึงระดับการเจือจาง 10-4 ทำการแยกเชื้อแบคทีเรียโดยการดูดตัวอย่างมา 1 มิลลิลิตรเลี้ยงในอาหาร PCA โดยเทคนิค  pour plate บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา24 ชั่วโมง 4. ทำการแยกเชื้อบนอาหาร PDA เพื่อทดสอบปริมารเชื้อราที่มีการปนเปื้อนในตัวอย่าง โดยทำการดูดตัวอย่างมา 1 มิลลิลิตร
5.ทำลักษณะเดียวกับการทดสอบปริมารเชื้อแบคทีเรียในอาหาร PCA ทำการบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ทำการนับโคโลนีเชื้อแบคทีเรียที่มีการเจริญเติบโตบันทึกผล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวอย่างการทดสอบ CFU/g วิธีการทดสอบ ปลาต้มส้ม 001 N
ปลาต้มส้ม 002 N
ปลาต้มส้ม 003 N
ทั้งสามตัวอย่างทำด้วยวิธีการ Total Plate Count ( In-housed method WI-QC-001, WI-QC002 อ้างอิงวิธีการมาตรฐาน USP / NF 36:2013 Chapter 61 Microbiological Examination of Non Sterile Products : Microbial จากการทดสอบไม่มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลาต้มส้ม หมายเหตุ : N ไม่มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลาต้มส้ม