ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

ชื่อกิจกรรมที่ 7.1 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้งที่ 117 มิถุนายน 2566
17
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Thaworn_Kongsri8
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ถอดบทเรียนค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก หลังจากการทำกิจกรรมค่ายครอบครัว คณะทำงาน ครูพี่เลี่้ยงชุมชน ได้สรุปบทเรียนดังนี้   จากการเก็บข้อมูลและสรุปวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 9 องค์ประกอบรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กตำบลนาท่อม  สุ่มเก็บข้อมูล 81  ครัวเรือน พบว่า 1.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตลูก และขอบเขตการดูแลเลี้ยงดู พบว่า
          3  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบเข้มงวด
          30 ครัวเรือนมีรูปแบบการเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วม       48 คร้วเรือนมีรูปแบบการเูแลเลี้ยงดูแบบตามใจ 1.2 การยอมรับและตอบสนองความต้องการตามวัย       46 ครัวเรือนมีรูปแบบเบี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป       34 ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย         1 ครัวเรือนมีรูแแบบการดูแบเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 1.3  วิธีการสร้างวินัย       0 ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงลบ     ุุ66  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวก     15  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน

      โดยสรุปจากคณะทำงาน การดูแลเลี้ยงดูอบรมของครอบครัว  แบบมีส่วนร่วมของครอบครัว รูปแบบที่มีการปกป้องมาเกินไปรองลงมามีความเหมาสมตามช่วงวัย และเป็นการดูแลเลี่้ยงดูเชิงบวก จากข้อสังเกตุและพูดคุยหาข้อมูลเพิ่ม ปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลง จำนวนลูก 1-2 คน จะถูกดูแลตามใจ  ซึ่งกิจกรรมกรรมค่ายครอบครัวพลังบวกจะเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับครอบครัวปกติ มีผู้ปกครองในการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย เป็นการเสริมพลังป้องกันครอบครัวสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นนำไปสู่การชักชวน ชี้เป้าครอบครัวที่ไม่ปกติให้เข้าถึงได้ร่วมกิจกรรมและเข้าถึงของหน่วยงานอื่นให้การช่วยเหลือ

  1. การจัดทำเป็นหลักสูตรครอบครัวสื่อสารพลังบวกที่เหมาะสม คือ  2 วัน 1 คืน
    หลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน
    ส่วนที่ 1 พัฒนาครูพี่เลี้ยงอบรม 5 ทักษะพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1)ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน ฝึกทักษะพี่เลี้ยงครู ก ขยายผลสู่ ผู้ปกครอง และสร้างพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชน เป็นข้อต่อเชื่อมงานเด็กและเยาวขนในชุมชน 2)ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย  ผลักดันให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นเป็นวิชาทางเลือก 3)ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง ใช้สหวิชาชีพในการจัดการ 4)ทักษะการเฝ้าระวัง  คือ ออกแบบสร้างกิจกรรม 5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ  คือการส่งต่อ ส่วนที่ 2 หลักสูตรค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก นำความรู้และเทคนิคใช้กับครอบครัวปกติและไม่ปกติ       วิชาหรือหลักสูตร เป็นรูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวก ใช้เทคนิคการให้คำ ปรึกษา ครู ก. : ความรู้เรื่องการให้คำปรึกษา    พี่เลี้ยงที่ปรึกษา คือ ผู้ที่ให้คำ แนะนำ ดูแลช่วยเหลือ เด็กและวัยรุ่น บทบาทพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน จะดูแลให้คำ แนะนำ ช่วยเหลือเด็ก และคนในชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี พัฒนาศักยภาพ ช่วยเหลือเด็กและ วัยรุ่น
          ขั้นตอน สู่การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในชุมชน ต้องมีทักษะ 5 ด้าน โดย เฉพาะเทคนิคที่ปรึกษา หัวใจสำคัญการให้คำปรึกษา คือ การพูดคุย สื่อสาร ให้เข้าใจ เเละ พัฒนาศักยภาพได้ (ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะรู้คิด) โดยต้องมี "ผู้ให้ และผู้รับ" ทุกคนสามารถเป็นพี่เลี้ยงได้ เช่น ครู ผู้นำ ผู้ที่ได้รับการนับถือ หรือ ไว้ใจจากชุมชน  เป้าหมายการให้คำ ปรึกษา คือ เข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ คุณสมบัติที่ดี คือ ตั้งใจช่วยเหลือ ผู้ฟังที่ดี เป็นมิตร อดทน รักษา ความลับ และคิดบวก ขั้นตอนการให้คำปรึกษา ภาษาที่ใช้ ไม่เป็นทางการ (พี่เลี้ยงในชุมชน) และทางการ (ครู) แบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนดำ เนินการ ดำ เนินการให้คำ ปรึกษา และ ขั้นยุติการให้คำ ปรึกษา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต     คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว จำนวน 21 คนมีความรู้และเข้าใจและเป็นกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในการทำงานด้านพัฒนาครอบครัวและจัดค่ายครอบครัวอย่างต่อเนื่อง และสร้างการเรียนรู้ด้วนระบบออนไลน์ ซูม ในวันอาทิตย์ จำนวน 12 ครั้งของพี่เลี้ยงครู ก และ ข จำนวน 9 คน เพื่อเป็นครูพี่เลี้ยงในชุมชน และเรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาครอบครัวในชุมชน ของคนในแต่ละช่วงวัย โดย มศว  ศูนย์คุณธรรม องค์การมหาชน  ม.มหิดล  ม.ราชภัคเชียงใหม่ สนับสนุนองค์ความรู้

ผลลัพธ์     คณะกรรมการ 21 คน ครูพี่เลี่้ยง จำนวน 9 คน สามารถให้คำปรึกษา สามารถออกแบบแก้ปัญหาในระดับเบื้องต้น  คิดวิธีหาวิธีในการออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวได้ สามารถออกแบบเทคนิคต่างๆ