โครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปและพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ศึกษาดูงาน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผิ้งชันโรงเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส19 พฤษภาคม 2566
19
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Suhaimee065
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกลุ่มและคณะกรรมการกลุ่ม ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงชันโรง ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผิ้งชันโรงเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
1. อบรมเสริมองค์ความรู้ให้กับกลุ่มชันโรงที่มาศึกษาดูงาน เรื่องการดูเเลรักษาชันโรง การต่อยอดผลผลิตของชันโรงหรือการเเปรรูปผลิตภัณฑ์ชันโรง เเละการบริหารจัดการกลุ่ม 2. ดูการทำงานของกลุ่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 น. ประธานกลุ่มและคณะกรรมการกลุ่ม ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงชันโรง ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผิ้งชันโรงเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ช่วงเช้าฟังบรรยายในหัวข้อ ชั้นโรงคืออะไร ลักษณะทั่วไปของชันโรง ลักษณะของชันโรง วรรณะของชันโรง วงจรชีวติของชันโรง แหล่งอาหารของชั้นโรง โดยวิทยากร นายวิสุทธิ์ สุวรรณ ประธานกลุ่มเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลองต่อ และในช่วงบ่ายฟังบรรยายกันต่อให้หัวข้อ ศัตรูของชันโรง วิธีการแยกขยายรังชันโรง ปริมาณตัวอ่อนที่เหมาะสมในการแยกขยายรังชันโรง การใช้ประโยชน์จากรังชันโรง ความรู้เรื่องการเลี้ยงชันโรง ชันโรง เป็นแมลงขนาดเล็กที่มีพฤติกรรมเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ และ ละอองเกสร (เรณู) มาใช้เป็น อาหารคล้ายผึ้งแต่ชันโรงไม่มีเหล็กใน จึงไม่สามารถ ต่อยได้ ในประเทศไทยเราสามารถพบชันโรงได้ในทุกภาค โดยมีชื่อเรียกแตกต่าง กันไปตามภูมิภาค เช่น ทางภาคเหนือเรียกชันโรงที่มีขนาดเล็กว่า แมลงขี้ตึง หรือ ตัว ขี้ตังนี แต่ถ้าเป็นชันโรงที่มีขนาดใหญ่จะเรียกว่า ขี้ย้า โดยเรียกว่า ขี้ย้าดำ หรือ ขี้ย้าแดง ตามสีของลำตัวของ ชันโรง ภาคใต้เรียกชันโรงขนาดเล็กว่า อุง หรืออุงแมลงโลม และเรียกชันโรงขนาดใหญ่ว่า อุงหมี (อุงแดง หรือ อุงดำ) ภาคตะวันตกเรียกตัวตุ้งติ้ง หรือตัวติ้ง จากพฤติกรรมการขนเกสรที่ขาหลัง ส่วนภาคตะวันออกเรียกชำ มะโรง หรือแมลงอีโลม ส่วนคำว่าชันโรงน่าจะเป็นชื่อที่เรียกจากพฤติกรรมการเก็บชันของ แมลงชนิดนี้
วิธีเลี้ยงชันโรงสำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่ เนื่องจากปัจจุบันนอกจากการใช้ผึ้งผสมเกสรพืชแล้วยังมีการใช้ชันโรงหรือผึ้งจิ๋วเข้ามาใช้ผสมเกสรด้วยโดยการ ปล่อยชันโรงผสมเกสรจะแม่นยํากว่าผึ้งและยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย วิธีการเริ่มต้นเลี้ยง แบบง่าย วัสดุ/อุปกรณ์ 1. กระถางดินเผา /กล่องไม้สำหรับเลี้ยงผึ้ง หรือยางรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว 2. พ่อแม่พันธุ์ชันโรง ขั้นตอน 1. นำวัสดุในการสร้างรังให้ชันโรง เช่นกระถางดินเผาคว่ำลงให้เหลือทางออกทางเดียวหรือยางรถยนต์ ซ้อนกันหลาย ๆ เส้น หรือกล่องไม้ที่ใช้สำหรับเลี้ยงผึ้ง 2. นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชันโรง มาใส่ในรัง ต้องปล่อยในเวลากลางคืนเพราะถ้าเจอแสงชันโรงจะหนีออก จากรัง 3. บริเวณที่เลี้ยงต้องมีพืชอาหาร เช่น ดอกของไม้ผล ดอกของวัชพืช ดอกของไม้ดอกต่าง ๆ ช่วงเวลาการ บานของดอกต่าง ๆ กัน ซึ่งจะทำให้ชันโรงมีอาหารตลอดทั้งปี 4. หลังจากนั้นชันโรงจะอยู่อย่างถาวร เนื่องจากชันโรงไม่ชอบย้ายถิ่นฐานเหมือนผึ้ง 5. เนื่องจากชันโรงชอบความสงบ จึงไม่ควรมีสิ่งรบกวนหรือย้ายรัง การจัดการรัง การจัดการรังที่ดี เป็นการแสดงถึงโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงชันโรงโดยต้องคำนึงถึงการ ตั้งรัง เทคนิคการขยายรัง และการป้องกันกำจัดศัตรูชันโรง ดังนี้ การวางรังชันโรง นอกจากจะต้องสำรวจดูความเหมาะสม สถานที่ตั้งรัง บริเวณรอบ ๆ สถานที่พืช อาหาร ความปลอดภัยจากสารเคมี ศัตรูชันโรง รวมทั้งสภาพลมและการจัดการรัง ควรดำเนินการดังนี้ 