โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง

ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 95 กรกฎาคม 2566
5
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Piyachat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 11.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวอภิญญา ชนะโชติ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 11.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรม และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ร่วมกับ นายอุบัยดิลละห์ หาแว (พี่เลี้ยงโครงการ)

เวลา 11.10 น. – 12.00 น. คณะทำงานได้ทำการจัดเตรียมเพื่อนำเสนอต่อพี่เลี้ยงโครงการ

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

เวลา 13.20 น. นายอุบัยดิลละห์ หาแว ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของการประชุม โดยได้มีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพ มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 1 คณะทำงานโครงการมีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการ และเกิดข้อตกลงร่วมกันพร้อมภาคี

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 2 เกิดกลไกกลางรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 3 กลุ่มสามารถสร้างอาชีพที่เกิดจากการทำผลผลิตของกลุ่มมาปรุงเป็นเมนูทำอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และราคาที่เหมาะสม จำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าในเมือง

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 4 เกิดแผนธุรกิจดำเนินการ

  • ผลการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีการออกกำลังกาย สุขภาพดีขึ้น จิตใจเบิกบาน ในด้านอาหาร ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการทานผักที่ปลูกเอง มีการทำอาหารสุขภาพ และบริโภคอาหารที่ทำทานเองมากขึ้น ด้านความเครียดมีผลที่ลดลง เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายลดลง ด้านความสุข มีเพิ่มขึ้น จากการมองเห็นวิธีการแก้ปัญหา การได้เจอเพื่อนใหม่ๆ มีรายได้จากการทำกิจกรรม

  • ผลการเปลี่ยนแปลงรายจ่าย พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีรายจ่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปลูกผักกินเอง มีโครงการสนับสนุน รู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบ สามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้จริง (เช่น น้ำยาล้างจานที่ทำเอง) การมีสังคมมากขึ้นทำให้มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันจากผู้ร่วมทำกิจกรรมและชาวบ้านในชุมชน

  • ผลการเปลี่ยนแปลงในแต่ละมิติ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สามารถสรุปได้ คือ มิติของสังคม มีการรวมกลุ่มมากขึ้น มีการทำข้อตกลง การสร้างกติกา เป็นผลให้ความขัดแย้งลดลง มีการแบ่งปันกันมากขึ้น // ด้านเศรษฐกิจ มีรายจ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้น เกิดเป็นธุรกิจครอบครัว มีลูกค้า มีกิจกรรมซื้อขาย มีชนิดของสินค้าที่เพิ่มขึ้น // ด้านสุขภาพ มีความเครียดลดลง ลดการใช้สารเคมี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีการออกกำลังกายมากขึ้น // ด้านสิ่งแวดล้อม มีผักที่ปลอดสารพิษ มีการลดใช้พลาสติก เพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการเปลี่ยนใบไม้ให้เป็นรายได้ ขยะติดเชื้อลดลงเนื่องจากจำนวนคนป่วยลดลง เวลา 16.00 น. - 16.30 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผลสรุปของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้ในการสรุปผลร่วมกับหน่วยจัดการ (15-16 กรกฎาคม 66)

  2. รายชื่อผู้ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลอื่นที่สนใจ และต้องการต่อยอดการดำเนินกิจกรรม (เช่น การปลูกผักสวนครัว แหล่งเรียนรู้ คือ นางเอื้อมพร พงศ์รัตน์ / ผักสลัด คือ นายอโณทัย พิทักษ์ธรรม / น้ำยาล้างจาน คือ น.ส.ปราณี แสงจันทร์ศิริ เป็นต้น)