การสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งบุหลัง จังหวัดสตูล

สรุปบทเรียนโครงการและจัดทำรูปเล่ม14 กันยายน 2566
14
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sunee_39106
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หลังจากได้จัดทำโครงการไปแล้วนั้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถจัดกิจกรรมได้ตามกำหนด และเกิดผลลัพธ์ จากการถอดบทเรียนได้ดังต่อไปนี้ การถอดบทเรียนโครงการ การสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งบุหลัง จังหวัดสตูล
ชื่อโครงการ .....โครงการ การสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งบุหลัง จังหวัดสตูล... พื้นที่ดำเนินโครงการ ........ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล.............................................. ผู้รับผิดชอบโครงการ .........นายพงศกร มาลาสัย..............................

สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ปัจจุบันตำบลทุ่งบุหลังมีผู้สูงอายุ จำนวน 318 คน ติดสังคม จำนวน 314 คน ติดบ้าน จำนวน 2 คน ติดเตียง จำนวน 2 คน มีโรคประจำตัว โรคเบาหวาน จำนวน 60 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 68 คน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 11 คนและมีภาวะถดถอย จำนวน 13 คนและผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินหรือดัชนีมวลกายเกิน(BMI)กว่าค่าปกติ จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 50.37 เป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จำนวน 25 คน(ข้อมูลจากรพ.สต.ทุ่งบุหลังปี2565) และมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังได้ และอาจเกิดภาวะพึ่งพิงมากขึ้นซึ่งเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ โดยทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคได้ง่าย เกิดปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม และอาจให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพน้อยลง เช่น การบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว และในปัจจุบันทางตำบลทุ่งบุหลังยังขาดเครือข่ายที่จะดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถเผชิญปัญหาในการปรับตัวกับสังคมในปัจจุบันได้ ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งบุหลัง เล็งเห็นว่าผู้สูงอายุควรจะได้รับความรู้ทางสุขภาพหรือได้รับการดูแลการเยี่ยมเยียนจากกลุ่มคนหรือชุมชนในหมู่บ้านเดียวกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ที่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าในตัวเอง สามารถอยู่ในสังคมผู้สูงอายุได้ สามารถทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ได้ ลดสภาวะการติดบ้านหรือติดเตียง ลดสภาวะการถดถอยหรือลดหรือชะลอสภาวะการเกิดโรค จึงได้จัดทำโครงการการสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลให้ผู้สูงอายุอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุขต่อไป..

กิจกรรมที่ดำเนินการแก้ไขปัญหา 1.ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ คณะกรรมการผู้สูงอายุ ตัวแทนผู้สูงอายุ รพ.สต. อบต.เพื่อชี้แจงการจัดทำโครงการ กิจกรรมที่ทำของโครงการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ 2.อบรมแกนนำด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ 3.เยี่ยมบ้านผู้สูงวัยกลุ่มเป้าหมาย 4.กิจกรรมติดตามและประเมินกิจกรรม 5.สรุปบทเรียนโครงการ

รูปธรรมความสำเร็จ/ผลลัพธ์/การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 1.มีแกนนำด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุจำนวน55 คน 2.มีทีมการออกดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 5 ทีม
3.มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 81 คน
4.ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังตาราง 4.1ตารางที่ 1 เปรียบเทียบจำนวนค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลง ความดันโลหิต ครั้งที่ 1 จำนวน(คน) ครั้งที่ 4 จำนวน(คน) ครั้งที่ 7 จำนวน(คน) ปกติ  35    40  40 เสี่ยง  34    31  31 เสี่ยงสูง  12    9  9 จากตารางพบว่าผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงค่าของความดันโลหิตจากเดิม มีความเสี่ยง 34 คน ลดเหลือ 31 คน และจากเดิมมีความเสี่ยงสูงจำนวน 12 คน ลดเหลือ 9 คน
4.2เปรียบเทียบจำนวนการออกกำลังของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลง ออกกำลังกาย ครั้งที่ 1 จำนวน(คน) ครั้งที่ 4 จำนวน(คน) ครั้งที่ 7 จำนวน(คน) ไม่ออก  30  28    28 ออกบางครั้ง 37  38    38 ออกประจำ 14  14    14 จากตารางพบว่าผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงด้านการอกกำลังกายจากเดิมที่ไม่อกกำลังกายเลย จำนวน 30 คน ลดลงเหลือ จำนวน 28 คน 4.3เปรียบเทียบจำนวนภาวะหกล้มของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลง ภาวะหกล้อม ครั้งที่ 1 จำนวน(คน) ครั้งที่ 4 จำนวน(คน) ครั้งที่ 7 จำนวน(คน) ปกติ  31    33  31 เฝ้าระวัง 44    42  44 เดินไม่ได้  6    5    5 จากตารางพบว่าผู้สูงอายุที่ต้องเฝ้าระวังภาวะหกล้มมีการเปลี่ยนแปลงแบบเพิ่มขึ้นบ้างและลดลงบ้างแต่ในส่วนที่เดินไม่ได้พบว่าจากเดิม 6 คน ลดลงเหลือ 5 คน 4.4ตารางการประเมินด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุ คะแนน ก่อน หลัง 50 - 60 16 15 43 - 49 53 57 42 ลงมา 12 8 การแปลผลคะแนนสุขภาพจิตดังต่อไปนี้ 50 - 60 คะแนน หมายถึง สุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป 43 - 49 คะแนน หมายถึง สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป 42 คะแนนหรือน้อยกว่า หมายถึง สุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป จากที่แกนนำลงดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านถือได้ว่าเป็นการบริการเชิงรุกในพื้นที่ได้ดูแลทั้งทางด้านสุขภาพ ทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้าน ผู้สูงอายุบางรายมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถทำอาหารรับประทานเองได้ตามคำแนะนำที่เหมาะสมกับตนเอง การปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุบางส่วนที่สามารถนำไปเป็นต้นแบบให้กับผู้สูงอายุคนอื่น ๆ ต่อไปได้ เช่น เรื่องการดูแลสุขภาพที่ดีทำให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่แข็งแรงแม้มีโรคประจำตัวก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นดังตาราง
จากการดำเนินงานพบว่า มีผู้สูงอายุที่สามารถเป็นต้นแบบในด้านต่าง ๆ ได้ จำนวน 3 ราย 1.ต้นแบบผู้สูงอายุสุขภาพที่ดีที่ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 1 ราย 2.ต้นแบบผู้สูงอายุด้านการออกกำลังกาย จำนวน 1 ราย 3.ต้นแบบผู้สูงอายุสุขภาพที่ดีที่มีโรคประจำตัว จำนวน 1 ราย เงื่อนไขสำคัญ/ปัจจัยที่ทำให้โครงการเกิดความสำเร็จ จากการร่วมระดมความคิดพบว่าเงื่อนไขหรือปัจจัยที่ทำให้โครงการเกิดความสำเร็จ คือ การจัดกิจกรรมที่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง การให้ความร่วมมือของทั้งผู้ดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน การกำกับติดตามการทำงานที่สม่ำเสมอและมีการวางแผนการทำงานที่ชัดเจน บทเรียน ข้อค้นพบที่น่าเรียนรู้จากโครงการ
จากการดำเนินโครงการพบว่า บทเรียน หรือข้อค้นพบที่น่าเรียนรู้จากโครงการคือ นอกจากแกนนำจะดูแลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุแล้ว แกนนำยังช่วยดูแลผู้สูงอายุในเรื่อง อื่น ๆ ได้ด้าย อย่างเช่น การกินยาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ การแนะนำผู้สูงอายุหรือญาติในการไปรับยาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรับยาที่รพ.สต.หรือรับยาที่โรงพยาบาล และในอนาคตผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อพื้นที่มีแกนนำด้านการดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้วก็จะเป็นการดีในการรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตต่อไป