1. ควรมีขาตั้งรังป้องกันมดได้ โดยทาน้ำมันขี้โล้ที่ขาตั้ง หรือทำที่แขวน เช่น ใส่ส่าเหรก 2. บริเวณที่ตั้งควรมีพืชอาหารเพียงพอ และสมดุลกันกับปริมาณของชันโรง 3. วางรังชันโรงให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ เพื่อประสิทธิภาพในการกาอาหารและผสมเกสร 4. ควรตรวจสภาพรังอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจดูปริมาณการเจริญเติบโต สภาพความ สมบูรณ์ของอาหารและศัตรูชันโรง กรณีถ้าอาหารไม่เพียงพอต้องเคลื่อนย้ายไปในที่ที่เหมาะสม ปัญหาในระหว่างทดลองเลี้ยง 1. เนื่องจากช่วงทดลองเลี้ยงอยู่ในช่วงหน้าฝน มีมดไต่เสาที่เลี้ยงชันโรงต้องคอยระวังศัตรูชันโรง 2. เลี้ยงในสวนมะพร้าวยังไม่ได้ปลูกดอกไม้ 3. ช่วงระเวลาการทดลองเลี้ยงอยู่ช่วงเวลาสั้น ๆ คอยเปิดดูกล่องตลอดเวลา 4. ความชื้นภายในกล่องชั้นโรง
ความต้องการเลี้ยงชันโรง 1. ต้องการให้มีการประชุมติดตามการเลี้ยงชันโรงระหว่างสมาชิกกลุ่ม 2. ต้องการให้ความรู้และมีที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดเนื่องเป็นมือใหม่ในการเลี้ยงชันโรง 3. ต้องการไปศึกษาดูงานจากกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงจากกลุ่มอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ปฏิบัติการทำรังชันโรง และการแยกรังชันโรง และร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น บรรยากาศในวันนี้คึกคัก สนุกสนาน ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากได้ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อส่งเสริมอาชีพได้แล้ว ที่โดนใจสุดๆ คือได้ลองชิมน้ำผึ้งชันโรงจากรังแบบสดๆกันด้วย ก่อนเดินทางกลับอุดหนุนของฝากติดไม้ติดมือจากกลุ่มเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลอดต่อ หิ้วกันหลังแอ่นเลยทีเดียว ความสำคัญและประโยชน์ของชันโรง คนสมัยก่อนนําปล่องที่ชันโรงก่อเป็นท่อยาวมาเป็นเชื้อไฟ ยางไม้ และไขผึ้ง นักสะสมพระนํามาอุด ฐานพระเครื่อง ชาวอีสานนํามาอุดรูแคน แผ่นไม้ระนาดเอก โปงลาง แต่ประโยชน์ของชันโรงที่สร้างความตื่น ตะลึงให้ชาวโลกหันมาสนใจ คือ ความสามารถของชันโรงในการผสมเกสร การเลี้ยงและการจัดการชันโรง การเลือกชนิดของชันโรงที่จะนํามาเลี้ยง มีวิธีการเลือก ดังนี้ 1. ชนิดที่ปรับตัวและทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ 2. ไม่ดุร้ายมาก และไม่รบกวน มีความกระตือรือร้น 3. ชันโรงต้องขยายพันธุ์ได้ง่าย 4. นางพญามีประสิทธิภาพในการไข่ได้ปริมาณมาก และทนต่อสภาพแวดล้อมเข้ากับที่อยู่ใหม่ได้ดี 5. ลักษณะขนาดของรังชันโรงต้องไม่ใหญ่เกินไป และสามารถทําการแยกขยายได้ง่าย สะดวกในการ ปฏิบัติงานได้ดี 6. ชนิดที่มีประสิทธิภาพทนต่อตัวเบียน(ศัตรูของชันโรง)ได้ดี 7. ชนิดชันโรงมีการต่อสู้อยู่ 2 แบบ คือ แบบออกต่อสู้นอกรัง(ทําให้ประชากรลดน้อยลง) และแบบ ถอยร่น เข้ารัง (ประชากรจะไม่เสียหาย)
ศัตรูชันโรงและการป้องกันกำจัด ชันโรงมีลําตัวขนาดเล็ก และลักษณะการบินไม่เป็นแนวตรงหรือโค้ง การบินของชันโรงจะเป็นแบบหัก มุมซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ทําให้หลบศัตรูได้ง่าย ยากแก่การจับกินของแมลงและนกต่างๆ ภายในรังของชันโรงจะ เก็บยางไม้สําหรับป้องกันศัตรู ดังนั้นเรื่องของศัตรูจึงไม่ค่อยมี แต่อย่างไรก็ตาม ชันโรงก็มีศัตรูที่สําคัญ ๆ ดังนี้ สภาพแวดล้อม ความเหมาะสม ข้อกำจัด สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส จะยับยั้งการพัฒนาของดักแด้ไปสู่ตัวเต็มวัยสภาพพื้นที่ตั้งรังชันโรง - ควรจะอยู่ในที่ร่ม -เลือกที่ไม่มีศัตรูของชันโรง เช่น มด มวน หนอนแมลงวัน ไก่ –ไม่มีการพ่นสารเคมีป้องกันกําจัด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง คือ การเปลี่ยนแปลงสถานะของผลิตภัณฑ์ผึ้งให้แตกต่างไป จากเดิมเพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ผึ้งที่ใหม่ไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดีที่สุด ผลิตภัณฑ์ผึ้งที่เก็บรักษาดีจะมีคุณภาพใกล้เคียงผลิตภัณฑ์เดิมมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ผึ้งที่ผลิต ได้บางชนิดไม่สามารถคงสภาพหรือคุณภาพอยู่ได้นาน จําเป็นจะต้องมีการแปรรูปเพื่อให้เกิดผลดีต่อ ผลิตภัณฑ์ผึ้งชนิดนั้นๆ วัตถุประสงค์ของการแปรรูป คือ เพื่อการรักษาคุณภาพ ตามปกติแล้ว คุณภาพผลิตภัณฑ์ผึ้งมีความผกผันกับเวลา คือคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผึ้งมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับเวลาคือ คุณภาพผลิตภัณฑ์ลดลง เรื่อยๆ เมื่อเวลาเพิ่มมากขึ้น การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งให้อยู่ในรูปที่ เหมาะสม ทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นคงสภาพอยู่ได้นาน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งผู้ผลิตอยู่ห่างจากผู้บริโภคการแปรรูป เพื่อการเก็บรักษายิ่งมี ความสําคัญมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนลักษณะผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสมกับ การค้าหรือการนําไปใช้ประโยชน์ เช่น นมผึ้งหรือรอยัลเยลลี่ มีกลิ่น และรสชาติที่ทําให้รับประทานได้ยาก จําเป็นจะต้องมีการแปรรูปให้ เป็นผงแห้งใส่ในแคปซูล หรือทําเป็นเม็ดเพื่อการรับประทานที่ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เป็นกรรมวิธีที่นํามาใช้ในการ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น เช่น น้ําผึ้งแปรรูปเป็นไวน์ น้ําผึ้ง ผลิตภัณฑ์ เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมของน้ําผึ้ง รอยัลเยลลี่ เป็นต้น การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ผึ้งให้ สูงขึ้นเป็นแนวทางการพัฒนา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ดําเนินการ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผึ้ง และอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ผึ้ง เพื่อการแปร รูปถูกนํามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้ามากกว่าแต่ก่อน กรรมวิธีการ แปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน

หลักการบริหารจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ ตามที่ กรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้พัฒนากร ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กรชุมชนในพื้นที่หมู่บ้าน เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่ม OTOP กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มทุนชุมชนต่างๆ เป็นต้น นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่ม/องค์กรชุมชน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ จากประสบการณ์การทำงานพัฒนาชุมชนมาหลายปี เราควรมีหลักการในการบริหารจัดการกลุ่ม/องค์กรชุมชน ให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. หลัก 5 ก. ประกอบด้วย

    1. ก : กลุ่มสมาชิก สมาชิกกลุ่มต้องมีความสามัคคี และให้ความร่วมมือกับกรรมการ
    2. ก : กรรมการ จะต้องมีความซื่อสัตย์ โปร่งใส เสียสละ รับผิดชอบ ตรวจสอบได้
    3. ก : กิจกรรม กลุ่มต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
    4. ก : กติกา กลุ่มต้องมีกฎ กติกา ที่ดี มีความเป็นธรรมกับสมาชิกทุกคน
    5. ก : กองทุน กลุ่มต้องมีกองทุนไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงาน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก
  2. หลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย

    1. หลักนิติธรรม : ต้องเป็นไปตามกฎ ระเบียบของราชการ และของกลุ่ม
    2. หลักคุณธรรม : ต้องให้ความเป็นธรรมกับสมาชิกทุกคนโดยเท่าเทียมกัน
    3. หลักความโปร่งใส : ต้องมีความโปร่งใส สมาชิกสามารถตรวจสอบได้
    4. หลักการมีส่วนร่วม : ต้องให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
    5. หลักความรับผิดชอบ : ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่ของตน
    6. หลักความคุ้มค่า : ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด คุ้มค่ากับต้นทุน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. การจัดสรรผลกำไรของกลุ่ม/องค์กรชุม ประกอบด้วย

    1. ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
    2. เงินปันผลแก่สมาชิก 4. สวัสดิการสมาชิก (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)
    3. สาธารณประโยชน์ 6. สมทบกองทุน
    4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามคณะกรรมการเห็นสมควร