11. เสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และวาดภาพแสดงออกถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ภายใต้หัวข้อ TKY GOODBYE ยาเสพติด (กิจกรรมที่ 2/6)26 พฤษภาคม 2566
26
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (2/6) ห้วข้อกิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดกิจกรรม 3. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว
4. สันทนาการ โดยนักเรียนแกนนำ 5. อบรมให้ความรู้ จากวิทยากร ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด
6. วาดภาพแสดงแนวคิด ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด โดยมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่มสร้างสรรค์ภาพวาดแสดงแนวความคิดในหัวข้อกิจกรรม จากนั้นนำมาแสดงผลงานบนบอร์ดกิจกรรมและโปรโมทภาพวาดของตนเอง โดยสมาชิกที่ทำกิจกรรมสามารถโหวตและให้คะแนนสำหรับภาพที่แสดงแนวความคิดได้อย่างเยี่ยมยอดและสวยงามที่สุด 7. ถอดบทเรียนสรุปกิจกรรม
8. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรม/กล่าวขอบคุณวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (2/6) ห้วข้อกิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด
    กำหนดจัดขึ้น เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 51 คน ประกอบด้วย ครูแกนนำ จำนวน 5 คน นักเรียนแกนนำหลัก จำนวน 15 คน และ นักเรียนแกนนำรองหรือกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน วิทยากร 1 คน
  2. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว โดยมีใจความว่า ซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลควนโดน
    ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2537 ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 2 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง พ.ศ. 2549 พยาบาลศาสตร์ จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา พ.ศ. 2551 ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต จากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ พ.ศ. 2556 พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2537-2538 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนโดน
    พ.ศ. 2538-2540 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพควนโดน
    พ.ศ. 2540-2565 โรงพยาบาลควนโดน
  3. อบรมให้ความรู้ จากวิทยากร ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด โดยมีรายละเอียดการบรรยายและปฏิบัติ ใจความว่า
    -จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่มีการลักลอบนำยาเสพติดออกมากที่สุด ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอละงู และอำเภอท่าแพ ซึ่งเป็นการขนส่งทางเรือสู่ทะเลอันดามัน โดยเรือ ขนาดเล็กและขนาดกลาง

- การแยกประเภทของยาเสพติดให้โทษ ทางกฏหมาย แบ่งเป็น 5 ประเภทตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ประเภท1 เช่น เฮโรอีน, แอมเฟตามีน (ยาม้า) และอนุพันธุ์,เมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า), เอ็มดีเอ็มเอ(ยาอี), เอ็มดีเอ (ยาเลิฟ) และ แอล เอส ดี เป็นต้น ประเภท2 เช่นฝิ่น, โคเคน, มอร์ฟีน,เมทาโดนและโคเดอีน เป็นต้น
ประเภท3 เป็นยาสำเร็จรูปที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายตามร้านขายยาได้ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีน,ยาแก้ท้องเสียที่มีไดเฟนอกซีน, ยาระงับปวดทั้งกินและ ฉีดที่มีสารกลุ่มฝิ่นผสมอยู่ เช่น มอร์ฟีนฉีด เป็นต้น ประเภท 4 เป็นน้ำยาเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 ได้แก่ น้ำยาเคมีอาเซติดแอนไฮไดรด์, อาเซติลคลอไรด์ใช้เปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน, สารเออร์โกเมทรีนและคลอซูโดอีเฟดรีน และสารตัวอื่นๆที่นำมาผลิตยาอีและยาบ้า ประเภท 5 ได้แก่ พืชกัญชา,พืชกระท่อม,พืชฝิ่น และพืชเห็ดขี้ควาย เป็นต้น - ยาบ้า : กลุ่มยากระตุ้นประสาท เมื่อเสพ ครื้นเครง กระวนกระวาย แน่นหน้าอก, ใจสั่น,ปวดหัว,ม่านตาขยาย, หัวใจวาย หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ไข้ขึ้น อาการประสาทหลอน หวาดกลัว หลงผิด เมื่อไม่ได้เสพ - จะหงุดหงิด กระสับกระส่ายง่วงนอน ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย - กระท่อม : กลุ่มยากระตุ้นประสาท เมื่อเสพ ครื้นเครง กระวนกระวาย แน่นหน้าอก, ใจสั่น,ปวดหัว,ม่านตาขยาย, หัวใจวาย หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ไข้ขึ้น อาการประสาทหลอน หวาดกลัว หลงผิด เมื่อไม่ได้เสพ จะหงุดหงิด กระสับกระส่ายง่วงนอน ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย - กัญชา : สารออกฤทธิ์หลายอย่าง เมื่อเสพ ปริมาณน้อย กระตุ้นประสาท ร่าเริง ปริมาณมาก เสพมากขึ้นจะซึม หลับ เสพขนาดสูงจะมีอาการประสาทหลอน กดการหายใจเสียชีวิตได้ อาการพิษเฉียบพลันจากการสูบกัญชา
ตาแดง ใจสั่น แน่นหน้าอก กระวนกระวาย หวาดกลัว อาการพิษเรื้อรัง การเสพในระยะเวลานานเกิดอาการซึมเฉย - โรคจิตที่ถาวรได้ -บุหรี่ : กลุ่มยากระตุ้นประสาท เมื่อเสพ ครื้นเครง กระวนกระวาย แน่นหน้าอก ใจสั่น ปวดหัวม่านตาขยาย, หัวใจเต้นเร็ม หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ไข้ขึ้น อาการประสาทหลอน หวาดกลัว หลงผิด เมื่อไม่ได้เสพ - จะหงุดหงิด กระสับกระส่ายง่วงนอน ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย 4. วิทยากรร่วมเสนอแนวคิด แนวทางการป้องกัน   1. เกี่ยวกับตนเอง   - ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยขอยาเสพติด มีความภูมิใจโดยนับถือตนเอง สำนึกในบทบาทหน้าที่ของตน ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เลือกคบเพื่อนที่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตไปในทางที่ถูกปรึกษาผู้ใหญ่เมื่อมีปัญหา   2. เกี่ยวกับครอบครัว
  - สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกของครอบครัว 5. ถอดบทเรียนสรุปกิจกรรม ซึ่งมีข้อสรุปหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกทั้งหมด 50 คน ถอดบทเรียนมีใจความว่า ยาเสพติดทุกชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย คนเสพหรือคนติดยาไม่ใช่ผู้ต้องหาแต่เป็นผู้ป่วย ดังนั้นแกนนำจะต้องมีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ในเรื่องยาเสพติด ควรนำข้อมูลที่ได้หลังการอบรมไปเผยแพร่ให้กับเยาวชนรุ่นต่อต่อไป เผยแพร่ให้กับคนในครอบครัวและสังคม เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็ง โดยปราศจากยาเสพติด