15. ตันหยงโป โมเดล (Tanyongpo Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล

เวทีชี้แจงโครงการ9 พฤษภาคม 2566
9
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Tanyongpomodel
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ในนามผู้รับผิดชอบโครงการ ได้จัดกิจกรรมเวทีชีแจ้งโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทในคณะทำงาน ได้รับเกียรติจากนายอดุลย์ มะสมัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป และสมาชิกสภาร่วมถึงเจ้าหน้าที่และพนักงานกองสาธารณสุข และตัวแทนสมาชิกสภา และสารวัตรกำนันตำบลตันหยงโป อีหม่ามผู้นำศาสนา และผู้อำนวยการ รพ.สต.ตันหยงโป และกลุ่มเป้าหมาย ในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อสร้างแกนนำการจัดการขยะบ้านตันหยงโป โดยในกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยกับการทำกิจกรรมได้รับความรู้จากตัวแทนวิทยากร ที่ทางองคืการบริหารส่วนตำบลตันหยงโป ได้สนับสนุนมา ทางผู้เข้าร่วมได้ทราบถึงสถานณ์การขยะในพื้นที่ที่นับวันจะสูงขึ้นและวิทยากรได้เล่าว่า ทุกครั้งที่มีการจำกัดขยะ ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้น ตลอดบวกกับในพื้นที่เราไม่มีถังขยะ แต่ขยะที่ครัวเรือนที่ใช้บริการได้ทิ้งลงไป เพื่อรอรับนำไปทิ้ง บางครัวเรือนยังมีการทิ้งเศศอาหาร ตลอดถึงพวกกิ่งไม้ใบไม้ในภาชนะที่ทิ้งลงถังไปด้วย และวิทยากรได้ให้ทุกคนได้ดูคลิปวิดีโอในการเป็นแรงผลักดัยให้ครัวเรือนได้มีความตระหนักในการไม่ทิ้งขยะลงทะเล และแยกขยะก่อนทิ้ง ด้านผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโปได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ นายกได้พูดคุยถึงการมีส่วนร่วมของประชานในพื้นที่ในการมีส่วนร่วมการจัดการขยะอย่างยังยืน และเป็นต้นแบบในการจัดการขยะให้คนในชุมชน และหน้าที่จัดการขยะเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน และทางผู้รับผิดชอบได้ให้ทางผู้นำศาสนาได้พบปะพูดคุย ก่อนจะเข้าช่วงที่สองของกิจกรรม ทางอีหม่ามก็ได้พบปะพูดคุยในเรื่องขยะในบ้านเรา ซึ่งหม่ามเองก็ได้เน้นยำว่าหน้าที่ของพวกเราคือการรักษาความสะอาดและในการจัดการขยะ ก็คือความดีชนิดหนึ่ง ที่เราต้องช่วยกัน พอหลังจากอีหม่ามได้พูดคุย ก้ผู้รับผิดชอบ ก็อยากให้ทุกคนได้ทราบว่า กิจกรรมในครั้งนี้นอกจากเป็นการพบปะ และให้ทุกคนช่วยลงความคิดเห็นตลอดสร้างกติการูปแบบการจัดการขยะ ฮูก่มฟากัต จัดการขยะ ก็ได้ให้ทุกคนได้ร่วมด้วยช่วยกันเสนอการจัดการขยะร่วมกันก็ได้สรุปดังนี้ มีการร่วมตัวกันเดือนละ 1 ครั้งในการลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันดูแลความสะอาดในชุมชน 2. ให้มีการรณรงค์ห้ามทิ้งขยะลงทะเล 3. ห้ามให้มีการปล่อยแพะ ให้ไปสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่น (คุ้ยถังขยะ) 4. ให้ทุกคนช่วยกันมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะในครัวเรือน 5. ให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแล้วนำขยะมาให้นำกลับไปด้วย 6. ครัวเรือนไหน มีขยะอันตราย ให้ไปส่งที่อบต.ตันหยงโป
7. ทุกครัวเรือนต้องไม่ทิ้งขยะเปียกลงในถุง หรือกระสอบทิ้งขยะ 8. ตันหยงโป ต้องปลอดถังขยะ 9. ทุกครัวเรือนต้องมีการจัดการกับขยะรีไซเคิล ที่สามารถนำไปขายได้ 10. ขยะแต่ละชิ้น คือ หน้าที่ของพวกเราทุกคน ที่จะต้องช่วยกัน

