15. ตันหยงโป โมเดล (Tanyongpo Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล

สำรวจ สถานการณ์ขยะในชุมชน ครั้งที่ 118 กุมภาพันธ์ 2566
18
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Tanyongpomodel
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจ และเก็บรวบรวมข้อมูลขยะในชุมชน เพื่อจัดทำแผนผังต้นไม้ปัญหาและทราบสถานการณ์ปริมาณขยะ วิธีการกำจัด พฤติกรรมการคัดแยกขยะ ก่อนเริ่มโครงการ ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ขยะในชุมชนจำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนเริ่ม และสิ้นสุดโครงการ โดยแบ่งให้แกนนำ 10 คน ลงสำรวจครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน (คนละ 3 ครัวเรือน) เพิ่มเติมรายละเอียด *************************

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีการรับรู้ข้อมูลการจัดการขยะ และข้อมูลขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน แต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วม คณะทำงานสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรม และรับทราบปัยหาการจัดการขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน สรุปรายงานการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ขยะในชุมชน จำนวน 30 ครัวเรือน โดยมีการแบ่งลงพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของตนเอง

สรุปรายงานการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ขยะในชุมชน ครั้งที่ 1 จำนวน 30 ครัวเรือน      โครงการตันหยงโปโมเดล (Tanyong po Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน    ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล 1.ครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะรีไซเคิล จำนวน 13 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีการคัดแยก จำนวน 17 ครัวเรือน จากจำนวน 30 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนที่มีการนำขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยหมัก หรือถังขยะเปียก จำนวน 5 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีการนำขยะไปทำปุ๋ย จำนวน 25 ครัวเรือน จากจำนวน 30 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนที่มีการนำขยะรีไซเคิล รวบรวมนำไปขาย จำนวน 15 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีการนำขยะรีไซเคิลไปขาย จำนวน 15 ครัวเรือน จากจำนวน 30 ครัวเรือน 4.ครัวเรือนที่มีการเผาขยะ จำนวน 3 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีการเผาขยะ จำนวน 27 ครัวเรือน จากจำนวน 30 ครัวเรือน 5.ครัวเรือนที่ยังมีการทิ้งขยะลงทะเล 4 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีการทิ้งขยะลงทะเล จำนวน 26 ครัวเรือน จากจำนวน 30 ครัวเรือน 6.ครัวเรือนที่ใช้บริการรถขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป จำนวน 30 ครัวเรือน 7.ครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนอย่างจริงจัง (แยกขยะแต่ละชนิด) จำนวน 5 ครัวเรือนและครัวเรือนที่ไม่มีการคัดแยกขยะมุลฝอยในครัวเรือนอย่างจริงจัง จำนวน 25 ครัวเรือน จากจำนวน 30 ครัวเรือน ข้อเสนอแนะ 1.ครัวเรือนส่วนมากอยากได้ถังขยะ (ซึ่งตรงนี้คณะทำงานที่ลงสำรวจก้ได้อธิบายว่า ในการคัดแยกไม่จำเป็นต้องมีถังขยะที่ครบประเภทก็ได้ถ้าหากเรา มีการคัดแยกใส่ในกระสอบ หรือถุงดำ หรือภาชนะที่ไม่ใช่แล้ว 2.ครัวเรือนบางครัวเรือนเสนอให้มีการจัดการกับแพะ ที่ชอบคุ้ยขยะ ในช่วงที่รอรถขยะมาเก็บ 3.ให้มีการรณรงค์การไม่ทิ้งขยะลงทะเล และให้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 4.ให้อบต.ตันหยงโป มีจุดทิ้งขยะอันตรายที่ชัดเจน และสะดวกต่อการนำไปกำจัด