โครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปและพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

กิจกรรมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส24 มิถุนายน 2566
24
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Suhaimee065
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 1.กิจกรรมให้ความรู้โดยการอบรมเเก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านกระบวนการฐานการเรียนรู้ชันโรง หัวข้อการเรียนรู้ ความรู้ด้านชันโรง ประเภทของชันโรง มีความเเตกต่างอย่างไร การเลี้ยงการรักษาชันโรง คุณประโยชน์ของน้ำผึงชันโรง 2.เรียนรู้เชิงปฎิบัติ ไปดูรังชันโรง ซิมน้ำน้ำผึงชันโรง
3.กิจกรรมเสริม ของโรงเรียนชาวนา เช่น ฐานกระตาย ฐานดำนา เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ช่วงเช้าเป็นการอบรมให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม เนื่องจากจากเป็นการเปิดศูนย์การเรียนรู้ ทางกลุ่มได้เชิญนักเรียนจากโรงเรียนร่วมเรียนรู้ เเละเครือข่าย โดยมีวิทยากรจากลุ่มที่จะถ่ายถอดองค์ความรู้ทางด้านผึงชันโรงว่ามีดีอย่างไร มีขั้นตอนการดูแลอย่างไร ด้วยบริบทโซนพื้นที่อำเภอแว้งมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ
เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กใน พบได้ในทุกภูมิภาคของไทย ในไทยมีทั้งหมด 34 สายพันธุ์ ชื่อชันโรง (ชัน-นะ-โรง) หมายถึงโรงงานผลิตชัน เพราะผลิตชันได้ค่อนข้างเยอะ เมื่อก่อนเราเอาชันมาใช้อุดภาชนะ อุดฐานพระ ทำยาแผนโบราณ ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค สร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเชื้อราและจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหรือแผลอักเสบในช่องปากและคอ จึงนำมาใช้เป็นยารักษาแผลอักเสบในปาก สบู่ ยาสีฟัน สเปรย์ช่องปาก ลูกอม และสารสกัดผสมน้ำดื่ม ขนาดของชันโรงเล็กกว่าผึ้งมาก พูดให้เห็นภาพก็คือตัวเท่าแมลงหวี่ มีขา 3 คู่ คู่ที่สามซึ่งอยู่ด้านหลังยาวที่สุด ทำหน้าที่ขนเกสรเข้ารัง คุณสมบัติเด่นของชันโรง 1. ไม่มีเหล็กใน จึงไม่ต่อย ป้องกันตัวเองด้วยการกัด 2. เนื่องจากตัวเล็กกว่าผึ้ง ระยะบินหากินจึงใกล้กว่าผึ้ง แค่ 300 เมตรจากรัง จึงควบคุมให้ชันโรงผสมเกสรต้นไม้ที่ต้องการได้ง่ายกว่าผึ้ง 3. ชันโรงตอมดอกไม้ทุกชนิด ไม่เลือกตอมเฉพาะดอกไม้ที่ชอบ ถึงแม้ว่าดอกนั้นจะมีแมลงตัวอื่นตอมแล้ว ชันโรงก็ตอมซ้ำ ไม่เหมือนผึ้ง และด้วยระยะหากินที่ใกล้ ทำให้ชันโรงมีโอกาสผสมเกสรดอกเดิมซ้ำหลายรอบ จึงมีประสิทธิภาพในการช่วยผสมเกสรมากกว่าผึ้ง 4. ชันโรงเน้นเก็บเกสร 80 เปอร์เซ็นต์ เก็บน้ำต้อย (น้ำหวานดอกไม้) 20 เปอร์เซ็นต์ จึงช่วยแพร่กระจายเกสรดอกไม้ได้ดีมาก 5. เลี้ยงง่าย เคลื่อนย้ายรังได้ง่าย และแทบจะไม่ทิ้งรัง จะอยู่รังเดิมไปเรื่อยๆ 6. น้ำผึ้งชันโรงมีรสหวานอมเปรี้ยว มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และน้ำตาลกลูโคสสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป จึงมีราคาสูงกว่าถึงสิบเท่า นิยมนำไปทำยาและเครื่องสำอาง

ชันโรงก็เหมือนผึ้ง คืออยู่รวมกันแบบรวมกลุ่มจำนวนมากภายในรัง สมาชิกในรังมี 3 วรรณะ ทั้งสามวรรณะเกิดจากนางพญาเหมือนกัน แต่ละวรรณะมีหน้าที่ต่างกันไป ถ้าเราเข้าใจบทบาทของชันโรงแต่ละวรรณะ การดูชันโรงในรังจะสนุกมากขึ้น 1. วรรณะงาน : ชันโรงที่เราเห็นเกือบทั้งหมดก็คือวรรณะงาน เป็นเพศเมีย ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างในรัง ถ้าเป็นชันโรงระดับเยาวชน จะมีหน้าที่ทำความสะอาดรัง ดูแลรัง สร้างถ้วยตัวอ่อน ถ้วยน้ำผึ้ง พอมีอายุมากขึ้นก็จะได้ออกนอกรังไปเก็บเกสร น้ำต้อย ชัน และป้องกันรัง 2. วรรณะนางพญา : แต่ละรังจะมีนางพญา 1 – 2 ตัว ตัวใหญ่กว่าวรรณะงานอย่างเห็นได้ชัด พอเกิดมาจะเรียกว่า Virgin Queen พอโตเต็มที่จะปล่อยฟีโรโมนเรียกตัวผู้จากรังอื่นมาหาที่หน้ารัง ถึงเวลาก็จะออกไปผสมพันธุ์กันนอกรัง (ไม่ผสมพันธุ์ในรังและไม่ผสมพันธุ์กันเองในรัง เพราะเป็นแม่ลูกกัน) เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะกลายเป็น Mother Queen ทำหน้าที่วางไข่ในถ้วยตัวอ่อนที่ชันโรงงานสร้างไว้ 3. วรรณะตัวผู้ : มีจำนวนไม่มาก มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับนางพญาของรังอื่น พอโตเต็มวัยก็จะบินไปจีบนางพญารังอื่น มันมักจะหลอกผึ้งงานที่เฝ้าอยู่หน้ารังอื่นว่าเป็นพวกเดียวกัน ด้วยการเอาเกสรใส่ขาหลังมาด้วย เหมือนว่าเป็นสมาชิกรังเดียวกันที่เพิ่งไปเก็บเกสรมา จะได้เข้าไปในรังได้ แต่ด้วยกลิ่นของแต่ละรังที่ต่างกัน มันก็จะเข้าไปไม่ได้อยู่ดี การเจริญเติบโตของชันโรง 1. ระยะไข่ : ชันโรงงานจะทำถ้วยไข่ที่ใส่อาหารเหลวรอไว้ เมื่อนางพญามาวางไข่ ก็จะปิดถ้วยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในไข่ ถ้วยของตัวอ่อนจะมีสีเข้มที่สุด ยิ่งโตยิ่งสีจางลง 2. ระยะหนอน : กลายเป็นตัวหนอนแล้ว แต่ยังคงอยู่ในถ้วยอาหาร ถ้วยจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นถึงสีครีม 3. ระยะดักแด้ : ยังอยู่ในถ้วยตัวอ่อนเหมือนเดิม แต่มีสีอ่อนลงมาก 4. ระยะตัวเต็มวัย : ตัวอ่อนของชันโรงจะกัดถ้วยตัวอ่อนออกมา แล้วใช้ชีวิตเป็นชันโรงอย่างที่เราเห็น