โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ (1.3 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย ติดตามข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินงาน ครั้งที่ 1)17 พฤศจิกายน 2565
17
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Chuthathip
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 วันนี้ได้ทำการประชุมสมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับสนับสนุนงบ สำนัก 6 สสส.โดย node โควิด-ภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของสมาชิกรายบุคคล ก่อนดำเนินงานตามโครงการ ประเด็นที่ได้เก็บรวบรวมในวันนี้ ดังนี้ 1.ข้อมูลด้านสุขภาพ ได้แก่ การสอบถามโรคประจำตัว ,ผลความดันโลหิตสูง  ผลระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า, การชั่งน้ำหนัก, การวัดรอบเอว (ได้มอบหมายให้วัดก่อนประชุม โดยประสานกับ รพ.สต.เขาพระบาท ล่วงหน้า)
2.สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพ โดยใช้แบบวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3.แบบสำรวจสุขภาพทางการเงิน
ผลการสำรวจพบว่า
1.เดิมมีสมาชิก 39 คน สนใจและสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่ม 2 คน รวมเป็น 41 คน 1.กลุ่มเป้าหมาย 41 คน ป่วยจำนวน 10 คน(ร้อยละ 24.39) ปกติ 31 คน (ร้อยละ 75.62) 2.ผลการวัดความดันโลหิตสูง พบว่า ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 6 คน (ร้อยละ 15.38) มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 35 คน (ร้อยละ 85.36) ไม่มีกลุ่มสงสัย 3.ผลการวัดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน(ร้อยละ 2.56) กลุ่มปกติ 34 คน (ร้อยละ 82.92) กลุ่มเสี่ยง 6 คน (ร้อยละ 14.63)
4.ค่าดัชนีมวลกาย เกินมาตรฐาน 15 คน (ร้อยละ 36.58) ปกติ 26 คน (ร้อยละ 63.41)
5.ประเมินความรอบรู้ทางด้านการเงิน พบว่า คะแนนสุขภาพการเงินอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าคะแนน 7-15 คะแนน)  จำนวน 40 คน (ร้อยละ 97.56 ) และมีเพียง 1 คนที่คะแนนสุขภาพการเงินอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 2.4)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ
-สมาชิกทุกคน ได้มีการตรวจวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ ก่อนที่จะเริ่มโครงการ และเน้นให้ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจะติดตามทุก 3 เดือน -สมาชิก ได้รับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง เป็นการสร้างความตระหนักในการปรับพฤติกรรม -สมาชิกได้ประเมินสถานะสุขภาพด้านการเงินของตนเอง และนำไปวางแผนในการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินในชีวิตประจำวัน 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกเกิดทักษะและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ -สมาชิกเข้าใจและเกิดทักษะการวางแผนด้านการเงิน ปรับลดค่าใช้จ่าย เปลี่ยนวิธีการเพิ่มรายได้ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน