การสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งบุหลัง จังหวัดสตูล

เยี่ยมครั้งที่ 32 พฤษภาคม 2566
2
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sunee_39106
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เยี่ยมครั้งที่ 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 55 คน แบ่งออกเป็นจำนวน 6 ทีม ประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน รพ.สต. อบต.และผู้สูงอายุ กลุ่ามเป้าหมายรอง คือ ผู้สูงอายุที่ต้องดูแล จำนวน 81 คน ประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง และติดสังคม แลุผู้สูงอายุทีทมมีโรคประจำตัว กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้านผู้สูงวัยกลุ่มเป้าหมาย
1.นัดหมายและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนในทีมหรือแกนนำแล้ว เตรียมแบบฟอร์มต่าง อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ 2.แกนนำแต่ละหมู่บ้านออกดูแลตามที่ได้เก็บข้อมูลมาและวางแผนไว้
จำนวน 15 คน ต่อหมู่บ้าน (หมายเหตุ หมู่ที่ 1 จำนวน 20 คน) 3.หลังจากที่แกนนำออกดูแลแล้ว แกนนำกลับมายังจุดนัดหมายของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันพูดคุยถึงปัญหาหรือสิ่งที่ได้ว่ามีอะไรบ้าง อะไรที่ต้องแก้ไข อะไรบ้างที่ต้องร่วมกันดูและติดตามในผู้สูงอายุที่ได้ลงไปเยี่ยม พร้อมสรุปผลการออกเยี่ยมและวางแผนการออกดูแลในครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เป้าหมายการออกเยี่ยมผู้สูงอายุ จำนวน 75 คน เยี่ยมจริง จำนวน 81 คน (เสียชีวิต 1 ราย) สรุปผล จำนวน ราย ติดเตียง 1 ราย ติดบ้าน 1 ราย ติดสังคม 79 ราย เพศชายจำนวน 31 ราย เพศหยิง จำนวน 51 ราย อายุ 60-69 ปี จำนวน 14 ราย อายุ 70-79 ปี จำนวน 31 ราย อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 38 ราย รายได้ส่วนใหญ่มาจาก เงินยังชีพผู้สูงอายุ รองลงมา จากการให้ของบุตรและการทำงานของตนเอง ตามลำดับ เมื่อได้ประเมินสุขภาพจิตของผู่้สูงอายุพบว่า
    ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป จำนวน 53 ราย ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีกว่าคนทั่วไป จำนวน 19 ราย และผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป จำนวน 11 ราย ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มีอารมณ์ ร่าเริง แจ่มใส รองลงมาคือเศร้า หงุดหงิดและโมโหง่าย 73,4,3,3 ตามลำดับ ในส่วนของโรคประจำตัว มีข้อมูลเป็นดังนี้ 1.โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 35 ราย 2.โรคเบาหวานและโรคความดัน จำนวน 11 ราย 3.โรคหอบหืด จำนวน 4 ราย 4.โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ จำนวน 3 ราย 5.โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง จำนวน 3 ราย 6.โรคเบาหวาน จำนวน 2 ราย 7.โรคอื่น ๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง ถุงลมโป่งพอง โรคไต ปลายประสาทอ่อนแรง
    8.และพบว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีโรค จำนวน 17 ราย
    ในเรื่องของการออกกำลังกาย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นบางครั้ง จำนวน 44 ราย รองลงมาคือ ไม่ออกกำลังกายเลย จำนวน 25 ราย และออกกกำลังกายเป็นปจะจำ จำนวน 14 ราย ผู้สูงอายุ มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม ระดับปานกลางถึงรุนแรง จำนวน 22 ราย ระยะเริ่มต้น 15 ราย และไม่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมจำนวน 44 ราย
    ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหกล้ม จำนวน 39 ราย ไม่มีปัญหาหกล้ม จำนวน 38 ราย และเดินไม่ได้ คือ ติดเตียง แขนขาอ่อนแรง หรือนั่งรถเข็น จำนวน 5 ราย ปัญหาที่พบ 1.ห้องน้ำจะเป็นแบบส้วมนั่งยองและอยู่นอกบ้าน 2.ไม่มีราวจับระหว่างไปห้องน้ำและในห้องน้ำ 3.มีปัญหาการเดิน ปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม
    4.BMI ปกติ จำนวน 51 ราย เกิน จำนวน 32 ราย
    ความต้องการของผู้สูงอายุ 1.ต้องการห้องน้ำแบบนั่งราบ(ชักโครก) จำนวน 2 ราย 2.ต้องการรวมจับ จำนวน 43 ราย 3.ต้องการไม้เท้า 7 ราย
    สิ่งที่ได้ช่วยเหลือระหว่างการออกดูแล 1.พบผู้สูงอายุความดันต่ำ ส่งต่อโรงพยาบาล จำนวน 1 ราย 2.แนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุแต่ละราย