ส่งเสริมสุขภาพการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อโครงการอาหารกลางวันในศูนย์ตาดีการ์ประจำ มัสยิดอัชชาฟิอีย์ บ้านน้ำหรา ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนและสรุปผลโครงการ16 กันยายน 2566
16
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Asalee76
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีชุมชนเพื่อคืนข้อมูลความรู้ให้ชุมชน โดยเชิญครัวเรือนเป้าหมาย และภาคีที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับทราบผลการดำเนินงานโครงการ และร่วมกันสรุปบทเรียนความสำเร็จว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มีอะไรเป็นปัจจัยความสำเร็จ และมีปัญหาอุปสรรคอะไร จะป้องกันแก้ไขอย่างไร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้จำนวน 60 คน วิทยากร 1 คน นักเรียนและคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย 60 คน วิทยากรได้ทบทวนความรู้เรื่องการผักปลอดสารพิษ หมายถึง ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและการจัดศัตรูรวมทั้งไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตของพืชผัก    ผักปลอดภัย ปลูกในระบบปิด การผลิตพืชอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตพืช หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชที่เกิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจาก อันตรายของสารพิษตกค้าง ให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค พืชผักที่ปลูกนั้นโดยส่วนมากจะปลูกโดยใช้สารเคมีสังเคราะห์ซึ่งอันตรายต่อโลกของเราและสิ่งมีชีวิตต่างๆ
      ทำงานกลุ่ม มนหัวข้อประเด็นต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  นำเสนอการทำแต่ละกิจกรรม  ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา การรับฟังการติดตามโครงการ  ข้อเสนอแนะ