โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน

ARE ครั้งที่่1 ร่วมกับภาคีในพื้นที่ตำบลนาเคียน5 กุมภาพันธ์ 2566
5
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kandatoahyeeit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

13.00 น นางกานดา โต๊ะยีอิด ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ โดยมีกิจกรรมหลัก คือ พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ และ แกนนำ จำนวน 45 คน เพื่อมีความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้งด้านอาชีพ และการเงิน ส่งผลให้สามารถตัดสินใจพัฒนาอาชีพของตนให้มีรายได้ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งผู้บริโภค และผู้ขาย

13.30น ภาคีเครือค่าย ได้แก่  ผอ. รพ.สต. บ้านนาเคียน พยาบาลวิชาชีพ  ครูกศน.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 นายสุนันท์ ยุทธกาศ  แกนนำโครงการ แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ แม่ค้าอื่นๆในตำบล ผู้บริโภคข้าวเหนียวไก่ และ อสม. ที่สนใจ รวมจำนวน 14 คน ร่วมมกันติดตามการทำงานของโครงการโดยยึดตามบันไดผลลัพธ์ 1. เกิดการร่วมกลุ่มพัฒนาทักษะความสามารถของกลุ่ม โดยมีตัวชี้วัดดังนี้ โดยปัจจุบันมีสมาชิกลุ่ม ได้แก่ แกนนำ 11 คน มีค้าเหนียวไก่ 30 คน มีการจดบันทึกรายงานการประชุมประจำเดือน 6เดือน และมีแผนการพัฒนากลุ่ม การพัฒนางานโดยใข้ แผนการดำเนินงานของโครงการเป็นหลัก 2.แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนการผลิตและกลยุทธการขายพบว่า ตัวชี้วัดแม่ค้าเข้ารับการอบรม เข้ารับการอบรม30 คน เพียง 1 กิจกรรม คือกิจกรรมทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ส่วนกิจกรรมการคัดสรรวัตถุดิบมีแม่ค้าเข้าร่วม 6 คน และในกิจกรรมวันปรุงมีแม่ค้าเข้าร่วม 20คน รวมถึงประชาชนอื่นๆ 100คนเนื่องจากปรับเปลี่ยนวิธีการเป็นการคัดเลือกแม่ค้า 4 คน 4 สูตร มาปรุง มานึ่ง มาทอด  ให้ทุกคนรับประทานฟรี

      ส่วนเรื่องของการปรับเปลี่ยนกลยุทธ การเลือกวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มยอดขายนั้น ยังไม่ทราบข้อมูล แกนนำ 11 คนวางแผนติดตามเยี่ยมแม่ค้าในวันที่ 13  - 16 ก.พ.66 นี้

ส่วนเรื่องความรู้ทางด้านสุขภาพและด้านการเงินแกนนำ 11 คนวางแผน ติดตามเยี่ยมแม่ค้าในวันที่ 13  - 16 ก.พ.66 นี้เช่นเดียวกัน

ส่วนการขยายผลให้กับสมาชิกกลุ่มอื่นๆในชุมชนนั้น ยังไม่ได้ดำเนินการ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5 ให้ข้อคิดในเรื่องการสร้างความยั่งยืนในเรื่องการทำอาชีพ

ครู กศน. เสนอแนะให้ถ่ายรูปข้าวเหนียวไก่ที่สะอาด ที่น่ากิน น้ำมันใสสะอาด โพสต์ลงเฟชบุค และแฮทแทก สม่ำกเสมอทุกวัน จะทำให้ลูกค้าเห็นความน่ากินและดึงดูดให้มาซื้อเพิ่มขึ้น

พยาบาลวิชาชีพเสนอให้มีการตรวจสารโพลาในน้ำมันทอดซ้ำเพื่อเฝ้าระวังการที่ประชาชนจะได้รับสารโพลาเกินกำหนด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแกนนำ และภาคีเครือข่ายเข้าร่วม 14 คน

ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนา การจัดกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการ