ส่งเสริมสุขภาพการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อโครงการอาหารกลางวันในศูนย์ตาดีการ์ประจำ มัสยิดอัชชาฟิอีย์ บ้านน้ำหรา ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

พัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กนักเรียน โดยให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน20 พฤษภาคม 2566
20
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Asalee76
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. อบรมให้ความรู้แกนนำ เรื่องสารพิษตกค้างในอาหาร โทษและผลเสียต่อสุขภาพของสารพิษแต่ละชนิด  และรู้จักวิธีเลือกผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีมาบริโภคได้และสามารถนำไปปฏิบัติได้
  2. เรียนรู้เรื่องการล้างผักเพื่อลดสารพิษตกค้างในผัก
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  มีคณะทำงาน 15 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน/แกนนำครู/ แกนนำนักเรียน  /แกนนำผู้ปกครอง และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 คน
2.  นักเรียนมีความตระหนักและเข้าใจใน เรื่องสารพิษตกค้างในอาหาร โทษและผลเสียต่อสุขภาพของสารพิษแต่ละชนิด  และรู้จักวิธีเลือกผักที่มีประโยชน์และปลอดภัยจากสารเคมีมาบริโภค
วิธีการเลือกซื้อผักให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง มีดังนี้ เลือกซื้อผักที่มีสีสันตามธรรมชาติ ไม่ฉูดฉาด ไม่มีคราบดินหรือคราบสีขาวของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่มีจุดราดำหรือเชื้อราต่างๆ รวมถึงกลิ่นที่ฉุนผิดปกติ เลือกซื้อผักสดที่มีรูเจาะ มีรอยกัดแทะของหนอนหรือแมลงอยู่บ้าง หรือควรเลือกผักที่มีตัวหนอนอยู่บ้าง หรือมีแมลงเดินอยู่เล็กน้อย เช่น มด เพลี้ย เป็นต้น เพราะเนื่องจากในปัจจุบันมีการทำรอยสัตว์กัดแทะ หนอนเจาะเทียม โดยการนำเอาทรายร้อนๆไปกลิ้งบนกระทะ จากนั้นนำสาดใส่ผัก ให้มีลักษณะเหมือนรอยเจาะของหนอน นั่นเอง ถ้าเป็นผักในห้างสรรพสินค้า ควรเลือกซื้อที่มีการแสดงฉลากที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผักได้ เช่น ตรวจสอบจากเลขสถานที่ผลิต หรือนำเข้าอาหารได้ เลือกซื้อผักตามฤดูกาล เนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยลง เลือกซื้อผักพื้นบ้าน ตามถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นๆ หรือกินผักที่ปลูกเองได้ง่ายๆ เช่น กะเพรา ผักชี ผักบุ้ง ต้นหอม เป็นต้น ไม่ซื้อผักชนิดใดชนิดหนึ่งมากินเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษหรือสารเคมีสะสม บริโภคผักที่ได้รับการรับรองจากทางราชการ เช่น ตลาดเกษตรกรประจำจังหวัด ตลาดผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ และตลาดสดที่มีการตรวจจากเจ้าหน้าที่ทางราชการเป็นประจำ เป็นต้น เนื่องจากมีการควบคุมการใช้สารเคมีไม่ให้มากเกินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด นอกจากเทคนิคเลือกซื้อแล้ว การล้างผักก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยลดการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงได้