11. เสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความสามัคคีด้วยการแข่งขันกีฬา (กิจกรรมที่ 6/6)7 สิงหาคม 2566
7
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (6/6) หัวข้อกิจกรรม โรคซึมเคร้า ภัยเสี่ยงยาเสพติด วันจันทร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน มีรายละเอียดการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวต้อนรับผู้อบรม โดยผู้รับผิดชอบโครงการ 2. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว 3. สันทนาการ โดยนักเรียนแกนนำ 4. อบรมให้ความรู้และปฏิบัติในหัวข้อ โรคซึมเศร้า เสี่ยงภัยยาเสพติด 5. จัดทำป้ายและอุปกรณ์ที่แสดงถึงการรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด เพื่อประกอบการเดินรณรงค์ในกิจกรรมวันกีฬาสีของโรงเรียน โดยสะท้อนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงโทษและคิดไปของยาเสพติด 6. กิจกรรมการถอดบทเรียนและสรุปแลกเปลี่ยนแนวคิด การสะท้อนผลหลังการจากการดำเนินกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (6/6) หัวข้อกิจกรรม โรคซึมเคร้า ภัยเสี่ยงยาเสพติด จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน โดยผลจากการดำเนินกิจกรรมสรุปแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 โรคซึมเศร้า เสี่ยงภัยยาเสพติด มีใจความว่า ภาวะซึมเศร้า เครียดวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปัญหาที่มี Dalys สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกในปี ค.ศ. 2020 comorbidity ของการใช้สารเสพติดและโรคทางจิตเวช ได้รับความสนใจในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยจิตเวชมักใช้สารเสพติดด้วยตนเองโดยเหตุผลเพื่อลดความเครียด กังวล แสวงหาความสุขสบายใจ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ เป็นหน่วยงานของกรมสุขภาพจิตที่ดูแลจิตใจของประชาชนภาคใต้ตอนล่างดำเนินการค้นหารวบรวมข้อมูลภาวะซึมเศร้าโดยรวบรวมปัจจัยทางจิตสังคมด้วย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการใช้สารเสพติดในภาวะซึมเศร้า วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Description) ศึกษาในผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกและในของโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ช่วงเวลา มิ.ย. 2548 ถึง 30 เม.ย. 2550 มีช่วงอายุระหว่าง 18-70 ปี โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า, ฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตกับผู้ป่วย จำนวน 398 ราย ที่มาด้วยพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเอง ผู้ป่วยที่มีเพิ่งมีประวัติการสูญเสีย มีโรคทางกายเรื้อรังหรือที่ผ่านการค้นหาสาเหตุแต่ไม่พบ นอนไม่หลับเรื้อรัง เมื่อคัดกรองพบว่ามีภาวะซึมเศร้าจึงใช้แบบเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและทำร้ายตนเองประเมินต่อ (รง. 506 DS) พบภาวะซึมเศร้ารวมทั้งสิ้น 105 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า เพศชายร้อยละ 64.8 เพศหญิง ร้อยละ 35.2 มีอายุระหว่าง 21-40 ปี ร้อยละ 48.6 และมีอายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 33.3 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 44.8 รองลงมาเป็นสภานภาพโสด ร้อยละ 41.0 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 29.5 รองลงมาอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 19.0 พบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 49.5 ภาวะซึมเศร้าร่วมกับความคิดฆ่าตัวตาย ร้อยละ 29.5 พฤติกรรมการฆ่าตัวตายโดยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 21.0 พบพฤติกรรมส่วนบุคคลของผู้มีภาวะซึมเศร้าที่ใช้สารเสพติดสูงถึงร้อยละ 44 บุหรี่เป็นสารเสพติดที่ใช้มากเป็นอันดับแรก ร้อยละ 32 รองลงมาคือ สุรา ร้อยละ 22 ส่วนสารเสพติดอื่นๆ เช่น กัญชา ยาบ้า ร้อยละ 18 สรุปและข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าที่ใช้สารเสพติดพบในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นเพศชายมากกว่า การศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาระบบเฝ้าระวังคัดกรองและค้นหาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติด ซึ่งเป็นวัยศึกษาและวัยทำงานจะนำมาสู่การดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ไม่สูญเสียโอกาสในการเรียนการทำงาน ควรมีการพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยกลุ่มนี้
ประเด็นที่ 2 จัดทำป้ายและอุปกรณ์ที่แสดงถึงการรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด เพื่อประกอบการเดินรณรงค์ในกิจกรรมวันกีฬาสีของโรงเรียน โดยสะท้อนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงโทษและคิดไปของยาเสพติด ซึ่งคนในชุมชนให้ความสนใจกับป้ายและสื่อที่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้จัดทำขึ้น โดยมีบุคคลในชุมชน บริเวณใกล้โรงเรียน ตามคาดการณ์ได้ประมาณ 100 คน ที่ได้รับรู้ถึงกิจกรรมการเดินรณรงค์และสื่อของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของโทษและพิษภัยของยาเสพติด ประเด็นที่ 3 การสะท้อนผลหลังการจากการดำเนินกิจกรรม นักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้รับผิดชอบกิจกรรมจำนวน 50 คน ได้ร่วมกันสะท้อนผลหลังจากการดำเนินกิจการ พบว่า การเสี่ยงยาเสพติดหรือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดวิกกะกังวลมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวนั้น บรรเทาอาการของตนเอง โดยการใช้สารเสพติดเพื่อลดคาวมเครียดหรือความวิตกกังวลและแสวงหาความสุขความสบายใจ ดังนั้น แนวทางการป้องกันตนเอง คือ ควรทำตัวเองให้มีจิตใจที่นิ่งแน่วแน่ ไม่มีความเครียด หรือไม่เกิดการคิดมาก และการนำตัวเองไปอยู่ในสังคม และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดการสร้างความสุขให้กับตนเอง เพื่อสร้างทักษะในการป้องกันในเรื่องยาเสพติดและบุหรี่