โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล

ผลิตยาหม่องสมุนไพร 3/521 มีนาคม 2566
21
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย salamar
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกลุ่มได้ประสานงานไปยังสมาชิกในกลุ่ม และได้นัดวันเวลาในการจัดทำยาหม่องน้ำ
พร้อมกับเตรียมอุปกรณ์ และวิทยากร ในการสอนการทำยาหม่องน้ำ โดยมีวิธีการดังนี้

มีการประสานงาน และเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมตำรับยาหม่อง

ประกอบด้วยตัวยา ดังต่อไปนี้

  1. สารที่ช่วยให้ยาหม่องแข็งตัว ได้แก่ วาสลีน (White soft paraffin) พาราฟินแข็ง (Hard paraffin) จะใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆกัน ส่วนที่ทำให้ยาหม่องแข็ง จะมีปริมาณ 30% ของตำรับ ถ้าต้องการให้ยาหม่องเหลวมาก ไม่แข็งเกินไป จะใช้วาสลินมากกว่าพาราฟินแข็ง
  2. สารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมผิว ได้แก่ ลาโนลิน(Lanolinพวกนี้จะใช้ในตำรับประมาณ 5% w/w ของตำรับ สารพวกนี้ทำให้ยาหม่องถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว เมื่อทาจะรู้สึกร้อนเร็ว
  3. สารที่ทำให้ร้อน หรือใช้ทาถูนวดให้ร้อนแดง ได้แก่ น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร พวกนี้จะใช้รวมกันถึง 70% w/wของตำรับ
  4. สารแต่งกลิ่นในยาหม่อง จะใช้สารที่ช่วยแต่งกลิ่นที่มีกลิ่นคล้ายเมนทอล ได้แก่ น้ำมันสะระแหน่ เป็นต้น
  5. ตัวยาสำคัญ คือ ไพล ใช้ทาถูนวด ถ้าต้องการสมุนไพรชนิดอื่น ก็อาจใช้สมุนไพรเหล่านั้น แช่ในแอลกอฮอล์ 95% แล้วระเหยให้แห้ง หรือสูตรตำรับหมอพื้นบ้าน อาจใช้สมุนไพรหลายชนิด เจียวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมะพร้าว ที่มีส่วนของสมุนไพรนั้น มาทำเป็นยาหม่อง ใช้แทนน้ำมันไพลได้

สูตรตำรับยาหม่อง 1. พาราฟินแข็ง วาสลิน 30 กรัม 2. ลาโนลิน 5 กรัม 3. น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร 70 กรัม 4. น้ำมันสะระแหน่ 2 กรัม 5. น้ำมันไพล 10% w/w ของตำรับ

วิธีทำยาหม่อง 1. นำพาราฟินขาว วาสลินแข็ง มาหลอมละลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน 2. ชั่งเมนทอล 20 กรัม การบูร 20 กรัม น้ำมันระกำ 30 กรัม นำเมนทอลและการบูรผสมรวมกันรอจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาผสมกับน้ำมันระกำที่เตรียมไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ยาหม่องสมุนไพร พร้อมนำมาใช้เองในครัวเรือน หรือสามารถนำมาออกจำหน่ายได้ เพื่อหารายได้เข้าครอบครัว
สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์