มีอายุในช่วงนี้ประมาณ 35 วัน องค์ประกอบภายในรัง 1. ปากทางเข้ารัง : ในธรรมชาติมีปากทางเข้ารังหลายแบบตามชนิดของชันโรง แต่รังที่ขายกัน มักจะใช้ฝาขวดขวดพลาสติกเป็นทางเข้าเพราะเปิดปิดง่าย เราจะเห็นชันสีดำป้ายอยู่ตรงปากทาง เพื่อให้จำกลิ่นรังของตัวเองได้ 2. กลุ่มไข่และตัวอ่อน : เมื่อเปิดฝารังขึ้นมาดู เราจะเห็นกลุ่มไข่และตัวอ่อน อยู่ในถ้วยทรงกลมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ถ้วยสีเข้มอ่อนตามอายุของมัน 3. ถ้วยอาหาร : เป็นถ้วยทรงกลมใหญ่กว่ากลุ่มไข่และตัวอ่อน ใช้เก็บอาหาร สีน้ำตาลเข้มเก็บน้ำผึ้ง สีน้ำตาลสว่างเก็บเกสร การเก็บน้ำผึ้งไปใช้ก็เก็บจากส่วนนี้ 4. พรอพอลิส (Propolis) : ชันที่ชันโรงผลิตได้มี 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่า พรอพอลิส สีเข้ม เป็นยางไม้ที่ชันโรงไปเก็บมาจากต้นไม้ หรือยางไม้ต่างๆ ผสมกับไขผึ้ง ค่อนข้างแข็ง ติดอยู่ตามด้านในของรัง ชันโรงใช้พรอพอลิสอุดรูรั่วในรังไม่ให้ศัตรู เชื้อโรค และแสง เข้ามาได้ แล้วก็ใช้เป็นโครงสร้างรัง ซึ่งนอกจากช่วยให้แข็งแรงแล้วก็ยังป้องกันน้ำ ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ด้วย รังชันโรงอยู่ที่ไหนในธรรมชาติ 1. ในโพรงธรรมชาติ : ชันโรงมักจะอยู่ตามโพรงในต้นไม้ บางพันธุ์ก็อยู่ใต้ดิน 2. ในโพรงเทียมหรือสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น : กลุ่มนี้พวกเราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุด บ้านของหลายคนก็น่าจะมีชันโรงอยู่ เช่น ตามโพรง ที่ว่าง หรือรอยแตกของสิ่งก่อสร้าง เช่น กำแพง เสาปูน กำแพงอิฐ เสาไม้ ท่อน้ำ โอ่ง และกล่องลังต่างๆ

วิธีเลี้ยงชันโรง 6 วิธี 1. หาข้อมูล 2. หาชันโรง 3. หาที่ตั้ง จุดที่เหมาะจะวางรังชันโรงต้องเป็นพื้นที่โล่ง ในสวน อยู่ในที่ร่ม ไม่วางติดพื้น เพื่อป้องกันน้ำแช่รัง ไม่ร้อนจนเกินไป ไม่อย่างนั้นถ้วยน้ำหวานจะละลาย แล้วก็อยู่ใกล้พืชอาหารหรือพืชที่มีดอกในระยะ 300 เมตร ซึ่งชันโรงชอบดอกไม้ที่เป็นช่อและมีโครงสร้างแบบเปิด 4. วางให้ถูกด้าน เราได้รังมาอย่างไรต้องวางแบบนั้น หรือวางรังให้ระนาบกับพื้นโลก เพื่อให้เซลล์ตัวอ่อนขนานกับพื้นโลก ตัวอ่อนจะได้ไม่จมอาหาร เพราะเขาอาศัยอยู่บนอาหารในเซลล์ และวางรังติดๆ กันได้เพราะชันโรงต่างคนต่างอยู่ ไม่ยุ่งกับรังอื่น 5. มีหลังคา ถ้ารังชันโรงไม่ได้อยู่ในที่ร่ม ผู้เลี้ยงหลายคนนิยมเอาแผ่นกระเบื้องปิดทับฝารังด้านบน เพื่อป้องกันความร้อน กันฝน และป้องกันลมพัดรังปลิวมั่นคง6 6 ระวังศัตรู ตำแหน่งที่วางรังควรปลอดภัยจากสัตว์กินแมลงทั้งหลาย เช่น ตุ๊กแก จิ้งจก รวมไปถึงมด มอด และปลวกที่จะทำลายรังด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากน้ำผึ้งชันโรง อย่างที่กล่าวไว้ถึงสรรพคุณของน้ำผึ้งชันโรงเอาไว้เบื้องต้นนั้นจะเห็นได้ว่าเจ้าตัวน้ำผึ้งชันโรงนั้นจะมีความต่างจากน้ำผึ้งทั่วไปอยู่บ้างทั้งในเรื่องของการเก็บเกี่ยวเกสรและรสชาติ ด้วยเหตุนี้อาจทำให้หลายคนสงสัยว่าแล้วน้ำผึ้งชันโรงจะมีประโยชน์บ้างนะ หาคำตอบด้านล่างนี้เลย • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง • มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโรคแบททีเรีย ช่วยให้เมื่อใช้สมานแผลก็จะทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น • มีประโยชน์ในด้านการบำรุงสมอง • มีประโยชน์ในด้านการปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย • ลดอาการไอ เจ็บคอ ได้เป็นอย่างดี • ลดอาการเหนื่อยล้า และฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายได้ • ช่วยให้หลับง่ายขึ้น เหมาะกับคนนอนหลับยาก • ช่วยเพิ่มคสวามชุ่มชื้นให้แก่ผิว และลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงลดอาการระคายเคืองของผิวได้ • สามารถนำไปแปรรูปไปเป็นสินค้าต่างๆทางด้านสุขภาพและความงามอยู่บ่อยครั้ง คุณสมบัติของผึ้งชันโรงที่ต่างจากผึ้งอื่นๆ 1. ตัวผึ้งชันโรงจะไม่มีเหล็กใน ป้องกันตัวด้วยการกัด 2. ผึ้งชันโรงตัวเล็ก ทำให้เส้นทางการบินใกล้กว่าผึ้งทั่วไป โดยมีระยะอยู่ที่ 300 เมตรนับจากรัง ทำให้ควบคุมการผสมเกสรดอกไม้ได้ง่ายกว่าผึ้งชนิดอื่น 3. ผึ้งชันโรงตอมดอกไม้ทุกชนิด ไม่จำกัดอยู่ที่ดอกไม้ที่ชอบเท่านั้น ทำให้มีโอกาสสูงที่จะตอมหรือผสมเกสรดอกไม้เดิมซ้ำหลายๆรอบ ส่งผลให้มีประสิทธิภาพดีกว่าผึ้งทั่วไป 4. ผึ้งชันโรงจะเก็บเกสรมากถึง 80% และนำหวานเพียง 20% เท่านั้น 5. น้ำผึ้งที่ได้จากชันโรงมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าน้ำผึ้งทั่วๆไป 6. สรรพคุณของน้ำผึ้งชันโรงมีมากกวา่าน้ำผึ้งทั่วไป และราคาก็สูงกว่าด้วย 7. ผึ้งชันโรงเลี้ยงได้ง่าย สามารถเคลื่อนย้ายรังได้ รวมทั้งมักจะอยู่รังเดิมและจะไม่ค่อยเกิดเหตุที่ตัวผึ้งทิ้งรัง

สายพันธ์ชันโรงซึ่งมีหลากหลายสายพัน ยกตัวอย่าง 2 สายพัน 1.ชันโรงอิตาม่า พันธุ์นี้ชาวบ้านมักจะเรียกว่า ผึ้งป่า เป็นพันธุ์ที่ขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ปีกสีดำ ถ้ามีปีกสีขาวจะเป็นชันโรงอิตาม่าชนิดที่ชอบอยู่ในดินหรือในโขดหิน ซึ่งสายพันธุ์นี้ไม่สามารถนำมาเลี้ยงในกล่องได้ เพราะอุณหภูมิแตกต่างจึงไม่สามารถจะปรับตัวได้เหมือนชันโรงอิตาม่าชนิดปีกสีดำ รังของชันโรงอิตาม่าจะเป็นท่อยาว ตามธรรมชาติชันโรงอิตาม่าชอบทำรังอยู่ในโพรงไม้ การเลี้ยงจึงสามารถนำชันโรงพันธุ์นี้มาจากต้นไม้ แล้ววางถ้วยน้ำหวานบนขอนไม้ได้เลย 2ชันโรงปากหมู เป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะตัวอวบ ๆ สีน้ำตาล ปีกมีสีน้ำตาล มีนิสัยไม่กัด ไม่ชอบรบกวน ขยันสร้างชันและสร้างถ้วยน้ำหวานเร็วมาก ขนาดของถ้วยน้ำหวนก็มีขนาดใหญ่ตามตัว ส่วนรังของชันโรงปากหมู ตรงปากทางเข้าจะเป็นแบบไม่มีส่วนที่ยื่นออกมา ลักษณะเหมือนปากท่อหนา ๆ บาน ๆ เนื่องจากชันโรงปากหมูเป็นพันธุ์ที่มีถ้วยน้ำหวานใหญ่และสร้างน้ำหวานเร็ว ทำให้ได้ปริมาณน้ำผึ้งมาก ชันโรงชนิดนี้จึงเหมาะที่จะเลี้ยง เพื่อเก็บน้ำผึ้ง
ลงจบการอบรมให้ความรู้และมีคำถามจากผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน หรือผู้เข้าร่วมเรียนรู้ต่างสอบถามถึงซึ่งสรุปได้ เป็นคำถามเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวน้ำชันโรงมีขั้นตอนอย่างไร ได้ตอบกลับไปว่าซึ่งจะเป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติภาคบ่าย และสอบถามถึงราคาชันโรง ว่ามีราคาเท่าไร และคำถามอื่น ๆ อีกที่ผู้เข้าร่วมได้สนทนากับวิทยากรนอกรอบ เนื่องจากเป็นเวลาพักเที่ยงกลุ่มบางกลุ่มแยกย้ายไปรับประทานอาหารและละหมาด


2.กิจกรรมในช่วงบ่ายการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวน้ำชันโรง และซิมรสชาติของชันโรง
1. การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งจากรังผึ้งชันโรงควรกระทำในฤดูร้อนหลังการบานของดอกไม้หมดไปแล้ว ประมาณ เดือนห้าหรือเดือนหก เป็นช่วงฤดูกาลที่ผึ้งชันโรงเตรียมออกเรือนตามธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า เราจะชิงแยกรังของมันเสียก่อนที่มันจะออกเรือน ดังนั้น การเปิดรังแบ่งดักแด้และตัวเต็มวัยจากรังเลี้ยงก็สามารถเก็บน้ำผึ้งไปในตัวด้วย ห้ามเก็บช่วงฤดูฝนหรือวันที่อากาศชื้น เพราะน้ำผึ้งมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดีมาก จะทำให้น้ำผึ้งเหลว เกิดการหมักบูดได้ เมื่อถึงระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ทำการเช็ครังว่าในแต่ละรังมีปริมาณน้ำผึ้งมากน้อยแค่ไหน เมื่อเช็ครังแล้วปรากฏว่าภายในรังมีน้ำผึ้งมากตามที่ต้องการให้เริ่มขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมวัสดุ ซึ่งประกอบไปด้วย มีดปลายแหลมยาว ถุงมือ ผ้าปิดปาก หมวกปิดผม และภาชนะสำหรับใส่น้ำผึ้ง เน้นอุปกรณ์ทั้งหมดต้องเป็นอุปกรณ์ที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อต้มหรือนึ่งเรียบร้อยแล้ว 