11. เสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

กิจกรรมประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 5/5)21 กันยายน 2566
21
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 5/5) ครั้งที่ 5 / 2566 วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 2. ประชุมเรื่อง ดังต่อไปนี้
- งบประมาณการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและงบประมาณคงเหลือ - ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด - ผลลัพธ์การจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องครั้งที่ 6 - เสนอรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรม - รูปแบบการจัดกิจกรรมการออกเยี่ยมบ้าน - รูปแบบการจัดกิจกรรมสำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน - หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด (2/2) - รูปแบบการจัดกิจกรรมเวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน - การดำเนินงานและการทำบัญชีค่าใช้จ่ายและการทำเอกสารการเงิน - มอบหมายงานให้กับนักเรียนแกนนำที่ทำกิจกรรมเร่งด่วน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 5/5) ครั้งที่ 5 / 2566 วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 10 คน สรุปความสำคัญหรือผลการจัดกิจกรรม 5 ประเด็น 1. ที่ประชุมรับทราบเรื่องงบประมาณจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และงบประมาณคงเหลือและงบประมาณคงเหลือ โดยมีการนำเข้าเช็คเงินงวดที่ 2 จำนวนเงิน 25,000 บาท และเงินติดลบจากบัญชี 996 บาท
2. ที่ประชุมรับทราบเรื่องข้อมูลทางสถิติ เกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด พบว่า จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ถึงพฤติกรรมการ เสพ ค้า ในช่วงระยะเดือนแรกนักเรียนกลุ่มเป้าหมายบางส่วน มีพฤติกรรม เสพ แต่ไม่ปรากฏพฤติกรรมการค้ายาเสพติด และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว มีพฤติกรรมเสพ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 3. ที่ประชุมรับทราบผลลัพธ์ทั้งหมดจากการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักการสะท้อนผลหลังการจากการดำเนินกิจกรรม นักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้รับผิดชอบกิจกรรมจำนวน 50 คน ได้ร่วมกันสะท้อนผลหลังจากการดำเนินกิจการ พบว่า การเสี่ยงยาเสพติดหรือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดวิกกะกังวลมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวนั้น บรรเทาอาการของตนเอง โดยการใช้สารเสพติดเพื่อลดคาวมเครียดหรือความวิตกกังวลและแสวงหาความสุขความสบายใจ ดังนั้น แนวทางการป้องกันตนเอง คือ ควรทำตัวเองให้มีจิตใจที่นิ่งแน่วแน่ ไม่มีความเครียด หรือไม่เกิดการคิดมาก และการนำตัวเองไปอยู่ในสังคม และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดการสร้างความสุขให้กับตนเอง เพื่อสร้างทักษะในการป้องกันในเรื่องยาเสพติดและบุหรี่ 4. มิติจากที่ประชุมเรื่องรูปแบบการจัดกิจกรรมการออกเยี่ยมบ้าน โดยให้จัดกิจกรรมเหมือนกับครั้งที่ 1 ซึ่งให้คุณครูมีการเยี่ยมบ้าน ก่อนการเยี่ยมบ้านนั้น ทางโครงการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาให้ความรู้กับคุณครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการลงตรวจติดตามถึงเรื่องพฤติกรรมเชิงบวกและพฤติกรรมเชิงลบในเรื่องของยาเสพติด ทั้งนี้ได้เสนอครอบครัวที่จะจัดแจงในการลงเยี่ยมบ้านจำนวน 10 ครอบครัว และให้แต่ละครอบครัวหรือสัมผัสแต่ละครอบครัวทุกวิธีการเลี้ยงลูก พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเลี้ยงลูกและแจกข้อมูลถึงวิธีการเลี้ยงลูกให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก จากนั้นให้ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 ครอบครัวถ่ายรูปกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว โดยให้จัดทำครอบครัวละ 1 กิจกรรม ส่งมายังผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อประเมินผลจากการทำกิจกรรมดังกล่าว 5. มิติจากที่ประชุม ให้อนุมัติและจัดทำกิจกรรม ตามหัวข้อประชุม ที่ 4.6, 4.7, 4.8 และ 4.9 เสนอรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรม ดังนี้ -กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน ดำเนินกิจกรรม โดยติดต่อครอบครัวทั้ง 10 ครอบครัว พร้อมทั้งชี้แจ้งรายละเอียดและกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูล รับผิดชอบโดย นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร นางสาวชารีตา บายศรี นายอนันต์ ดวงตา -กิจกรรมสถิติหลังการจัดกิจกรร ดำเนินกิจกรรม โดยติดต่อวิทยกร จัดทำกำหนดการ จัดทำหนังสือเชิญ และการลงแบบสรุปสถิติข้อมูลหลังจากการทำกิจกรรมหลักๆภายในโครงการ รับผิดชอบโดย นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร นางสาวฟาริดา หลงสะเตีย นายอาริฟ มาราสา - กิจกรรมเวทีสรุปและถอดบทเรียน ดำเนินกิจกรรม โดยติดต่อวิทยกร จัดทำกำหนดการ จัดทำหนังสือเชิญ และการลงแบบสรุปสถิติข้อมูลหลังจากการทำกิจกรรมหลักๆภายในโครงการ รับผิดชอบโดย นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร นางสาวฟาริดา หลงสะเตีย นายอาริฟ มาราสา นางสาวชารีตา บายศรี นายอนันต์ ดวงตา -กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา ดำเนินกิจกรรม โดยออกแบบกิจกรรม การทำฮาลาเกาะ การพูดคุยให้คำปรึกษา กับเพื่อนที่มีปัญหาส่วนตัว และการเป้นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อนในโรงเรียนด้วยกัน บผิดชอบโดย นางสาวณูรีญา  สุวาหลำ
นางสาวมารีน่า  สมจริง นางสาวกิตติมา มาลียัน นายซาฟารี    ใจสมุทร นายเฟาซาน  ลิงาลาห์