17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง

ประชุมครั้งที่ 1/47 กุมภาพันธ์ 2566
7
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nantawat_2516
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมครั้งที่ 1 เพื่อ ชี้แจง คืนข้อมูลสภาพปัญหา ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนดำเนินงานร่วมกัน เพื่อจัดตั้งชมรม ค้นหากลุ่มเป้าหมายและรับสมัครสมาชิกชมรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) :  แกนนำเข้าร่วมประชุมและให้ความร่วมมือ วางแผนจัดทำโครงการ จำนวาน 30 คน

ผลลัพธ์ ( Outcom ) : ขยายพื้นที่กลุ่มเป้าหมายโดยรวมทั้งตำบล เพื่อขยายแกนนำให้ครอบคลุมทั้งตำบล
                เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีตัวแทนแกนนำวัยรุ่น โดยมีเป้าหมายหลัก คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังจำนวน 20 คน

                นักเรียนกศน.ตำบลวังประจันจำนวน 10 คน นักเรียนจากต่างโรงเรียนที่สนใจ อาศัยอยู่ในพื้นหมู่ 1 บ้านทุ่งมะปรัง จำนวน 10 คน

                ตัวแทนวัยรุ่นที่สนใจจาก ม.2, ม.3 ,ม.4 จำนวน 10 คน รวมสมาชิกครบตามเป้าหมายจำนวน 50 คน

                เพื่อจัดตั้งชมรม stop teen momต่อไป

-  ในชุมชนและตำบล มีกฎ กติกาชุมชนเป็น แนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนโดยมี ภาคี เครือข่าย
    ช่วยกัน ออกแบบ กฎ ,กติกา แนวปฏิบัติชุมชน นำเสนอ นายกฯ อบต. วังประจันเพื่อประกาศใช้ทั้งตำบลต่อไป

-  เกิดการแบ่งบทบาทหน้าที่แกนนำ ดังนี้

  1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่ ติดตามกลุ่มวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

    1.1 ร่วมกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในชุมชน

    1.2 ร่วมประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน กับ คณะทำงาน ในโครงการตามแผน

    1.3 ประสานงานทีมภาคีเครือข่ายทั้งตำบล ให้คำปรึกษาหากพบปัญหาหน้างาน เนื่องจาก ทำงานแบบภาคีเครือข่าย
  2. อบต. ม 1 มีหน้าที่ ร่วมกิจกรรมรณรงค์และสนับสนุนทุกกิจกรรมในโครงการรวมถึงประสานงานกับอบต. ตำบลวังประจัน

  3. อสม. เฝ้าติดตาม กลุ่มเป้าหมาย 12-19 ปี เข้ารับสมัครสมาชิก ชมรม Stop teen mom ในเขตพื้นที่ของตัวเอง
    3.1 อสม. เฝ้าติดตามพฤติกรรมเสี่ยง และ ส่งเสริมการสร้างทักษะชีวิต ในการป้องกันตนเอง ทักษะการคิด

      ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสฎและการมีความมั่นใจในตัวเอง เพื่อ ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
    3.2  มีหน้าที่ สื่อสาร ช่องทางในการเข้ารับบริการ และ ให้คำปรึกษากับกลุ่มวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี ในเขตพื้นที่ตนเอง

    3.3  ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์วัยใส ให้ กับ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข รพ.สต วังประจัน เพื่อให้ได้รับการดูแล และ คัดกรอง ความเสี่ยงต่อไป

  4.  ผู้นำศาสนา มี หน้าที อบรมทักษะ การนำคำสอน ทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเคร่งครัด

      โดยยึดหลักธรรมนุญแห่งชีวิต เน้นย้ำถึงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

    4.1  รณรงค์สร้างความตระหนักในครอบครัว ผู้ปกครอง เน้นย้ำเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ ในวัยเรียน
      โดยยึดหลัก คำสอน อย่างเคร่งครัด
    4.2  สื่อสารทักษะชีวิตการป้องกันตนเอง ในชั่วโมงการเรียนศาสนา โรงเรียนตาฏีกา และ ชั่วโมงการเรียนสาสนาของผู้ปกครอง

    4.3  ส่งต่อข้อมูล คู่แต่งงานวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี ให้กับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. วังประจัน เพื่อเข้ารับการวางแผนครอบครัว
      และวางแผนการตั้งครรภ์คุณภาพได้อย่างเหมาะสม ต่อไป

  5.  แกนนำกลุ่มสตรีมีหน้าที่ ส่งเสริมและสร้างความตระหนักเรื่องป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีการสื่อสารเรื่องทักษะชีวิต
      ในกลุ่มแม่บ้านและสตรี ช่วยดูแลป้องกันในวัยเรียนและช่วยป้องกันเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี

  5.1 ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อรับฝากครรภ์คุณภาพให้กับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข รพ.สต. วังประจัน

  6.  ตัวแทนจากองค์กรอิสระ ร่วมขับเคลื่อนร่วมขับเคลื่อนตามแผนงานกิจกรรมทุกกิจกรรม ร่วมประชุมและให้ความร่วมมือ
      นำเสนอแนวคิด และ วิธีการในการออกแบบ กฎ กติกาชุมชน
  -  เกิดแผนการจัดกิจกรรมรณรงค์ การสร้างกระแสในชุมชน และ สร้างความตระหนักในการป้องกันแก้ปัญหาวัยรุ่น มีแผน การดำเนินงานดังนี้

    25/2/2566 รณรงค์สร้างกระแส และ สร้างความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ณ.โรงเรียนตาฎีกามัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง

    2 /5/2566 ประชุม ครั้งที่ 2/4 วางแผนดำเนินกิจกรรม เข้าค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตค้นหาครอบครัวและเยาวชนต้นแบบ

  -  ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม :  มีแผนการดำเนินงานโครงการ และ มีทีมภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง