โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสู่การสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเกาะลิบง

การจัดการเรียนรู้ชุมชน/ศึกษาดูงาน3 มิถุนายน 2566
3
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kohlibong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ปฏิบัติ ช่วงเช้า - พิธีเปิดโดยคณบดี มทร.ศรีวิชัยวิทยาเขตตรัง สาขาวิทยาศาสตร์การประมง - ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการโดยนายอีสมาเอน เบญสอาด ที่ปรึกษาโครงการ - แนะนำสมาชิกที่ไปศึกษาดูงาน - แนะนำวิธีการถนอมอาหารโดยใช้การแช่แข็ง

ช่วงบ่าย ไปดูวิธีปฏิบัติและขั้นตอนการทำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริง 1 มีความรู้เรื่องอาหารแช่เยือกแข็ง frozen food ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันผู้บริโภคมากขึ้น 2 ส่งผลให้มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารแช่เยือกแข็งในรูปแบบใหม่เพื่อลดเวลาในการเตรียมอาหารและสะดวกในการบริโภคอาหารแช่เยือกแข็งเป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่าอุณหภูมิ -18 องศา จนน้ำที่อยู่ในอาหารเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง จุลินทรีย์ไม่สามารถใช้น้ำในการดำรงชีวิต ส่งผลให้เกิดการยับยั้งในการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ทำให้สามารถยืดอายุในการเก็บรักษาอาหารให้ยาวนานขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของอาหารในด้านเนื้อสัมผัสรสชาติและคุณค่าในทางอาหารได้ดีกว่าวิธีอื่น 3 ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีความหลากหลายชนิดได้แก่ - กุ้งแช่เยือกแข็ง ทำได้หลายแบบ เช่น แช่ทั้งตัวติดหัวและผ่าหลังกุ้งเนื้อกุ้งต้มกุ้งแป้งปอเปี๊ยะ ่- ปลาหมึกแช่เยือกแข็ง เช่น ปลาหมึกกล้วยแช่เย็นแข็งปลาหมึกหอมแช่เยือกแข็ง - ปลาแช่เหยื่อแข็ง เช่น ปลาสดทั้งตัวแช่แข็ง ปลาแล่ทั้งตัวแช่เยือกแข็ง ปลาสดบดทั้งตัวแช่เยือกแข็ง - ปูไข่แช่เยือกแข็ง เช่น ปูดำแช่เยือกแข็ง ปูม้าแช่เยือกแข็ง - หอยแช่เยือกแข็ง เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยเชลล์แช่เยือกแข็ง

ผลผลิต ในการดูงานอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ทำให้ได้เข้าใจวิธีการรูปแบบการแช่เยือกแข็งอาหารทะเลอย่างถูกต้อง

ขั้นตอนการขอรับตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว 1 การยื่น เกษตรกรสามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานประมงจังหวัด 2 การจัดส่งสินค้าเพื่อตรวจสอบคุณภาพเกษตรจัดส่งสินค้าประมงจำนวน 2 หน่วยสินค้ามายังกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำเพื่อรับการตรวจสอบคุณภาพ