โครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปและพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ประชุมคณะทำงานเดือนมิถุนายน 2566 ครั้งที่ 429 เมษายน 2566
29
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Suhaimee065
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การประชุมชี้เเจงเกี่ยวกับการศึกษาดูงาน
  2. การเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์การเรียนรู้
    3.แจ้งการถอดบทเรียน
    4.ตามตามความเคลื่อนไหวของกลุ่ม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมครั้งที่เพื่อเตรียมพร้อมการดำเนินงาน
จากการประชุมครั้งที่ 3 ได้มีการแจ้งไว้คร้าว ๆ แล้วว่าจะมีกิจกรรมศึกษาดูงาน กิจกรรมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชันโรง 1 ฐานเรียนรู้ ในพื้นที่โรงเรียนชาวนา และสุดท้ายกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ
1. หารือการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน โดยทีมกลางมีพื้นที่เลือก คือ 1. จังหวัดปัตตานี 2. อ.ยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และได้เห็นชอบร่วมกันว่าจะดำเนินการศึกษาดูงาน ที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และได้กำหนดจำนวนผู้ศึกษาดูงานเพียง 30 คน และชี้แจงการเดินทาง ซึ่งจะจ้างรถตู้จำนวน 2 คัน และกำหนดให้ส่งรายชื่อศึกษาดูงานก่อนวันลงพื้นที่ เพื่อที่จะได้ดำเนินการทำใบลงทะเบียน และทางทีมงานได้ให้โจทย์การเรียนรู้ คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชันโรง การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ การนำน้ำผึงไปแปลรูป และสุดท้ายหลักการบริหารจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้กลุ่มได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และให้เก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุดเพื่อไปปรับใช้ในกลุ่ม เป็นแนวทางในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 1 ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับ ชันโรง ดั้งนั่นทางทีมงานจึงกำหนดวันลงพื้นที่ศึกษาดูงาน เป็นวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ซึ่งจะออกเดินทางตั้งแต่ 06.00 น.เป็นต้นไป
2. แจ้งเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 1 ฐานเรียนรู้ หลังจากกลับจากการศึกษาดูงานทางทีมงานหลักจะมีการเตรียมในส่วนของ โฟมบอร์ด ไวนิล และบรรจุภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยในทีมประชุมได้มีการพูดถึงการเชิญแขกเข้าร่วมงาน โดยจะเชิญเครือข่าย และเชิญนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียง เข้าร่วมเปิดศูนย์ เป็นการเปิดศูนย์และมีกิจกรรมให้ความรู้ไปด้วย ได้มีการออกแบบกิจกรรม คือช่วงเช้า เป็นกิจกรรมอบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชันโรง และช่วงบ่ายเป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เช่น การสาธิตการดูดน้ำผึง การดูแลรักษารัง และให้ซิมรสชาติของน้ำผึง ถ้ามีเวลาเหลือจะให้เรียนรู้ในฐานอื่น ๆ อีกเนื่องจากกลุ่มอยู่ในส่วนของโรงเรียนชาวนา ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางในการโปรโหมดไปด้วย อนาตจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม โดยทีมงานได้มีความเห็นร่วมกันว่า กำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนายน 2566
3. แจ้งการถอดบทเรียนว่าจะมีขึ้นหลังจาก เปิดศูนย์การเรียนรู้ 1 ฐานเรียนรู้ และจะมีกำหนดวันถอดบทเรียนหลังจากนั่น ก็ขอให้กลุ่มมีส่วนร่วมในการถอดบทเรียนจะได้ดูพัฒนาการของกลุ่มร่วมกัน และได้นำผลการถอดไปพัฒนากลุ่มต่อไป
4. การติดตามการดูแลสุขภาพของคนในกลุ่ม โดยภาพรวมยังคงเดิมเหมือนจากการติดตาม ครั้ง 2 และครั้งที่ 3 ที่มีการออกกำลังกาย 15 คน และมีการดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารคลีนหรือผักที่ปลุกขึ้นเองโดยไม่มีสารพืตต่าง ๆ ทางทีมงานก็ให้แนวทางการดูแลสุชภาพไว้ว่า เราอาจจะไม่ต้องออกกำลังกายทุกวัน ในหนึ่งสัปดาห ออกกำลังกายสัก 1 2 วันก็ได้ หรืออาจจะดูแลด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่สูบบุรี่

การประชุม โดยมีนายคมวิทย์ สุขเสนีย์ เป็นคนดำเนินกระบวนการประชุม