ซึ่งแยกมาจากหลายข้อ ซึ่งทุกคนเห็นด้วยในการสร้างกติกาในชุมชน และให้ ผู้บริหารท้องถิ่น ร่วมถึง ผู้นำศานา ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารโรงเรียน กสร ช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมให้ดีขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานและรับผิดชอบ ของคณะทำงานดังต่อไปนี้
โครงการตันหยงโปโมเดล (Tanyong po Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล เวที จัดตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน โดย กลุ่มรักษ์บ้านเกิด ตำบลตันหยงโป และแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ จังหวัดสตูล สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

1.ระดับคณะทำงาน

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง บทบาทหน้าที่

  1. นายสถาพร สามาดี ประธาน บริหารจัดการ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และรับผิดชอบโครงการ
  2. นายไมตรี หมันยามีน รองประธาน ประสานความร่วมมือ แก้ไขปัญหาต่างๆ
  3. นายอดิสรณ์ กาสา รองประธาน ประสานความร่วมมือ ด้านวิชาการ
  4. นายมะยูกี อิสมะแอน เลขานุการ กิจกรรมและสันทนาการ
  5. นายนาอีม ยาหวัง กรรมการ ฝ่ายสถานที่ และความสะอาด
  6. นายชากีรอน หมันยาหมีน กรรมการ ฝ่ายบันทึกภาพ และแผนงาน
  7. นายเยฟฟรี หมัดตานี กรรมการ ฝ่ายสวัสดิการ
  8. นางสาวสุภาวดี เหมปันดัน กรรมการ ฝ่ายประเมินผล
  9. นางสาววาริศา หมาดเรียง กรรมการ ฝ่ายลงทะเบียนและบันทึกการประชุม
  10. นางสาววรรณิศา หมัดตานี กรรมการและเลขานุการ เลขานุการและการเงินและบัญชี

หมายเหตุ : คณะทำงานสามารถทำหน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายได้ และมีการตกลงกติการ่วมกัน ในรูปแบบฮู่ก่มฟากัต จัดการขยะ ดังต่อไปนี้

  1. มีการร่วมตัวกันเดือนละ 1 ครั้งในการลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันดูแลความสะอาดในชุมชน
  2. ให้มีการรณรงค์ห้ามทิ้งขยะลงทะเล
  3. ห้ามให้มีการปล่อยแพะ ให้ไปสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่น (คุ้ยถังขยะ)
  4. ให้ทุกคนช่วยกันมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะในครัวเรือน
  5. ให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแล้วนำขยะมาให้นำกลับไปด้วย
  6. ครัวเรือนไหน มีขยะอันตราย ให้ไปส่งที่อบต.ตันหยงโป
  7. ทุกครัวเรือนต้องไม่ทิ้งขยะเปียกลงในถุง หรือกระสอบทิ้งขยะ
  8. ตันหยงโป ต้องปลอดถังขยะ
  9. ทุกครัวเรือนต้องมีการจัดการกับขยะรีไซเคิล ที่สามารถนำไปขายได้
  10. ขยะแต่ละชิ้น คือ หน้าที่ของพวกเราทุกคน ที่จะต้องช่วยกัน

และผู้เข้าร่วมได้รับทราบปัญหาขยะในพื้นที่ และรับได้ความรู้ในการจัดการขยะร่วมกัน และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้