2. หลังจากนั้นให้ใช้มีดปลายแหลมที่เตรียมไว้ตัดส่วนน้ำผึ้ง (ถ้วยน้ำผึ้ง) การเก็บควรเก็บทั้งกลุ่มถ้วยน้ำผึ้ง แล้วรีบนำไปใส่ในภาชนะปิดฝาทันที เวลาตัดควรพยายามไม่ให้ปนเกสร หรือส่วนอื่นๆ ออกมา ซึ่งภายในรังของผึ้งจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนด้วยกัน คือ ไข่แก่, ไข่อ่อน, น้ำผึ้งหรือถ้วยน้ำผึ้ง, เกสร, น้ำหวาน ก่อนตัดให้ใช้ภาชนะที่เตรียมไว้มารองรับน้ำผึ้งส่วนที่ตัด 3. หลังจากตัดเสร็จแล้ว ก็จะได้ส่วนน้ำผึ้งที่มีชันห่อหุ้มอยู่ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าถ้วยน้ำผึ้ง ให้ทำการบีบน้ำผึ้งออกให้หมดให้เหลือเฉพาะชันดังกล่าว 4. จากนั้นนำน้ำผึ้งที่ได้ใส่ภาชนะ (อาจจะเป็นขวดโหลหรือภาชนะใสที่มีฝาปิด) นำน้ำผึ้งที่ได้ไปตากแดดเพื่อลดความชื้นให้น้ำผึ้งมีความเหนียวหนืด ประมาณ 6-7 วัน 5. หลังจากนำน้ำผึ้งตากแดดไปเรื่อยๆ สิ่งปลอมปน เศษวัสดุต่างๆ ก็จะลอยขึ้นมาให้ทำการตักเศษสิ่งปลอมปนเหล่านั้นออกทิ้งทุกวัน หลังจากตากแดดตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ก็ให้ใช้ผ้าขาวบางกรองอีกครั้ง ขั้นตอนการกรองน้ำผึ้ง เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอีกหนึ่งขั้นตอนเพราะ ทำให้น้ำผึ้งสะอาด น่ากิน กระบวนการกรองน้ำผึ้งควรรักษาความสะอาดเป็นหลัก จะทำให้ได้น้ำผึ้งล้วนๆ เกือบ100 % มีสิ่งเจือปนตามธรรมชาติน้อยที่สุด เช่น ปริมาณเกสร ชันผึ้งและอื่นๆ น้ำผึ้งที่เก็บเกี่ยวควรเป็นน้ำผึ้งที่มีความข้นและความหนืดสูงเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้นานกว่า 6 เดือน โดยไม่ระเบิด ไม่เกิดส่าเหล้า ได้น้ำผึ้งที่บริสุทธิ์แล้วบรรจุใส่ขวดที่ผ่านการนึ่งหรือฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว เพื่อจำหน่ายต่อไป และมีได้มีการซิมรสชาติ แต่ไม่สามารถให้ผู้เข้าร่วมได้ลองดูดน้องชันโรงจากรังได้เนื่องจาก กลัวเกิดการเสียงหายของรังชันโรง

  1. เวลาประมาณบ่าย 14.30 น. หลังจากเสร็จสิ้นฐานการเรียนชันโรง และยังมีกลุ่มผู้เข้าร่วมบางกลุ่มยังมีคำถามและสนใจในฐานชันโรง ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงชันโรง หลังจากนั่นศูนย์การเรียนรู้ชันโรง ซึ่งมีฐานเรียนรู้อยู่ในกลุ่มโรงเรียนชาวนา อ.แว้ง จ.นราธิวาส ซึ่งหลังจากได้เรียนรู้ในส่วนของฐานชันโรง และยังได้เรียนรู้ในส่วนของฐานการดำนำ และฐานกระต่าย
    ทำไมถึงให้ไปเรียนรู้ฐานอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นการโปรโหมดฐานการเรียนรู้ในส่วนของโรงเรียนชาวนาไปด้วยว่ามีหลากหลายฐานการเรียนรู้และสามารถเข้าไปร่วมเรียนรู้กับโรงเรียนชาวนาได้